ตามหาพ่อค้าแม่ค้า online ที่อยากสัมมนาภาษี-บัญชี

เข้าร่วมไขความลับเรื่อง ภาษี-บัญชี รู้ทันสรรพากรภายใน 1 วัน
  ในงานสัมมนา “รู้ ครบ จบหมด บัญชีภาษี ธุรกิจขายของ online”

ค่าสัมมนา
4,900 บาท

อาชีพรับเขียนโปรแกรม เขียนโปรแกรมบัญชี เองได้ ยังจำเป็นต้องจ้างสำนักงานบัญชีมั้ย

เขียนโปรแกรมบัญชี

เขียนโปรแกรมบัญชี …ทำธุรกิจก็เหมือนเล่มเกม หากเล่นเกมแล้วอยากชนะ ก็ต้องเข้าใจและทำตามกติกาก่อน ไม่เช่นนั้นแรกๆ จะรู้สึกดีเหมือนชนะ แต่ในตอนท้ายอาจโดนจับแพ้ฟาวล์แบบไม่ทันตั้งตัวก็ได้ 

ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นการเล่นเกมเมื่อลงสนามแล้ว หรือทำธุรกิจมีการจัดตั้งบริษัทจดทะเบียนนิติบุคคล อย่าลืมทำตามกฎกติกา อย่างเช่นการทำธุรกิจหลังจากจดบริษัทจะต้องมีการจัดทำบัญชี ภาษี เพื่อส่งให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 

ไม่เว้นแม้แต่ “อาชีพรับเขียนโปรแกรม แม้ว่าจะ เขียนโปรแกรมบัญชี เองได้ ก็ยังต้องมีการทำบัญชีตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดอยู่ดี โดยอาจจัดทำบัญชีเอง หรือจ้างสำนักงานบัญชีให้ทำบัญชีให้ได้” แต่ก็ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดต่างๆ ดังจะอธิบายต่อจากนี้ไป

 

คุณสมบัติของผู้ทำบัญชีตามกฎหมายกำหนด

หากธุรกิจรับเขียนโปรแกรม มีการเขียนโปรแกรมบัญชีเองอยู่แล้ว ดังนั้น อาจจ้างสำนักงานบัญชีทำบัญชีให้ หรือเลือกทำบัญชีเองได้ หากมีคุณสมบัติตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้

1.ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท มีสินทรัพย์รวมและรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท ผู้ทำบัญชีต้องมีวุฒิการศึกษาขั้นต่ำระดับ ปวส.ทางการบัญชี ปริญญาตรีทางการบัญชีขึ้นไป

2.ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ที่มีทุนจดทะเบียนเกิน 5 ล้านบาท หรือมีสินทรัพย์รวม หรือรายได้รวมเกิน 30 ล้านบาท ผู้ทำบัญชีต้องมีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีทางการบัญชีขึ้นไป

3.บริษัทมหาชน ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ผู้ทำบัญชีต้องมีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีทางการบัญชีขึ้นไป

4.นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศประกอบธุรกิจในไทย ผู้ทำบัญชีต้องมีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีทางการบัญชีขึ้นไป

5.กิจการร่วมค้า ผู้ทำบัญชีต้องมีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีทางการบัญชีขึ้นไป

 

รายรับ-รายจ่าย (ต้นทุน) ที่ใช้ประกอบการบันทึกบัญชีธุรกิจรับเขียนโปรแกรม

ธุรกิจรับเขียนโปรแกรมมีรูปแบบการเขียนโปรแกรมหรือพัฒนาซอฟต์แวร์อยู่ 2 แบบ คือ 1) การเขียนโปรแกรมเพื่อขายให้กับลูกค้ารายใดรายหนึ่ง ไม่สามารถนำไปขายให้กับรายอื่นได้ และ 2) การเขียนโปรแกรมเพื่อขายให้กับลูกค้าทั่วไป สามารถขายได้ตลอด

ดังนั้น หากเจ้าของธุรกิจรับเขียนโปรแกรมมีความต้องการอยากทำบัญชีเอง เนื่องจากเขียนโปรแกรมบัญชีเองได้ และมีคุณสมบัติตรงตามที่กฎหมายกำหนด จำเป็นต้องรู้จักรูปแบบการเขียนโปรแกรมเพื่อประกอบการบันทึกรายงาน และรับรู้รายรับ-รายจ่าย (ต้นทุน) เพื่อนำมาบันทึกบัญชีได้อย่างถูกต้อง ซึ่งหลักๆ จะประกอบด้วย

1.รายจ่าย (ต้นทุน) ของธุรกิจรับเขียนโปรแกรม       

– ต้นทุนค่าจ้างโปรแกรมเมอร์ที่เป็นเงินเดือนประจำ

– ต้นทุนจากกรณีจ้างโปรแกรมเมอร์ที่เป็น Outsource จ่ายเป็นครั้งคราว

– ต้นทุนค่า License โปรแกรม สำหรับทำงานเขียนโปรแกรม เครื่องมือในการเขียนโปรแกรม ซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่ต้องใช้ในการเขียนโปรแกรม

