ตามหาพ่อค้าแม่ค้า online ที่อยากสัมมนาภาษี-บัญชี

เข้าร่วมไขความลับเรื่อง ภาษี-บัญชี รู้ทันสรรพากรภายใน 1 วัน
  ในงานสัมมนา “รู้ ครบ จบหมด บัญชีภาษี ธุรกิจขายของ online”

ค่าสัมมนา
4,900 บาท

แนะแนวทางการทำ บัญชีธุรกิจผลิตและขายส่ง สินค้า

บัญชีธุรกิจผลิตและขายส่ง

ในการทำธุรกิจต้องอาศัยเครื่องมือวัดความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ เพื่อใช้ในการวางแผน การควบคุม และการตัดสินใจ หาแนวทางบริหารจัดการธุรกิจให้ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยใช้ข้อมูล บัญชีธุรกิจผลิตและขายส่ง ซึ่งจะมีข้อมูลงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ งบดุล งบการเงิน การบันทึกบัญชี ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นข้อมูลทางการเงินซึ่งได้จากการจัดทำ บัญชีธุรกิจผลิตและขายส่ง สินค้า 

ดังนั้นข้อมูลทาง บัญชีธุรกิจผลิตและขายส่ง สินค้าจะมีความถูกต้อง ชัดเจน และทำให้สถานประกอบการนำมาใช้เป็นข้อมูลเพื่อการพัฒนาธุรกิจให้เจริญก้าวหน้าได้อย่างยั่งยืน ข้อมูลการทำบัญชีธุรกิจผลิตและขายส่งสินค้าประกอบด้วยอะไรบ้าง ติดตามได้จากข้อมูลดังต่อไปนี้  

ระบบ บัญชีธุรกิจผลิตและขายส่ง ที่ควรรู้

การบัญชีเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล ระบบบัญชีธุรกิจผลิตและขายส่ง จึงมีความสำคัญมากในการรวบรวมข้อมูลทางการเงินเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ดังนั้นหากจะกล่าวถึงองค์ประกอบของระบบบัญชีมีอะไรบ้าง สามารถอธิบายได้ดังนี้

1.เอกสาร ประกอบการบันทึกบัญชี เป็นเอกสารการเงินที่กิจการได้รับการดำเนินงาน มีทั้งที่ได้รับจากบุคคลภายนอก และกิจการทำขึ้นมา เมื่อรวบรวมเอกสารได้แล้วดำเนินการจำแนกประเภทบัญชีที่สถานประกอบการได้กำหนดไว้ในผังบัญชี เพื่อเป็นหลักฐานการบันทึกบัญชีต่อไป

2.การบันทึกบัญชีในสมุดบัญชี ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 

– สมุดรายวันขั้นต้น ใช้สำหรับบันทึกรายการที่เกิดขึ้นเรียงตามลำดับ ได้แก่ สมุดรายวันทั่วไป สมุดรายวันรับเงิน สมุดรายวันจ่ายเงิน สมุดรายวันซื้อ สมุดรายวันขาย สมุดรายวันสินค้ารับคืน สมุดรายวัน สินค้าส่งคืน 

– สมุดรายวันขั้นปลายประกอบด้วย สมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป และสมุดบัญชีแยกประเภทย่อย 

3.การจัดทำงบการเงินหรือรายงานทางการเงิน ซึ่งจะอธิบายในหัวข้อต่อไป  

รู้หรือไม่? การลงบันทึกบัญชีธุรกิจผลิตและขายส่งมีขั้นตอนอะไรบ้าง

การลงบันทึกบัญชีที่แสดงการเปลี่ยนแปลงความเคลื่อนไหวของวัตถุดิบ หรือสินค้า จะมีการบันทึกบัญชีทุกครั้งที่มีการเคลื่อนไหว ดังนั้นผู้ประกอบการจะทราบมูลค่าสินค้าคงเหลือภายในธุรกิจ ซึ่งมีขั้นตอนการบันทึกบัญชีดังต่อไปนี้

1.การบันทึกบัญชีธุรกิจผลิตและขายส่ง มีการบันทึกบัญชีเมื่อเกิดรายการต่างๆ ขึ้นดังนี้

– ซื้อวัตถุดิบ

– เบิกวัตถุดิบไปใช้

– จ่ายค่าแรง

– จ่ายค่าใช้จ่ายในการผลิตอื่นๆ

– สินค้าผลิตเสร็จเป็นสินค้าสำเร็จรูป

– ผลิตและขายสินค้า

– รับชำระค่าสินค้า

2.บันทึกบัญชีตามระบบบันทึกบัญชีสินค้าตามระบบเดบิต เครดิต โดยจะมีการบันทึกบัญชีสินค้า มีการเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นหรือลดลง ซึ่งจะแสดงรายการบันทึกบัญชี ยกตัวอย่างเช่น  

– การจ่ายค่าใช้จ่ายในการผลิตอื่นๆ หรือปรับปรุงบัญชีค่าใช้จ่ายในการผลิต  แยกเดบิตค่าเบี้ยประกันภัยโรงงาน เครดิตเงินสด  

