งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ หรืองบกำไรขาดทุน บอกเราว่ากิจการของเราทำกำไรได้เท่าไหร่ตลอดทั้งปี โดยส่วนประกอบหลักๆได้แก่ รายได้ ต้นทุน ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และกำไรขาดทุนสุทธิของกิจการ ลักษณะเด่นของงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จมีอยู่ 3 ข้อหลักๆ ดังนี้
Friendly ต่อผู้ใช้งบ
งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ เป็นงบที่ค่อนข้าง friendly ต่อผู้ใช้เพราะไม่ได้มีความซับซ้อน ผู้ใช้งบจะสามารถมองเห็นผลการดำเนินงานของบริษัทที่แสดงออกมาในรูปแบบเดียวกันเสมอ ได้แก่ รายได้ – ค่าใช้จ่าย = กำไร/ขาดทุน
รายได้
แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
รายได้จากการขายและการให้บริการ เป็นรายได้ที่เกิดจากการดำเนินงานตามปกติ หรือรายได้จากการขายสินค้าและบริการ เป็นธุรกิจหลักของกิจการเพื่อแลกเปลี่ยนกับเงินสด สิทธิเรียกร้องให้ชำระเงิน หรือสิ่งอื่นที่มีมูลค่าเป็นเงินได้ โดยให้แยกรายได้ตามแต่ละประเภท เช่น
– รายได้จากการขายสินค้า
– รายได้จากการให้บริการ
รายได้อื่น เป็นรายได้ที่เกิดจากการดำเนินงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่งานตามปกติ ไม่ได้มาจากธุรกิจหลักของกิจการ หรือรายได้เสริม เช่น
– ดอกเบี้ยเงินฝากที่ได้จากธนาคาร
– รายได้พิเศษ เช่น กำไรจากการขายเงินลงทุน กำไรจากการขายที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
แสดงรายการรายได้ค่าใช้จ่ายเป็นเกณฑ์คงค้าง งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จแสดงข้อมูลทั้งที่เป็นเงินสด (ขายเงินสด) และรายการที่ไม่เป็นเงินสด (ขายหรือให้บริการแล้ว แต่ยังไม่ได้รับเงิน หรือมี credit term ให้ลูกค้า) ดังนั้น อาจจะเกิดกรณีที่กิจการมีกำไรเยอะ แต่ไม่ได้มีเงินอยู่จริงๆ เนื่องจากขายได้แต่ไม่สามารถเรียกเก็บเงินจากลูกค้าได้
ค่าใช้จ่ายหลายประเภท
ค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนรวบรวมรายการตลอดทั้งปี และแยกประเภทออกเป็น 3 ประเภทหลักๆ
– ต้นทุนขายหรือต้นทุนบริการ เป็นต้นทุนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสินค้าหรือบริการที่ขาย
– ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร
– ต้นทุนทางการเงิน หรือดอกเบี้ยที่กิจการต้องจ่าย
ทั้งนี้ งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ เป็นรายงานหนึ่งที่สำคัญมากต่อการทำงบการเงิน ซึ่งสามารถอ่านรายละอียดเพิ่มเติมได้ที่ บทความ วางแผนธุรกิจจากภาพสะท้อน “งบกำไรขาดทุน” และเมื่อปิดงบการเงินจะต้องผ่านการตรวจสอบงบการเงินจากผู้สอบบัญชีที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจการ ดังนั้น ควรส่งให้สำนักงานบัญชีตรวจสอบงบการเงิน ก่อนส่งข้อมูลให้แก่สรรพากร