– ค่าเช่า Cloud Server  

– ค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อใช้ในการทำงาน หรือการเข้า Cloud ต่างๆ 

– ค่าเสื่อมราคา อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก สำหรับใช้เขียนโปรแกรม 

ทั้งนี้ ต้นทุนที่เกิดขึ้นในระหว่างการเขียนโปรแกรมจนกว่าจะทำเสร็จพร้อมขาย นักบัญชีจะต้องบันทึกบัญชีไว้เป็น “ค่าโปรแกรมระหว่างการเขียนพัฒนาโปรแกรม” เพื่อไว้เป็นทรัพย์สินในการตัดเป็นต้นทุนรับรู้ในอนาคต ตอนที่เริ่มมีรายได้เกิดขึ้น    

2.รายรับจากการประกอบธุรกิจรับเขียนโปรแกรม 

รายได้ของธุรกิจรับเขียนโปรแกรมที่เขียนโปรแกรมบัญชีเอง กรณีที่ขายให้กับลูกค้ารายใดรายหนึ่ง ไม่สามารถนำไปขายทั่วไปได้ อาจจะมีการรับเงินเป็นงวดๆ การรับรู้รายได้ในลักษณะนี้ ให้รับรู้ตามงวดงาน โดยต้องคำนวณเปอร์เซ็นต์การทำงานกับเปอร์เซ็นต์การรับเงิน หากรับเงินลูกค้ามากกว่าเนื้องานที่กำลังทำ ให้รับรู้เป็นรายได้รับล่วงหน้าไว้ก่อน 

แต่ถ้าหากเป็นโปรแกรมที่พัฒนาแล้วขายให้กับลูกค้าทั่วไป จะแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

2.1 ขายโปรแกรมซอฟต์แวร์พร้อมกับดำเนินการให้ด้วย ลักษณะนี้จะมีการรับเงินเป็นงวดๆ ให้รับรู้รายได้ตามงวดงานเช่นเดียวกับขายโปรแกรมให้กับลูกค้ารายใดรายหนึ่ง คือ ถ้ารับเงินมากกว่าปริมาณงานที่เสร็จ ก็รับรู้ส่วนต่างเป็นรับรู้ล่วงหน้าไว้ก่อน แล้วค่อยทยอยตัดตามเนื้องานที่ทำส่งมอบให้ลูกค้าไป

2.2 ขายโปรแกรมซอฟต์แวร์แบบขายขาดให้ลูกค้า ลักษณะนี้จะได้ชำระเงินเมื่อส่งมอบโปรแกรมให้ลูกค้า จึงสามารถรับรู้รายได้ได้ทันที

 

สรุป… ทำบัญชีเองได้ แต่ “ตรวจสอบบัญชี” เองไม่ได้ 

เมื่อมาถึงบรรทัดนี้ สามารถสรุปได้ว่า กิจการรับเขียนโปรแกรมของคุณ เมื่อสามารถเขียนโปรแกรมบัญชีเองได้ ควรทำบัญชีเอง หรือส่งให้สำนักงานบัญชีทำให้จะดีกว่า ดังนี้

– กรณีกิจการมีพนักงานที่จบด้านบัญชี และมีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์กำหนด สามารถทำบัญชีเบื้องต้นเองได้ จากนั้นจ้างผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเพื่อตรวจสอบ ออกรายงานผู้สอบบัญชี และยื่นงบการเงินรวมถึงภาษีประจำปีให้

– กรณีที่กิจการไม่มีนักบัญชี กิจการสามารถทำรายรับรายจ่ายต่างๆ เบื้องต้นลงสมุด หรือบันทึกลงโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูปที่กิจการเขียนโปรแกรมบัญชีขึ้นมา พร้อมกับเก็บเอกสารให้ครบทุกใบ จากนั้นจ้างสำนักงานบัญชีที่รับทำบัญชี ลงรายการบัญชีตามหลักการบัญชีให้ได้

พร้อมกับผ่านการตรวจสอบบัญชี จากผู้สอบบัญชีที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจการตรวจสอบให้เท่านั้น กิจการไม่สามารถตรวจสอบบัญชีเองได้ ซึ่งหากใช้บริการสำนักงานบัญชีตรวจสอบบัญชีให้ สำนักงานบัญชีจะมีบริการจัดส่งข้อมูลแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ด้วยอยู่แล้ว

โดยผู้สอบบัญชีจะตรวจสอบงบการเงินและรับรองข้อมูล พร้อมแสดงความคิดเห็นต่องบการเงิน และส่งข้อมูลให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าภายใน 1 เดือนนับจากวันประชุมอนุมัติงบการเงิน และนำส่งภาษีแก่กรมสรรพากรภายใน 150 วัน นับจากวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี