ตามหาพ่อค้าแม่ค้า online ที่อยากสัมมนาภาษี-บัญชี

เข้าร่วมไขความลับเรื่อง ภาษี-บัญชี รู้ทันสรรพากรภายใน 1 วัน
  ในงานสัมมนา “รู้ ครบ จบหมด บัญชีภาษี ธุรกิจขายของ online”

ค่าสัมมนา
4,900 บาท

ฟรีแลนซ์ควรจดบริษัท เพิ่มเลเวลทางธุรกิจเมื่อไหร่

ฟรีแลนซ์ควรจดบริษัท

ฟรีแลนซ์ควรจดบริษัท เมื่อไหร่ …ปัจจุบันมีผู้คนจำนวนมากที่ออกจากงานประจำ แล้วรับงานลักษณะเป็นฟรีแลนซ์ โดยรับงานเป็นครั้งคราวไม่ได้ประจำกับบริษัทใด หรือที่ยังทำงานประจำอยู่และรับงานฟรีแลนซ์ช่วงวันหยุดก็มีให้เห็นอยู่ตลอด ซึ่งรายได้ทั้งหมดนี้บรรดาฟรีแลนซ์ทั้งหลาย หากมีรายได้ที่เกิน 120,000 บาท หรือรับงานฟรีแลนซ์อย่างเดียวไม่มีรายได้จากงานประจำเกิน 60,000 บาท ก็มีหน้าที่ต้องยื่นแบบฯ ภาษีที่กรมสรรพากทุกปี และหากมีรายได้เกิน 150,000 บาท จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เปรียบเทียบตามอัตราภาษีก้าวหน้าสูงสุด 35%

และเมื่อการทำงานลักษณะฟรีแลนซ์ไปได้สวย มีรายรับเข้ามาอย่างต่อเนื่อง และสูงขึ้นเรื่อยๆ หลายคนเริ่มประสบปัญหาเรื่องภาษี ทำให้คิดจะจดบริษัท แต่ก็ยังค้านอยู่ในใจว่า คนทำงาน ฟรีเลนซ์ควรจดบริษัท เมื่อไหร่ จะดีกว่าบุคคลธรรมดาหรือไม่ ที่นี่มีคำตอบ… 

ใครบ้างกำลังรับงานรูปแบบฟรีแลนซ์อยู่บ้าง

ฟรีแลนซ์ เป็นอาชีพเงินได้ประเภทที่ 2 หรือมาตรา 40(2) คือรายได้รูปแบบรับจ้างทั่วไป รับทำงานให้เป็นครั้งคราวที่ไม่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์เป็นเจ้านายลูกน้อง เช่น ค่าจ้างฟรีแลนซ์ ค่าคอมมิชชั่น ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า การรับรีวิวสินค้า ออกแบบกราฟิก งานเขียนและแปลภาษา ค่าตอบแทนของพริตตี้ พิธีกร และ MC เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่ผู้รับเงินมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในกรณีที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นบริษัท

โดยอาชีพฟรีแลนซ์ที่นิยมทำในปัจจุบัน สามารถแบ่งได้เป็นประเภทหลักๆ ดังนี้

– ฟรีแลนซ์ที่มีอาชีพทำงานประจำอยู่แล้ว แต่มารับทำงานฟรีแลนซ์เป็นอาชีพเสริม

– ฟรีแลนซ์ที่ทำงานมีรายได้หลายทาง หรือหลายอาชีพในวันเดียวกัน เช่น ขายของ รับงานเขียน หรือให้บริการด้านอื่นๆ

– ฟรีแลนซ์ที่ทำงานเป็นโปรเจ็กต์

– ฟรีแลนซ์ที่ทำงานคล้ายทำงานประจำ แต่เป็นการทำงานแค่ชั่วคราว โดยจะรับงานเพียงลูกค้ารายเดียว และ ทำงานผูกมัดกันเป็นระยะเวลาสั้นๆ ประมาณ 2-4 เดือน

ฟรีแลนซ์ควรจดบริษัท เมื่อต้นทุนแรงงานที่ใช้ในการทำงานสูง 

ในกรณีที่งานฟรีแลนซ์ของผู้มีรายได้ต้องมีแรงงานเข้ามาช่วยแต่ไม่มาก เพียง 1-2 คน  ก็เท่ากับว่ามีต้นทุนไม่สูง การจดบริษัทเป็นนิติบุคคลอาจยังไม่ถึงเวลา เพราะนำมาหักค่าใช้จ่ายได้น้อย เนื่องจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ 50% ของเงินได้ แต่ได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท ซึ่งจะประหยัดภาษีมากกว่า 

แต่ถ้าเป็นงานฟรีแลนซ์ที่มีลูกจ้างหลายคน มีหุ้นส่วนที่ต้องจ่ายเป็นเงินเดือน มีการส่งงานกระจายให้คนอื่น ลักษณะนี้ ฟรีแลนซ์ควรจดบริษัท เพราะจะมีต้นทุนให้หักเป็นค่าใช้จ่ายได้เยอะ จะช่วยประหยัดภาษีได้มากกว่าบุคคลธรรมดาที่หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา  

  

