ตามหาพ่อค้าแม่ค้า online ที่อยากสัมมนาภาษี-บัญชี

เข้าร่วมไขความลับเรื่อง ภาษี-บัญชี รู้ทันสรรพากรภายใน 1 วัน
  ในงานสัมมนา “รู้ ครบ จบหมด บัญชีภาษี ธุรกิจขายของ online”

ค่าสัมมนา
4,900 บาท

ช่างไฟฟ้าเปิดบริษัท ทำบัญชีรับติดตั้งไฟฟ้า เองได้ ?

ทำบัญชีรับติดตั้งไฟฟ้า เพราะทุกองค์กรและบ้านพักอาศัยทั่วไป ยังมีความจำเป็นต้องใช้งานระบบไฟฟ้า รวมถึงอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ จึงทำให้แนวโน้มและโอกาสในการเติบโตของสายงานช่างไฟฟ้าเป็นไปอย่างต่อเนื่องรวมถึงเพิ่มสูงขึ้นตามประสบการณ์และความชำนาญของแต่ละบุคคล 

นอกจากนี้ยังสามารถยกระดับสายงานช่างไฟฟ้าได้ หากมีความสามารถในการให้คำปรึกษา แนะนำเทคนิค หรือขยับขยายมาเปิดบริษัทรับติดตั้งไฟฟ้าของตนเอง โดยเมื่อจัดตั้งเป็นบริษัทรับติดตั้งไฟฟ้า จะมีอัตราการเพิ่มขึ้นของรายได้สูง เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ซัปพอร์ตการดำเนินธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ได้ ทำให้ขยายฐานลูกค้าได้เพิ่มขึ้น 

  และเมื่อมีรายได้เข้ามาสูง ผู้ประกอบกิจการไม่สามารถควบคุมรายรับ-รายจ่าย ต้นทุน กำไร ได้ ก็ควร ทำบัญชีรับติดตั้งไฟฟ้า ไว้ด้วย แม้ว่าบริษัทของตนจะไม่ได้จดบริษัทเป็นนิติบุคคลที่กฎหมายกำหนดให้ต้องทำบัญชีก็ตาม แต่จะทำให้ทราบกำไรขาดทุน เพื่อวางแผนการดำเนินงานในอนาคต รวมถึงยื่นภาษีได้อย่างถูกต้อง โดยมีหลักการ ทำบัญชีรับติดตั้งไฟฟ้า ดังนี้ 

 

รายรับ-รายจ่ายของบริษัท เพื่อ ทำบัญชีรับติดตั้งไฟฟ้า

หน้าที่ของช่างไฟฟ้ามีหลายอย่าง ตั้งแต่ติดตั้ง ทดสอบการใช้งาน ปรับเปลี่ยนแก้ไขงาน และตรวจหาสาเหตุของการขัดข้องของระบบ อุปกรณ์ และส่วนประกอบต่างๆ ของระบบไฟฟ้า และเมื่อแปรสภาพจากช่างไฟฟ้าที่ปฏิบัติงานในองค์กรต่างๆ มาเปิดบริษัทเป็นของตนเอง บริการส่วนใหญ่ของบริษัทรับติดตั้งไฟฟ้าจะรับจ้างเหมาเดินสายไฟฟ้า ให้คำปรึกษา ออกแบบและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า รวมถึงการซ่อมแซม บำรุงรักษาหรือปรับปรุงระบบไฟฟ้า 

ดังนั้น กิจการจึงมีทั้งรายรับจากการว่าจ้างติดตั้งไฟฟ้า และรายจ่ายจากการซื้อวัสดุ อุปกรณ์ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อใช้ในการติดตั้งไฟฟ้า โดยต้องนำมาทำบัญชีรับติดตั้งไฟฟ้าไว้ด้วย โดยแบ่งเป็นรายรับ-รายจ่ายหลักๆ ดังนี้  

– รายรับ ได้แก่ ค่าบริการว่าจ้างติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า เดินระบบไฟฟ้า ซ่อมแซม บำรุงรักษาหรือปรับปรุงระบบไฟฟ้า โดยกิจการควรทำเอกสารทุกครั้งที่ได้รับการว่าจ้างให้ติดตั้งระบบไฟฟ้า เพื่อให้สามารถสรุปรายรับและยอดค้างรับของกิจการได้

– รายจ่าย ได้แก่ รายจ่ายจากการซื้อสินค้าเพื่อนำมาใช้ในการติดตั้งไฟฟ้า เช่น สายไฟ ปลั๊กไฟ สวิซส์ เต้ารับไฟฟ้า เต้ารับอุปกรณ์ต่างๆ รายจ่ายจากค่าจ้างพนักงาน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเดินทาง ค่าน้ำมัน ค่าดำเนินการต่างๆ ที่เกี่ยวของกับกิจการ

