ปัจจุบันมีอาชีพยูทูบเบอร์ผุดขึ้นมากมาย เหมือนเป็นอาชีพใหม่ที่ยังไม่มีกฎระเบียบข้อบังคับทางด้านกฎหมายหรือภาษีมากนัก โดยอาชีพในสายนี้อาจจะจัดทำขึ้นเพื่อความบันเทิง ให้ความรู้ หรือทำเพื่อหารายได้ อีกทั้งยังสามารถทำคนเดียวหรือทำเป็นหมู่คณะได้ แต่ไม่ว่าจะทำคนเดียวหรือทำเป็นหมู่คณะก็จะมีความเกี่ยวข้องกับรายได้ที่รับเข้ามาเหมือนกัน ด้วยเหตุนี้อาชีพยูทูบเบอร์จึงต้องมีการเสีย ภาษียูทูบเบอร์ ด้วย
ข้อควรระมัดระวัง: ทราบหรือไม่ว่า อาชีพยูทูบเบอร์ไม่ได้เสียภาษีที่ประเทศไทยอย่างเดียว ยังต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายของสหรัฐอเมริกาอีกด้วย อาจต้องเสียสูงมากถึง 24-30% ในกรณีที่ไม่ยื่นแบบการเสียภาษีผ่านการกรอกแบบฟอร์ม Google AdSense
แต่หากมีการกรอกแบบฟอร์ม Google AdSense ยูทูบเบอร์ไทยจะเสียภาษีเพียงแค่ 5% เท่านั้น เพราะประเทศไทยมีความสัมพันธ์ทางสนธิสัญญาภาษีกับสหรัฐอเมริกา จึงถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายน้อยลง
ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับข้อตกลงของแต่ละประเทศ และทำให้ถูกต้องตามข้อตกลงด้วย
ส่องรายได้จากอาชีพยูทูบเบอร์ที่ต้องเสีย ภาษียูทูบเบอร์
เป็นที่รู้กันแล้วว่าอาชีพยูทูบเบอร์มีช่องทางรายได้มากมาย แต่จะมีช่องทางไหนบ้างลองศึกษารายละเอียดดังต่อไปนี้
1.ค่าโฆษณา เป็นรายได้ที่มาจากโฆษณาที่มักขึ้นคั่นรายการมาก่อนเข้าดูคลิปจริง และขณะเล่นคลิปก็จะมีโฆษณาคั่นเช่นกัน รวมถึงตอนจบคลิปด้วย ซึ่งจัดเป็นรายได้ประเภทที่ 8 (40(8)) คือหักค่าใช้จ่ายตามจริง ต้องมีหลักฐานใช้จ่ายครบถ้วน
2.หากช่อง YouTube มียอด View และผู้ติดตาม ซึ่งเป็นรายได้ที่มาจากยอดคนเข้ามาดู และยอดคนติดตามช่องยูทูบ โดยรายได้นี้จะเกิดขึ้นเมื่อมียอดติดตาม 1,000 คนขึ้นไป และมียอดคนดูทุกคลิปรวมกันเกิน 4,000 ชั่วโมง ใน 1 ปี ซึ่งจัดเป็นรายได้ประเภทที่ 8 คือหักค่าใช้จ่ายตามจริง ต้องมีหลักฐานใช้จ่ายครบถ้วน
3.Sponsor หรือ Tie-in สินค้าภายในคลิป เป็นรายได้ที่มาจากผู้จ้างจ้างให้รีวิวสินค้า ถ้ารับจ้างรีวิวแบบทำคนเดียว เป็นการทำงานแลกเงินตามปกติ เช่น รีวิวครีม รีวิวอาหาร จัดเป็นรายได้ประเภทที่ 2 (40(2)) หักแบบเหมา 50% แต่สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
แต่ถ้าหากผู้จ้างจ้างให้รีวิวแบบเหมาที่ต้องมีทีมงานโปรดักชั่น มีการจ้างทำของที่มีค่าใช้จ่ายสูง จะจัดเป็นรายได้ประเภทที่ 8 คือหักตามจริง ต้องมีหลักฐานใช้จ่ายครบถ้วน
4.การรับงาน Event ของ Youtuber เมื่อ Youtuber เปิดช่องมาแล้วมีความโด่งดังจนต้องเชิญออกไปงานตามสถานที่ต่างๆ แบบนี้ก็เป็นช่องทางรายได้เหมือนกัน ซึ่งรายได้นี้จัดเป็นประเภทที่ 2 โดยจะโดนหักแบบเหมา 50% สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท หรือถ้าหากมีการขยับจากยูทูบเบอร์ไปเป็นดารา เมื่อมีการจ้างให้ออกงานอีเวนต์ จะจัดเป็นรายได้ประเภทที่ 8 นักแสดงสาธารณะ คือหักค่าใช้จ่าย 300,000 แรกแบบเหมา 60% และส่วนที่เกิน 300,000 หักเหมา 40% แต่รวมทั้งหมดไม่เกิน 600,000 บาท หรือหักตามจริง