ฟรีแลนซ์ควรจดบริษัทเมื่อมีค่าใช้จ่ายสูง

สำหรับค่าใช้จ่ายที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาว่าฟรีแลนซ์ควรจดบริษัทเมื่อไร จะคล้ายกับต้นทุนด้านแรงงาน กล่าวคือผู้มีรายได้ต้องวางแผนให้ดีว่างานฟรีแลนซ์ทุกงานที่รับทำ มีค่าใช้จ่ายมากเพียงพอที่จะนำมาลดหย่อนภาษีได้หรือไม่ เช่น ค่าใช้จ่ายด้านอุปกรณ์ในการทำงาน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ เป็นต้น 

โดยรายจ่ายเหล่านี้หากฟรีแลนซ์จดบริษัทเป็นนิติบุคคล จะสามารถนำมาหักเป็นค่าใช้จ่าย ภาษีเงินได้ที่เสียก็จะลดลง

 

ฟรีแลนซ์ควรจดบริษัทเมื่อต้องการความน่าเชื่อถือ

เมื่อผู้มีรายได้รับงานฟรีแลนซ์มานานหลายปี มีลูกค้าหลากหลายและเพิ่มขึ้นตามประสบการณ์ เชื่อว่าลูกค้าหลายราย ยิ่งถ้าเป็นลูกค้ารายใหญ่ ย่อมอยากได้รับความเชื่อมั่นและความน่าเชื่อถือจากฟรีแลนซ์อย่างคุณอย่างแน่นอน เช่น งานรับออกแบบกราฟิก งานพิมพ์นามบัตร โบรชัวร์ ปฏิทิน เป็นต้น 

ดังนั้น อาจถึงเวลาแล้วที่ฟรีแลนซ์ควรจดบริษัท เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ และอนาคตหากขยายกิจการก็จะสร้างความน่าเชื่อถือ มีโอกาสขอเงินทุน สินเชื่อ จากสถาบันการเงินต่างๆ ได้ง่ายกว่าบุคคลธรรมดา  

โดยเฉพาะต้องให้ความสำคัญกับเรื่องเอกสาร ควรทำให้ถูกต้องน่าเชื่อถือ ทั้งใบเสนอราคา ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี (กรณีจด VAT) ซึ่งหากจดบริษัทเป็นนิติบุคคลจะสามารถดำเนินการออกเอกสารต่างๆ ได้อย่างถูกต้องมากขึ้น 

ฟรีแลนซ์ควรจดบริษัท เมื่อรายได้สูง อัตราภาษีที่ต้องเสียเกิน 20% 

จะเห็นได้ว่ารายได้ในส่วนของการทำงานฟรีแลนซ์ เมื่อมีรายได้สูง จะมาพร้อมกับภาษีที่ต้องเสียสูงตามไปด้วย เนื่องจากอาชีพฟรีแลนซ์ จัดอยู่เงินได้ประเภทที่ 2 สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 50% ของเงินได้ แต่ได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท และถ้าหากผู้มีรายได้มีทั้งเงินได้ประเภทที่ 1 (เงินเดือน) และประเภทที่ 2 ให้นำเงินได้ทั้ง 2 ประเภทรวมกัน หักค่าใช้จ่ายได้ไม่เกิน 100,000 บาท

ดังนั้น เมื่อผู้มีรายได้มีรายรับสูงหลายล้าน จะส่งผลให้ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสูงสุดถึง 35% ซึ่งถ้าอัตราภาษีที่ต้องเสียสูงเกินกว่า 20% ฟรีแลนซ์ควรจดบริษัท เป็นการด่วน เนื่องจากนิติบุคคลเสียภาษีสูงสุดแค่ 20% เท่านั้น (เช็กวิธีการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ที่บทความ แนวทางวางแผน ภาษีนิติบุคคล)

 

สรุป… เปรียบเทียบลักษณะแบบไหน ฟรีแลนซ์ควรจดบริษัท

เมื่อมาถึงตรงนี้ อาจพอสรุปเปรียบเทียบว่าฟรีแลนซ์ควรจดบริษัทแล้วหรือยัง ตามตารางดังต่อไปนี้

ฟรีแลนซ์ในนามบุคคลธรรมดา

จดบริษัท ( / )   ไม่จดบริษัท ( X )   

มีรายได้สูงหลายล้าน

/

อัตราภาษีที่ต้องเสียเกิน 20%

/

ทำงานคนเดียว หรือจ้างแรงงาน 1-2 คน

X

มีหุ้นส่วน

/

ค่าใช้จ่ายน้อย

x

มีลูกค้า ผู้ใช้บริการเป็นบริษัทใหญ่

/

ต้องการความน่าเชื่อถือ 

/

ต้องการขยายกิจการ ขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน

/

 

อย่างไรก็ตาม ผู้มีรายได้ที่ทำงานฟรีแลนซ์เป็นหลัก หรือรับงานฟรีแลนซ์เป็นงานเสริม ต้องเข้าใจรายได้หลักของตนเองว่ามาจากทางไหนบ้าง จัดอยู่เงินได้พึงประเมินมาตราไหน แล้วศึกษาวิธีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้ถ่องแท้ เพื่อให้สามารถวางแผนภาษีของตนเองได้ง่ายขึ้น และใช้พิจารณาว่าถึงเวลาที่ฟรีแลนซ์ควรจดบริษัทแล้วหรือยัง