ตามหาพ่อค้าแม่ค้า online ที่อยากสัมมนาภาษี-บัญชี

เข้าร่วมไขความลับเรื่อง ภาษี-บัญชี รู้ทันสรรพากรภายใน 1 วัน
  ในงานสัมมนา “รู้ ครบ จบหมด บัญชีภาษี ธุรกิจขายของ online”

ค่าสัมมนา
4,900 บาท

ผลลัพธ์ของการทำบัญชี… งบการเงินคือ ??

งบการเงินคือ … อะไร??

งบการเงินคือ อะไร??

ผลลัพธ์ของการทำบัญชี ก็คือชุดของข้อมูลที่ทำให้ผู้ประกอบกิจการได้ทราบถึงความเคลื่อนไหวของการดำเนินกิจการของตนเอง ซึ่งส่วนใหญ่ งบการเงินคือ เรื่องเกี่ยวกับการเงิน เช่น การบันทึกการเงิน รายรับร่ายจ่ายต่างๆ ของกิจการ รายงานที่แสดงถึงข้อมูลทางการเงินของกิจการ โดยรวมๆ เราเรียกว่า งบการเงิน

แล้ว งบการเงินคือ อะไร…

ดังนั้น งบการเงินคือ การสรุปรายงานทางการเงินและบัญชีของกิจการในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยงบแยกย่อยหลายประเภท แต่โดยหลักๆ จะมีอยู่ 4 งบ วันนี้เราจะมาแนะนำงบการเงินทั้ง 4 รวมถึงบอกถึงองค์ประกอบของแต่ละงบให้ทุกคนได้รู้จักกันค่ะ

                   

1.งบแสดงฐานะทางการเงิน

งบแสดงฐานะการทางเงิน เป็นงบการเงินที่ให้ข้อมูลฐานะทางการเงินของกิจการ ณ วันสิ้นรอบบัญชี (ปกติมักเป็นสิ้นปี) โดยแสดงให้เห็นถึงทรัพย์สิน หนี้สิน และเงินลงทุน (ส่วนของเจ้าของ) จากเจ้าของกิจการ ซึ่งสามารถอธิบายได้ดังนี้

1.1 สินทรัพย์ คือทรัพยากรที่กิจการมีอยู่ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการ ให้เกิดกระแสเงินสดเข้า หรือลดกระแสเงินสดออกของกิจการในอนาคต ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

– สินทรัพย์หมุนเวียน (Current Assets) คือสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่อง สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็ว และคาดว่าจะก่อประโยชน์ให้กิจการได้ภายในเวลา 1 ปี เช่น เงินสด เงินฝากธนาคาร ลูกหนี้การค้า

– สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (Non-Current Assets) เป็นสินค้าที่มีสภาพคล่องน้อยกว่าสินทรัพย์หมุนเวียน มีความคงทนถาวร และไม่อาจเปลี่ยนเป็นเงินสดหรือก่อให้เกิดประโยชน์แก่กิจการภายใน 1 ปี เช่น ที่ดิน อาคาร เงินลงทุนระยะยาว เงินให้กู้ยืมระยะยาว เช่น เครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์

1.2 หนี้สิน คือภาระผูกพันของกิจการที่ก่อให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจของกิจการ ซึ่งกิจการต้องจ่ายชำระคืนให้แก่บุคคลภายนอก โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้

– หนี้สินหมุนเวียน (Current Assets) หรือหนี้สินระยะสั้น เป็นภาระหนี้สินของกิจการที่ต้องชำระให้เจ้าหนี้ภายในไม่เกิน 1 ปี เช่น ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร เงินกู้ยืมระยะสั้น เจ้าหนี้การค้า

– หนี้สินไม่หมุนเวียน (Non-Current Assets) หรือหนี้สินระยะยาวเป็นภาระหนี้สินของกิจการที่ต้องชำระให้แก่บุคคลภายนอกหรือเจ้าหนี้ ที่มีเวลาชำระคืนเกิน 1 ปี เช่น เงินกู้ระยะยาว หุ้นกู้ระยะยาว

           1.3 ส่วนของผู้ถือหุ้น หรือเงินทุนจากเจ้าของกิจการ ที่อยู่ในรูปแบบของหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิ์ รวมกับกำไรที่กิจการหามาได้สะสมรวมกันแต่ละปี โดยปกติกิจการจะกันกำไรสะสมไว้ส่วนหนึ่ง และจ่ายผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือหุ้นจากกำไรสะสมในรูปของเงินปันผล (ข้อมูลจาก https://bit.ly/2ZBfCmb)

 

2.งบกำไรขาดทุน

งบกำไรขาดทุน เป็นงบการเงินที่แสดงข้อมูลผลการดำเนินงานของกิจการในรูปแบบของรายได้ ต้นทุน ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และกำไร/ขาดทุนของกิจการ ในระยะเวลาหนึ่ง เช่น ทุกไตรมาส ทุกรอบปี ซึ่งประกอบไปด้วย