ทำบัญชีรับติดตั้งไฟฟ้า ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง

เอกสารบัญชีที่จำเป็นสำหรับใช้ประกอบการทำบัญชีของกิจการรับติดตั้งไฟฟ้า ทั้งที่ทำในนามบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล หลักๆ จะประกอบไปด้วย

1.ใบแจ้งหนี้ / ใบกำกับภาษี / ใบเสร็จรับเงิน / หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย (ที่กิจการให้กับผู้ว่าจ้าง)

โดยกิจการรับติดตั้งไฟฟ้าจะต้องออกใบแจ้งหนี้ ณ วันวางบิล และออกใบเสร็จรับเงิน / ใบกำกับภาษี (สำหรับกิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) + หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย ณ วันที่ได้รับเงิน (เฉพาะกิจการที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล) 

2.ใบแจ้งหนี้ / ใบกำกับภาษี / ใบเสร็จรับเงิน / หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย (ที่ได้รับจากผู้ว่าจ้าง, ผู้ขาย)

กิจการรับติดตั้งไฟฟ้า ต้องเก็บเอกสารทุกรายการที่ได้รับจากผู้ว่าจ้าง ผู้ขาย โดยเฉพาะใบกำกับภาษีให้ขอแบบเต็มรูป เพราะถ้าเป็นกิจการที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลจะสามารถนำภาษีซื้อมาใช้ได้ แต่ถ้าหากกิจการไม่ได้ทำในนามนิติบุคคล หรือใบกำกับภาษีไม่สมบูรณ์สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการได้

 

หลักการลงบันทึกรายรับ-รายจ่าย เพื่อจัดทำบัญชีรับติดตั้งไฟฟ้า

หลังจากที่กิจการมีรายรับ-รายจ่าย และรวบรวมเอกสารไว้ จะต้องนำมาประกอบการจัดทำบัญชีรับติดตั้งไฟฟ้า ลงบันทึกรายรับรายจ่ายด้วย เพื่อให้เป็นไปตามที่สรรพากรออกหลักเกณฑ์ไว้ดังนี้

1.การจัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย ต้องจัดทำเป็นภาษาไทย หรือถ้าจัดทำเป็นภาษาต่างประเทศ จะต้องมีภาษาไทยกำกับด้วย

2.การจัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย ต้องลงบันทึกรายงานเงินสดรับ-จ่าย ภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่มีรายรับและรายจ่าย

3.การจัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย ต้องมีเอกสารประกอบการลงบันทึกรายงาน เช่น ใบเสร็จ ใบกำกับภาษี เป็นต้น

4.การจัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย จะต้องนำรายจ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจของกิจการ มาลงบันทึกรายงานเท่านั้น

5.การจัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย หากกิจการไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สามารถนำภาษีซื้อมารวมเป็นต้นทุน ค่าใช้จ่ายได้ทั้งจำนวน

6.การจัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย หากเป็นกรณีที่ขายสินค้า/บริการ ซื้อสินค้า และค่าใช้จ่ายอื่นๆ เป็นเงินเชื่อ ให้บันทึกในวันที่ได้รับชำระหรือวันที่จ่ายค่าสินค้านั้นตามเกณฑ์เงินสด และอธิบายเพิ่มเติมในช่องหมายเหตุ

7.การจัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย ให้สรุปยอดรายรับและรายจ่ายเป็นรายเดือน เพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบการยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 

ทั้งนี้ สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเรื่องการทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายได้จากบทความ หลักการทำ บัญชีรายรับรายจ่าย ที่ถูกต้อง

 

สรุป

ทั้งนี้ หลักการทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายทั้งหมดที่กล่าวมานี้ กิจการที่จดบริษัทเป็นนิติบุคคล ต้องรวบรวมเอกสารเพื่อทำบัญชีรับติดตั้งไฟฟ้า โดยลงบันทึกรายการบัญชีโดยนักบัญชีที่มีคุสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด หรือส่งสำนักงานบัญชีลงข้อมูล และตรวจสอบว่าเอกสารประกอบถูกต้องหรือไม่ พร้อมกับนำส่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกเดือน ตลอดจนปิดงบการเงินรายปี และใช้บริการตรวจสอบบัญชีจากผู้สอบบัญชีอนุญาต รวมถึงส่งงบการเงินที่ผ่านการตรวจสอบแล้ว ให้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและกรมสรรพากร

แต่ในกรณีที่เป็นกิจการรับติดตั้งไฟฟ้าขนาดเล็ก รายได้ไม่สูงมาก และไม่ได้จดทะเบียนบริษัทเป็นนิติบุคคล รวมถึงยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยเลือกหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60% สามารทำบัญชีรับติดตั้งไฟฟ้าเองได้ เพื่อให้ทราบรายรับ-รายจ่ายเพื่อใช้ยื่นภาษี และรู้กำไร-ขาดทุนเพื่อเป็นตัวช่วยให้สามารถวางแผนทางการเงินได้ดียิ่งขึ้น