5.การขายสินค้าและบริการต่างๆ ถือเป็นอีกช่องทางรายได้ หาก Youtuber มีสินค้าที่ผลิตเป็นแบรนด์ของตัวเอง หรือซื้อมาขายไป ในกรณีจัดเป็นรายได้ประเภทที่ 8 ซึ่งเป็นรายได้จากการค้าขาย และยังต้องแยกประเภทอีกว่า สำหรับสินค้าที่เป็นของ Youtuber ที่ผลิตและนำมาขาย รายได้นี้จะให้หักค่าใช้จ่ายตามความเป็นจริง แต่ถ้าเป็นสินค้าที่ซื้อมาขายไป รายได้นี้จะให้หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60% เป็นต้น
อาชีพยูทูบเบอร์ หากเงื่อนไขเข้าข่าย… ก็ต้องเสียภาษียูทูบเบอร์
มาถึงตอนนี้ผู้ที่ทำอาชีพยูทูบเบอร์ อาจมีความกังวลใจว่าทำไมจะต้องเสียภาษีด้วย ภาษียูทูบเบอร์ที่ต้องทราบมีอะไรบ้าง ในเมื่อเรามีรายได้จากหลายๆ ช่องทาง ดังนั้น หากยูทูบเบอร์ทำงานเพียงลำพัง แบบบินเดี่ยว อัดเอง ตั้งกล้องเอง ตัดต่อเอง มีอุปกรณ์เพียงไม่กี่ชิ้น ควรต้องรู้ภาษีประเภทบุคคลธรรมดา และควรศึกษาวางแผนการเสียภาษีบุคคลธรรมดา
และต้องคำนวณรายได้เบื้องต้นให้ได้ โดยใช้สูตร (รายได้-ค่าใช้จ่าย-ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องจ่าย หลังจากนำรายได้หักลบค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนแล้ว ให้นำยอดตัวเลขที่ได้มาคูณกับอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามอัตราภาษีก้าวหน้า หรือแบบขั้นบันไดดังนี้
ตารางภาษีบุคคลธรรมดา
เงินได้สุทธิ 0 – 150,000 บาท (ได้รับการยกเว้นภาษี)
เงินได้สุทธิ 150,000 – 300,000 บาท (อัตราภาษี 5%)
เงินได้สุทธิ 300,001 – 500,000 บาท (อัตราภาษี 10%)
เงินได้สุทธิ 500,001 – 750,000 บาท (อัตราภาษี 15%)
เงินได้สุทธิ 750,001 – 1 ล้านบาท (อัตราภาษี 20%)
ตัวอย่างเช่น…
สมมุติให้ยูทูบเบอร์มีรายได้ตลอดทั้งปี 1,000,000 บาท
นำมาหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ 60% 600,000 บาท
ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท (หากมีลดหย่อนอื่นๆ สามารถนำมาหักลดหย่อนได้อีก)
คงเหลือรายได้สุทธิ 340,000 บาท
ภาษีที่ต้องเสีย 11,500 บาท
ฉะนั้น อาชีพยูทูบเบอร์ที่ต้องเสียภาษียูทูบเบอร์ ควรทำรายรับรายจ่าย เพื่อจะได้รู้ว่าตอนปลายปีเราต้องเสียภาษียูทูบเบอร์หรือไม่ ส่วนยูทูบเบอร์บางท่านที่มีทีมงานเป็นจำนวนมาก ทำคลิปดังๆ มีเครื่องมือในการจัดทำเยอะ มีต้นทุนสูง มีรายได้เข้ามาเยอะ ยูทูบเบอร์ต้องพิจารณาว่าควรต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้วหรือยัง
เสียภาษียูทูบเบอร์ ยื่นสะดวก… ออนไลน์ก็ยื่นได้
นอกจากอาชีพยูทูบเบอร์จะต้องทำความเข้าใจว่าในมุมของอาชีพการทำสื่อออนไลน์นี้ มีรูปแบบภาษีอยู่ 2 ประเภท คือ แบบบุคคลธรรมดา กับ แบบนิติบุคคล และมีข้อสำคัญอีกอย่างว่า ถ้าหากในปีไหนอาชีพยูทูบเบอร์มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ก็ต้องจด VAT อีกด้วย
ทั้งนี้ การเสียภาษียูทูบเบอร์ ปัจจุบันสามารถยื่นแบบบุคคลธรรมดาและยื่นแบบนิติบุคคลทางออนไลน์ได้ เพียงเข้าไปสมัครเพื่อใช้บริการในกรมสรรพากร และสามารถทำตามขั้นตอนได้เลย ซึ่งมีความสะดวกและรวดเร็วมาก
ฉะนั้น บรรดายูทูบเบอร์ทั้งหลาย อย่าลืมยื่นภาษียูทูบเบอร์ จะได้ไม่โดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลังกัน จนทำให้เกิดความยุ่งยาก ธุรกิจจะสะดุดหากไม่ยื่นภาษี