ระบบบัญชีออกแบบตกแต่งภายใน …เนื่องจากสมัยนี้มีบริษัทรับออกแบบตกแต่งภายในเกิดขึ้นมากมาย ทำให้กลายเป็นตลาดของผู้ซื้อในการคัดเลือกและตกลงว่าจ้าง ดังนั้นในการเข้าสู่ธุรกิจรับออกแบบตกแต่งภายใน จึงมีข้อจำกัดเรื่องของทักษะในการออกแบบ รวมไปถึงการหาช่างฝีมือประจำบริษัท รวมทั้งต้องมีประสบการณ์มาก่อนจึงจะเป็นการพิสูจน์ผลงานต่อลูกค้าได้
ทั้งนี้ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกใช้บริการบริษัทรับออกแบบตกแต่งภายใน พบว่าส่วนใหญ่จะคำนึงถึงค่าใช้จ่ายในการออกแบบตกแต่งภายใน รองลงมาให้ความสำคัญกับประสบการณ์ของผู้ให้บริการออกแบบตกแต่งภายใน และสุดท้ายจะคำนึงถึงความสวยงามที่ผ่านมา
ดังนั้นการเปิดบริษัทออกแบบตกแต่งภายใน จะมีรายละเอียดของเนื้องานเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของทีมบริหาร ฝ่ายการตลาด ฝ่ายขาย ฝ่ายบัญชี ฯลฯ ซึ่งในบทความนี้จะกล่าวถึงแต่ในส่วนของระบบ ระบบบัญชีออกแบบตกแต่งภายใน ที่มีความสำคัญไม่แพ้ฝ่ายอื่นๆ เลยทีเดียว แล้ว ระบบบัญชีออกแบบตกแต่งภายใน จะประกอบด้วยอะไรบ้างลองไปดูพร้อมๆ กัน
เอกสารที่ต้องใช้ในการทำระบบบัญชีออกแบบตกแต่งภายใน
ระบบบัญชีออกแบบตกแต่งภายใน มีความสำคัญต่อการพัฒนาองค์กร ให้มีความเจริญก้าวหน้าในการดำเนินกิจการ ตลอดจนสามารถทำกำไรเพื่อให้ถึงความสำเร็จที่ต้องการ
เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงระบบบัญชีออกแบบตกแต่งภายใน ได้แก่ บันทึก หนังสือ หรือเอกสารใดๆ ที่ใช้เป็นหลักฐานในการลงรายการใบบัญชีได้ ซึ่งแยกได้เป็น 3 ประเภท คือ
1.เอกสารที่ใช้ประกอบการลงบัญชีที่จัดทำขึ้นโดยบุคคลภายนอก
2.เอกสารที่ใช้ประกอบการลงบัญชีที่จัดทำขึ้นโดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเพื่อออกให้แก่บุคคลภายนอก
3.เอกสารที่ใช้ประกอบการลงบัญชีที่จัดทำขึ้นโดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเพื่อใช้ในกิจการของตนเอง
เอกสารประกอบการลงบัญชีที่กล่าวมาข้างต้นต้องมีชื่อผู้ทำเอกสาร วันเดือนปีที่ออกเอกสาร เลขที่เอกสาร โดยผู้ทำบัญชีจะต้องคำนึงถึงเนื้อหาของเอกสารให้สอดคล้องกับเอกสารของระบบบัญชีออกแบบตกแต่งภายใน และต้องมีความละเอียดรอบคอบ
เอกสารที่เกี่ยวข้องกับรายจ่าย การขาย การจัดซื้อ
เอกสารที่จำเป็นสำหรับการทำระบบบัญชีออกแบบตกแต่งภายในทางด้านของรายจ่าย เจ้าของธุรกิจต้องเก็บบิล ใบเสร็จ หรือเอกสารที่เกี่ยวข้องทุกอย่างไว้ เพื่อใช้เป็นหลักฐานยืนยันในการทำบัญชีได้อย่างถูกต้อง ซึ่งประกอบด้วย ใบเสร็จรับเงิน ใบสำคัญรับเงิน ใบสำคัญจ่าย รายงานการเงิน ใบบันทึกเงินสดย่อย ใบขอเบิกเงินสดย่อย ใบเบิกเงินสำรองจ่าย ใบเคลียร์เงินสำรองจ่าย ใบนำฝาก / จัดทำรายงานการรับเงิน หนังสือรับรองหักภาษี ณ ที่จ่าย ฯลฯ
