บริการตรวจสอบ
ตรวจสอบบัญชี
กฎหมายกำหนดให้กิจการต้องจัดทำงบการเงินและต้องจัดให้ มีการตรวจสอบ และรับรองบัญชีโดยผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต(CPA) เป็นประจำทุกปี
ซึ่งนอกจากบริษัทต้องจัดทำให้ถูกต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว การตรวจสอบบัญชี
ของบริษัทยังทำให้ผู้ใช้งบการเงินได้แก่ เจ้าหนี้ คู่ค้า รวมถึงผู้ประกอบการมั่นใจว่าข้อมูลงบการเงิน
มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือเพื่อนำไปประกอบการตัดสินใจในการทำธุรกิจ และวางแผนทางธุรกิจอย่างเหมาะสม
WHO WE ARE
เรามีชื่อในการช่วยเหลือเจ้าของธุรกิจในเรื่องบัญชีและภาษีเพื่อให้เจ้าของธุรกิจมั่นใจว่าบัญชีและภาษีที่ทำออกมานั้นถูกต้อง อีกทั้งเรายังให้คำแนะนำกับเจ้าของธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็กและธุรกิจที่กำลังเติบโต ซึ่งต้องเผชิญกับความท้าทายในการดำเนินธุรกิจต่างๆไม่ว่าจะเรื่องจำนวนคนหรือเวลาที่มีน้อยกว่าบริษัทระดับ Corporate หรือความรู้ในการบริหารจัดการภาษี ซึ่งเราก็มีผู้ตรวจสอบบัญชี CPA คอยให้คำแนะนำกับเจ้าของธุรกิจทุกท่าน
ราคาเริ่มต้น
฿5,000/year
*** ค่าบริการในการ ตรวจสอบบัญชี ขึ้นอยู่กับหลายๆปัจจัย
10+
ผู้เชี่ยวชาญด้านบัญชีและภาษี
50+
บริษัทที่เราช่วยจัดตั้ง
500+
บริษัทที่ให้เราดูแล
Table of Contents
Inflow Account FAQ
การตรวจสอบบัญชีคืออะไร ?
การตรวจสอบบัญชีหรือการสอบบัญชี เป็นการตรวจสอบผลลัพธ์ของการบันทึกบัญชีของกิจการ หรือเรียกอีกอย่างว่าตรวจสอบงบการเงิน โดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต จะตรวจสอบข้อมูลในงบการเงิน รวมถึงเอกสารประกอบการลงบัญชี และหลักฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลงบัญชี ว่าได้ปฏิบัติตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปอย่างถูกต้องหรือไม่
ผู้สอบบัญชีคือใคร ?
ผู้สอบบัญชี หรือผู้ตรวจสอบบัญชี เป็นผู้ที่มีหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลในงบการเงิน และจัดทำรายงานเพื่อแสดงความเห็นต่องบการเงินของกิจการ
กิจการแบบไหนต้องมีผู้สอบบัญชี ?
กิจการที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ได้แก่
– บริษัทจำกัด
– ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล และห้างหุ้นส่วนจำกัด
– บริษัทมหาชนจำกัด
– นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศประกอบธุรกิจในไทย
– กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
– มูลนิธิ สมาคม
– นิติบุคคลอาคารชุดหรือหมู่บ้านจัดสรร
มีหน้าที่ต้องจัดทำงบการเงิน โดยงบการเงินดังกล่าวจะต้องผ่านการตรวจสอบ และแสดงความคิดเห็นจาก
ผู้สอบบัญชีก่อนที่จะนำส่ง หรือใช้ยื่นเสียภาษีประจำปี
คุณสมบัติของผู้สอบบัญชี ?
ผู้สอบบัญชีจะต้องเป็นผู้ที่ขึ้นทะเบียนเป็น “ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต” โดยมีคุณสมบัติดังนี้
1.ได้รับปริญญาทางการบัญชี หรือได้รับประกาศนียบัตรทางการบัญชี ซึ่ง ก.บช. เทียบว่าไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชี หรือเป็นผู้ได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี ทางการศึกษาวิชาการบัญชีที่ ก.บช. เห็นสมควรให้เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตได้
2.ต้องเคยปฏิบัติงานเกี่ยวกับการสอบบัญชีมาแล้ว โดยทาง ก.บช. เห็นว่าทำหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตได้
3.มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์แล้ว
4.มีสัญชาติไทย หรือสัญชาติต่างประเทศ ที่ยินยอมให้บุคคลสัญชาติไทยเป็นผู้สอบบัญชีในประเทศนั้นได้
5.ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี
6.ไม่เคยต้องโทษจำคุกในคดีที่ ก.บช. เห็นว่าอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
7.ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ
8.ไม่ประกอบอาชีพอย่างอื่นที่ไม่เหมาะสม หรือทำให้ขาดความเป็นอิสระในหน้าที่ผู้สอบบัญชี
ผู้สอบบัญชีมีกี่ประเภท ?
