ตามหาพ่อค้าแม่ค้า online ที่อยากสัมมนาภาษี-บัญชี

เข้าร่วมไขความลับเรื่อง ภาษี-บัญชี รู้ทันสรรพากรภายใน 1 วัน
  ในงานสัมมนา “รู้ ครบ จบหมด บัญชีภาษี ธุรกิจขายของ online”

ค่าสัมมนา
4,900 บาท

ประหยัดภาษีนิติบุคคล ได้ยังไงบ้าง…ที่นี่มีคำตอบ

ประหยัดภาษีนิติบุคคล

การ ประหยัดภาษีนิติบุคคล ที่ดีที่สุดและถูกต้องตามกฎหมาย คือการนำรายจ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของกิจการมาคำนวณหักภาษีที่ต้องจ่าย เนื่องจากภาษีนิติบุคคลคิดมาจากกำไรสุทธิต่อปี โดยปกติค่าใช้จ่ายจะประกอบด้วยต้นทุนขาย ต้นทุนทางการเงินและภาษี ค่าใช้จ่ายในการขาย ค่าใช้จ่ายในการบริหาร

นอกจากนี้เรามาดูกันว่ามีรายจ่ายอะไรอีกบ้างที่สามารถนำมาหักภาษีได้ โดยสามารถใช้สิทธิหักค่าใช้จ่ายได้มากกว่าค่าใช้จ่ายที่จ่ายไป ซึ่งจะช่วยให้กิจการ ประหยัดภาษีนิติบุคคล ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ดังนี้   

  1. ค่าศึกษา/อบรมพนักงาน
  2. สัมมนานอกสถานที่
  3. ค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินในอัตราเร่ง
  4. จ้างงานผู้สูงอายุ
  5. จ้างงานคนพิการ

 

ค่าศึกษา/อบรมพนักงาน

รายจ่ายในการส่งพนักงาน ลูกจ้างของบริษัทเข้ารับการศึกษาหรืออบรมพนักงาน หากมีใบเสร็จรับเงินของสถานศึกษา หรือสถานฝึกอบรมนั่นๆ และพนักงานที่ฝึกอบรมกลับมาทำงานเพื่อสร้างประโยชน์พัฒนาองค์กรต่อไปได้ ก็สามารถนำมาเป็นหลักฐานเพื่อใช้หักภาษีได้ถึง 2 เท่า อย่างเช่นจ่ายค่าอบรม 5,000 บาท สามารถลงบัญชีหักภาษีได้ถึง 10,000  บาท ซึ่งการฝึกอบรมแบ่งเป็น 2 กรณี คือ

  1. บริษัทเป็นผู้จัดฝึกอบรมขึ้นเอง หรือจ้างบริษัทฝึกอบรมสัมมนามาจัดฝึกอบรมให้ (In-house Training)
  2. ส่งพนักงานไปรับการฝึกกับบริษัทฝึกอบรมสัมมนา สถานศึกษา หรือสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงาน (Public Training)

สัมมนานอกสถานที่

รายจ่ายที่กิจการได้จัดสัมมนานอกสถานที่ให้กับพนักงาน หากบริษัทมีระเบียบชัดเจน และพนักงานทุกคนมีสิทธิเข้าร่วม รวมถึงเสริมสร้างความรู้เพิ่มเติมของพนักงาน และเอื้อประโยชน์แก่การพัฒนาองค์กรของกิจการ ไม่ถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม สามารถนำมาเป็นหลักฐานเพื่อใช้หักภาษีได้ถึง 2 เท่า

 

ปกติหักได้ตามจริง แต่หากเป็นรายจ่ายที่จ่ายไประหว่างวันที่ 1 มกราคม 2563 – 30 กันยายน 2564 จะสามารถหักได้ 2 เท่า (ตามมาตรการภาษีส่งเสริมจัดอบรมสัมมนาในประเทศ)

ที่สำคัญสามารถนำค่าเดินทาง ค่าห้องสัมมนา ค่าห้องพัก อาหารเครื่องดื่มที่เกี่ยวกับการสัมมนา รวมถึงค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการสัมมนา เช่น ค่าวิทยากร ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบสัมมนา ค่าบันทึกภาพ ค่าจัดทำสื่อเกี่ยวกับการสัมมนา ที่มีใบกำกับภาษีแบบถูกต้องครบถ้วน มาขอคืนภาษีซื้อได้ด้วย 

SMEs หักค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน อัตราพิเศษ

เมื่อกิจการที่เป็น SMEs มีการซื้อทรัพย์สิน สามารถหักค่าเสื่อมราคาในอัตราพิเศษ สำหรับทรัพย์สินที่ซื้อมาหลังวันที่ 31 ม.ค 2545 เป็นต้นไป