– การซื้อวัตถุดิบ แยกเดบิตวัตถุดิบ เครดิตเงินสดหรือเจ้าหนี้ 

– การส่งคืนวัตถุดิบ แยกเดบิตเงินสดหรือเจ้าหนี้ เครดิตวัตถุดิบ

– ค่าขนส่งวัตถุดิบ แยกเดบิตวัตถุดิบ เครดิตเงินสด

– เบิกวัตถุดิบไปใช่ในการผลิต  แยกเดบิตงานระหว่างทำ เครดิตวัตถุดิบ  

– การจ่ายค่าแรง แยกเดบิตค่าแรงงาน เครดิตเงินสด

– โอนปิดค่าใช้จ่ายในการผลิต แยกเดบิตงานระหว่างทำ เครดิตค่าใช้จ่ายในการผลิต

งบการเงินทางบัญชีบ่งบอกความมั่นคงทางกิจการ

ระบบบัญชีธุรกิจผลิตและขายส่ง โดยทั่วไป ในวันสิ้นงวดบัญชีจะต้องปรับปรุงและปิดบัญชีเพื่อจัดทำงบการเงิน ซึ่งในทุกธุรกิจการผลิตและขายส่งก็เช่นเดียวกัน 

งบการเงิน ที่ธุรกิจผลิตและขายส่งจะต้องจัดทำ นอกเหนือจากงบกำไรขาดทุนและงบดุลแล้ว กิจการจะต้องจัดทำงบต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นมาด้วย เพราะกิจการธุรกิจผลิตและขายส่ง เป็นการผลิตสินค้าขึ้นมาเองเพื่อขาย ดังนั้นกิจการจะต้องทราบว่าต้นทุนสินค้าที่ผลิตนั้นเป็นเท่าไร จึงจะคำนวณต้นทุนขายได้ ซึ่งจะแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับงบต่างๆ ได้ดังนี้

งบต้นทุนการผลิต งบต้นทุนการผลิตจัดทำขึ้นเพื่อให้ทราบว่า ในงวดนี้ต้นทุนสินค้าที่ผลิตได้เท่าไร

งบกำไรขาดทุน งบกำไรขาดทุนของธุรกิจผลิตและขายส่ง จะเหมือนกับงบกำไรขาดทุนของกิจการซื้อมาขายไป คือ แสดงยอดขายสุทธิ หักด้วยต้นทุนขาย หักด้วยค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร จะได้กำไรหรือขาดทุนจากการดำเนินธุรกิจ ต่างกันอยู่เฉพาะส่วนของต้นทุนขายเท่านั้น ธุรกิจผลิตและขายส่งจะคำนวณต้นทุนขายได้ ต้องจัดทำงบต้นทุนการผลิตขึ้นมาก่อน จึงจะทราบว่าสินค้าที่ผลิตได้งวดนี้มีต้นทุนเท่าไร

งบดุล งบดุลของธุรกิจผลิตและขายส่งเหมือนกับงบดุลของกิจการอื่นๆ โดยทั่วไป คือ ข้อมูลที่แสดงอยู่ในงบดุลจะประกอบด้วย ข้อมูลในหมวดทรัพย์สิน หนี้สิน และทุน

งบการเงินควรจัดทำขึ้นอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เนื่องจากผู้ใช้งบการเงินต้องการเปรียบเทียบฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน และการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของธุรกิจผลิต สำหรับรอบระยะเวลาที่ต่างกัน ดังนั้นงบการเงินจึงแสดงข้อมูลของรอบระยะเวลาที่ผ่านมาด้วย เพื่อประโยชน์ในการเปรียบเทียบผลประกอบการของธุรกิจ 

ทั้งนี้หากต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถเข้าไปอ่านได้ที่บทความการปิดงบการเงิน คืออะไร ใครต้องทำบ้าง

 

กล่าวโดยสรุป จากข้อมูลข้างต้นไม่ว่าจะประกอบธุรกิจผลิตและขายส่งสินค้าอะไรก็แล้วแต่ จำเป็นต้องมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการทำบัญชีธุรกิจผลิตและขายส่ง ซึ่งจะเป็นข้อมูลเพื่อช่วยให้เรียนรู้เกี่ยวกับการบัญชีได้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ตัวเลขเหล่านี้คาดการณ์สภาวะการเงินและแนวโน้มการเติบโตของธุรกิจได้เป็นอย่างดีอีกด้วย 

หากเจ้าของธุรกิจไม่แน่ใจในเรื่องบัญชีหรืองบการเงิน และกำลังมองหาผู้ตรวจสอบบัญชีเข้ามาช่วยดูแลตรวจสอบงบการเงิน บัญชีของกิจการให้ถูกต้องยิ่งขึ้น แนะนำให้ปรึกษาสำนักงานบัญชีมืออาชีพ เพื่อเป็นอีกกำลังในการขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตยิ่งๆ ขึ้นไป