ผู้สอบบัญชีสำหรับกิจการที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล มี 2 ประเภท คือ
1.ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA : Tax Audittor) คือผู้ที่มีคุณสมบัติเป็นผู้ขอขึ้นทะเบียนและได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมสรรพากร มีหน้าที่ตรวจสอบและรับรองบัญชี สำหรับกิจการที่เป็นห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก ทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท และรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท
2.ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA : Certified Public Accountant) คือผู้ที่มีคุณสมบัติเป็นผู้สอบบัญชีที่ขึ้นทะเบียนและได้รับอนุญาตจากสภาวิชาชีพบัญชี ทำหน้าที่ตรวจสอบบัญชีและรับรองงบการเงินสำหรับกิจการที่เป็นนิติบุคคล ไม่ว่าจะเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล โดยจัดทำรายงานเพื่อแสดงความเห็นต่องบการเงินของกิจการ ว่างบการเงินจัดทำขึ้นตามมาตรฐานรายงานทางการเงินหรือไม่
ผู้สอบบัญชีต้องตรวจสอบอะไรบ้าง ?
ตามหลักการแล้วผู้สอบบัญชีจะตรวจสอบอยู่ 3 อย่างหลักๆ คือ
1.ตรวจสอบงบการเงิน คือการตรวจสอบข้อมูลทางบัญชี และรายงานทางการเงิน เช่น งบดุล งบกำไรขาดทุน งบกระแสเงินสด และหมายเหตุประกอบงบการเงิน เพื่อประเมินว่าข้อมูลดังกล่าวมีความสมบูรณ์ เชื่อถือได้ และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้หรือไม่
โดยมีผู้สอบบัญชีทำหน้าที่ ตรวจสอบบัญชี เพื่อแสดงความเห็นต่อความถูกต้องของงบการเงินนั้น ซึ่งต้องปฏิบัติตามหลักการพื้นฐานของผู้สอบบัญชีดังนี้
– มารยาทผู้สอบบัญชี
– มาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป
– การใช้วิจารณญาณในการสังเกต และสงสัยเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ
2.ตรวจสอบการดำเนินการ คือการสอบทานขั้นตอน วิธีการปฏิบัติงาน และภาระหน้าที่ต่างๆ ในองค์กร เพื่อให้มั่นใจได้ว่า ลำดับขั้นตอนในการปฏิบัติงานและภาระหน้าที่ในแต่ละหน่วยงาน ได้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ตาม ขั้นตอนที่กำหนดไว้อย่างเหมาะสม เพื่อให้ผลของงานนั้นบรรลุเป้าหมายที่วางไว้
3.ตรวจสอบการปฏิบัติงานตามกฎระเบียบ คือการตรวจสอบเพื่อให้มั่นใจได้ว่าการปฏิบัติงานของกิจการเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับของหน่วยงานกำกับดูแล และกฎระเบียบนโยบายขององค์กร
ขั้นตอนการ ตรวจสอบบัญชี ?
ขั้นตอนการ ตรวจสอบบัญชี โดยผู้สอบบัญชีแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่
1.กระบวนการวางแผน ประกอบด้วย การพิจารณารับงานสอบบัญชี รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจที่ตรวจสอบ วิเคราะห์เปรียบเทียบในเบื้องต้น กำหนดระดับความมีสาระสำคัญ ประเมินความเสี่ยงในการ ตรวจสอบบัญชี ที่ยอมรับได้และเสี่ยงสืบเนื่อง การทำความเข้าใจระบบควบคุมภายใน และการประเมินความเสี่ยงจากการควบคุมการพัฒนาแผนการสอบบัญชีโดยรวม และการจัดทำแนวการสอบบัญชี
2.การปฏิบัติงานตรวจสอบ ประกอบด้วย การทดสอบการควบคุมและการตรวจสอบเนื้อหาสาระ อันได้แก่ วงจร รายได้ วงจรรายจ่าย วงจรการผลิต วงจรการลงทุน วงจรการจัดหาเงิน การตรวจสอบที่สำคัญเพิ่มเติม
3.การเสร็จสิ้นการสอบบัญชีและการออกแบบรายงานการสอบบัญชี ประกอบด้วย การประเมินผลจากหลัก-ฐานการ ตรวจสอบบัญชี การเสนอรายการปรับปรุงและรายการจัดประเภทบัญชี การออกรายงานการสอบบัญชี
จ้างพนักงานประจำเป็นผู้สอบบัญชีได้หรือไม่ ?
กฎหมายกำหนดให้ผู้สอบบัญชีจะต้องเป็นบุคคลภายนอกบริษัท ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจการ เป็นผู้สอบบัญชีอิสระ และต้องเป็นคนละคนกับคนทำบัญชี เพื่อมาตรวจสอบและออกหน้ารายงานยืนยันว่างบการเงินที่กิจการทำถูกต้องตามที่ควรหรือไม่
ผู้สอบบัญชีเป็นผู้ทำบัญชีด้วยได้หรือไม่ ?
ผู้สอบบัญชี มีสิทธิขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีได้ แต่ต้องทำบัญชีให้กับกิจการที่ตนเองไม่ได้ ตรวจสอบบัญชี ให้
ราคาค่าบริการ ?
ค่าบริการในการตรวจสอบบัญชีขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัย เช่น ลักษณะ และความซับซ้อนของธุรกิจ ความซับซ้อนของธุรกรรมต่างๆ ของบริษัท ปริมาณเอกสาร รวมถึงประมาณการระยะเวลาที่ต้องใช้ในการตรวจสอบ
โดยงบกิจการที่ไม่มีรายการเคลื่อนไหว (งบเปล่า) ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 8,000 บาทต่อปี
text ...
วางเรื่องวุ่นๆของบัญชีภาษีไว้กับเรา แล้วเพิ่มเวลาชีวิตของคุณตอนนี้
inflowaccount.co.th