2.1 รายได้ เป็นรายรับที่กิจการได้มาจากการดำเนินธุรกิจขายสินค้าและบริการ หรืออาจจะอยู่ในรูปของผลตอบแทนอื่นๆ ที่ไม่ได้เกิดจากการดำเนินงานปกติทั่วไป เช่น รายได้จากดอกเบี้ยธนาคาร

2.2 ค่าใช้จ่าย คือต้นทุนการขายสินค้าและบริการ ค่าใช้จ่ายในการขาย การบริการ และต้นทุนทางการเงิน เรียกว่าค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น

2.3 กำไรขาดทุนสุทธิ เกิดจากรายได้หลักหักค่าใช้จ่ายรวมถึงต้นทุนทางการเงิน และภาษีของกิจการ เป็นตัวเลขที่แสดงผลประกอบการที่ผ่านมา และแสดงถึงความสามารถในการดำเนินงานของกิจการ

 

3.งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น

งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น เป็นงบการเงินที่แสดงข้อมูลการเปลี่ยนแปลงเงินทุนของกิจการในช่วงเวลา 1 ปี ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปลายปี ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงกำไรหรือขาดทุนสะสม เงินทุนที่ได้รับเพิ่มหรือจ่ายคืนให้กับเจ้าของ เป็นต้น โดยงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น มีรายการดังนี้

– ยอดคงเหลือต้นงวดส่วนของผู้ถือหุ้น ประกอบด้วย ทุนเรือนหุ้น ส่วนเกิน(ต่ำ) มูลค่าหุ้น ส่วนเกินทุน กำไรสะสม

– ผลสะสมจากการแก้ไขข้อผิดพลาด

– ยอดคงเหลือที่ปรับปรุงแล้ว

– ส่วนเกินทุนอื่น

– ส่วนต่ำกว่าทุนอื่น

– รายการที่ยังไม่รับรู้ในงบกำไรขาดทุน

– กำไร (ขาดทุน) สุทธิของปี

– เงินปันผลจ่าย

– รับชำระค่าหุ้นบุริมสิทธิระหว่างปี

– รับชำระค่าหุ้นสามัญระหว่างปี

–  ยอดคงเหลือปลายงวดส่วนของผู้ถือหุ้น

ถือว่าเป็นรายงาน งบการเงิน ที่แตกออกมาจากงบแสดงฐานะทางการเงิน จึงทำให้รายงานนี้มีประโยชน์ต่อผู้บริหาร และเจ้าของกิจการรวมทั้งนักลงทุนผู้เป็นผู้ถือหุ้นของกิจการ (ข้อมูลจาก shorturl.asia/nQ2EN)

 

4.งบกระแสเงินสด

งบกระแสเงินสดเป็นงบการเงินที่แสดงให้เห็นทิศทางการบริหารเงินสดของกิจการ ทำให้ทราบถึงสภาพคล่องของกิจการ โดยจะเกิดขึ้นจาก 3 กิจกรรม คือ

– กระแสเงินสดที่ใช้ไปในกิจกรรมดำเนินงาน เช่น การขายสินค้าและบริการ การซื้อสินค้า การจ่ายเงินเดือนพนักงาน

– กระแสเงินสดที่ใช้ไปในกิจกรรมลงทุน เช่น การซื้อ-ขายสินทรัพย์ไม่มีตัวตน   

– กระแสเงินสดที่ใช้ไปในกิจกรรมจัดหาเงิน เช่น เงินสดรับจากการกู้เงิน เงินสดรับจากการเพิ่มทุน เงินสดจ่ายจากการคืนเงินกู้ยืม เงินสดจ่ายจากเงินปันผล

และงบกระแสเงินสดนี้อาจไม่ต้องจัดทำขึ้นตามที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากำหนด แต่ในความเป็นจริงแล้วเป็นงบที่สำคัญมาก เนื่องจากงบกำไรขาดทุนโดยทั่วไปจัดทำขึ้นตามหลักเกณฑ์คงค้างที่ไม่ได้แสดงให้เห็นกระแสเงินที่เข้าและออกของกิจการ ดังนั้น จึงต้องมองที่งบกระแสเงินสดควบคู่ไปกับงบอื่นๆ เพื่อให้เห็นถึงเงินสดที่กิจการมีอยู่จริง

 

สรุป

งบการเงินคือ รายงานข้อมูลที่จำเป็นต้องปิดงบการเงินประจำปี เพื่อส่งข้อมูลแก่สรรพากรตามที่กฎหมายกำหนด โดยต้องเป็นข้อมูลที่ถูกต้องตามความเป็นจริง ซึ่งก็ต้องใช้บริการผู้สอบบัญชีตรวจสอบบัญชี งบการเงิน ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจการ

ดังนั้น กิจการควรเลือกสำนักงานบัญชีที่ได้มาตรฐาน มีประสบการณ์ มีหลักแหล่งชัดเจน ช่วยตรวจสอบบัญชีให้ ซึ่งนอกจากจะได้ งบการเงิน ที่ถูกต้องตามกฎหมายกำหนดแล้ว งบการเงินคือ รายงานที่เป็นตัวแปรสำคัญ เพื่อช่วยให้กิจการนำข้อมูลไปใช้ตัดสินใจและวางแผนการดำเนินกิจการของตนเองได้อย่างเหมาะสมอีกด้วย