เงื่อนไขของ SME ดังนี้

  1. เป็นนิติบุคคลไทย ที่มีสินทรัพย์ถาวร (อาคาร และอุปกรณ์) ไม่รวมที่ดิน ไม่เกิน 200 ล้านบาท
  2. มีการจ้างแรงงาน ไม่เกิน 200 คน
  • คอมพิวเตอร์ รวมถึงอุปกรณ์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สามารถนำมาหักเป็นค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาได้ร้อยละ 40 ณ วันที่ได้สินทรัพย์มา และส่วนที่เหลือไม่น้อยกว่า 3 รอบบัญชี (ร้อยละ 33.33 ต่อปี)
  • โรงงาน สามารถหักค่าเสื่อมได้ร้อยละ 25 ในวันที่ได้มา และส่วนที่เหลือหักไม่น้อยกว่า 20 รอบบัญชี (ร้อยละ 5 ต่อปี)
  • เครื่องจักร สามารถหักเป็นค่าเสื่อมราคาได้ร้อยละ 40 ณ วันที่ได้สินทรัพย์มา และส่วนที่เหลือภายใน 5 รอบบัญชี (ร้อยละ 20 ต่อปี)

จ้างงานผู้สูงอายุ

เนื่องจากกรมสรรพากรได้มีมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการจ้างงานผู้สูงอายุ โดยสามารถนำมาหักรายจ่ายได้ถึง 2 เท่าของค่าจ้างที่จ่ายแก่พนักงาน ลูกจ้าง ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินจำนวน 15,000 บาท (จ่าย 15,000 บาทหักค่าใช้จ่ายได้ 30,000 บาท) โดยมีเงื่อนไขคือ

  • ผู้สูงอายุที่จ้าง ต้องมีจำนวนไม่เกิน 10% ของจำนวนพนักงานทั้งหมด
  • เมื่อนำค่าจ้างผู้สูงอายุทั้งหมดมารวมกัน ต้องมีจำนวนไม่เกินร้อยละ 10 ของรายจ่ายค่าจ้างทั้งหมดของกิจการนั้น ๆ
  • ต้องเป็นผู้สูงอายุที่เป็นลูกจ้างของบริษัทอยู่ก่อนแล้ว หรือขึ้นทะเบียนกับกรมการจัดหางาน
  • ต้องไม่เป็นหรือเคยเป็นกรรมการหรือผู้ถือหุ้นของบริษัทที่จ้าง หรือบริษัทในเครือ

จ้างงานคนพิการ

มีกฎหมายกำหนดช่วยเหลือสนับสนุนอาชีพแก่บุคคลพิการ โดยกำหนดให้กิจการใดก็ตามที่มีลูกจ้าง เกิน 100 คนขึ้นไป ต้องมีการจ้างคนพิการในสัดส่วน 100 : 1 คน (เช่นถ้ามีพนักงาน 320 คน ต้องจ้างคนพิการ 3 คน) แต่หากกิจการเลือกที่จะจ้างคนพิการ เกินกว่าอัตราส่วนที่กฎหมายกำหนด กิจการจะได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีโดยหักค่าใช้จ่ายในการจ้างคนพิการส่วนที่เกินนั้น ได้มากถึง 2 เท่า (การจ้างงานนั้นผู้พิการต้องมีบัตรประจำตัวคนพิการด้วย)

ทั้งนี้หากกิจการไม่จ้างคนพิการตามอัตราที่กฎหมายกำหนด จะต้องจ่ายเงินเข้าสมทบกองทุนพัฒนาชีวิตคนพิการ ในอัตราค่าแรงขั้นต่ำ x 365 x จำนวนคนพิการที่จ้างไม่ถึงเกณฑ์

สรุป มากกว่าแค่ประหยัดภาษี

จะเห็นได้ว่าจากสิทธิประโยชน์ทั้ง 5 ข้อที่ได้กล่าวมาด้านบน นอกจากจะช่วยให้ประหยัดภาษีนิติบุคคลได้อย่างถูกกฎหมายแล้ว ยังส่งเสริมการพัฒนาความรู้ของลูกจ้างหรือพนักงาน ไม่ว่าจะเป็นสิทธิประโยชน์จากการส่งพนักงานเข้าศึกษา อบรม หรือสัมมนานอกสถานที่ รวมถึงสนับสนุนการจ้างงานผู้สูงอายุ และคนพิการผ่านนโยบายการลดภาษีอีกด้วยค่ะ เริ่มวางแผนภาษีเพื่อประโยชน์ของกิจการคุณกันเถอะ!