เอกสารทางด้านการขายที่ใช้ประกอบการทำระบบบัญชีออกแบบตกแต่งภายใน ประกอบด้วย ใบสั่งซื้อสัญญาจ้างที่ได้รับการอนุมัติเรียบร้อยแล้ว ใบแจ้งหนี้ ใบส่งมอบงาน และเอกสารอื่นๆ ที่ใช้ประกอบตอนส่งมอบงาน บันทึกบัตรสินค้าหรือเงินงวดที่เรียกเก็บ และบันทึกสมุดรายวันกับบัญชีแยกประเภท
สำหรับงานออกแบบตกแต่งภายใน จะต้องมีการซื้อสินค้าวัตถุดิบเพื่อใช้ประกอบ เช่น เฟอร์นิเจอร์ วัสดุอุปกรณ์อื่นๆ เป็นต้น ซึ่งก็จำเป็นต้องมีเอกสารการจัดซื้อสินค้าต่างๆ เพื่อใช้ประกอบการทำระบบบัญชีออกแบบตกแต่งภายใน ดังนี้ ใบขอซื้อ ใบสั่งซื้อ ใบตรวจรับสินค้า ใบรับของ ใบกำกับสินค้า ซึ่งจะต้องได้รับมาพร้อมกับสินค้าที่ซื้อ
การบันทึกบัญชีสำหรับงานออกแบบตกแต่งภายใน
เมื่อกิจการรับออกแบบตกแต่งภายใน สามารถประมาณผลของงานได้อย่างน่าเชื่อถือ กิจการต้องรับรู้รายได้ค่าออกแบบและต้นทุนค่าเฟอร์นิเจอร์ วัสดุอื่นๆ (ในกรณีรับออกแบบตกแต่งภายในแบบครบวงจร) เป็นรายได้และค่าใช้จ่าย โดยแบ่งเป็น
รายได้ค่าออกแบบตกแต่งภายใน คือ จำนวนรายได้ที่ได้รับตามที่ตกลงกันก่อนเริ่มทำงาน รวมถึงรายได้ที่เกิดจากงานเพิ่มเติมที่ตกลงหลังจากการทำสัญญา และรายได้จากงานส่วนเพิ่มที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น
ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับงานออกแบบตกแต่งภายใน คือ ค่าวัสดุ ค่าเฟอร์นิเจอร์ ค่าแรง ต้นทุนค่าเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ไปหรือกลับจากสถานที่ไปดำเนินงาน ค่าออกแบบและให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
การบันทึกต้นทุนระบบบัญชีออกแบบตกแต่งภายใน คือ วิธีบันทึกต้นทุนตั้งแต่การออกแบบจนถึงการจัดทำจนกระทั่งแล้วเสร็จ ยกตัวอย่างเช่น บริษัทคอนโดทำสัญญาออกแบบตกแต่งภายใน ในวันที่ 1 เมษายน 2565 ราคาตามสัญญาจ้าง 1,200,000 บาท แล้วคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในวันที่ 1 สิงหาคม 2565 (โดยระยะเวลาอาจยืดหยุ่นขึ้นอยู่กับขั้นตอนการออกแบบว่าสามารถสรุปแบบได้เร็วหรือช้า และรายละเอียดของงาน) ณ วันทำสัญญา ได้ประมาณการต้นทุน 800,000 บาท พอจบงานปรากฏว่าต้นทุนที่ประมาณการไว้มีการเปลี่ยนแปลงเป็น 850,000 บาท ดังนั้นยอดเงินที่เกินมา 50,000 บาท ถือว่ามีการเปลี่ยนแปลงทางบัญชี ดังนั้นต้องลงบันทึกเป็นต้นทุนที่มีการเปลี่ยนแปลงด้วย
กล่าวโดยสรุป งานด้านการบัญชีเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ภายในองค์กรที่ช่วยให้ธุรกิจมีความก้าวหน้า ดังนั้นระบบบัญชีออกแบบตกแต่งภายใน ที่ประกอบด้วยการทำเอกสารทางบัญชี รายได้ ต้นทุน การจัดซื้อ ซึ่งองค์ประกอบของทุกส่วนมีความสำคัญเป็นอย่างมาก
หรือหากจะกล่าวถึงการทำบัญชีโดยไม่ได้มีทีมงานเข้ามาร่วมด้วย สามารถดำเนินงานได้เพียงคนเดียว รายละเอียดของการทำบัญชีจะมีไม่มาก ระบบการจัดการบัญชีจะไม่มีความซับซ้อน แต่ถ้าเมื่อใดก็ตามที่ธุรกิจมีการเติบโตจนทำให้ทางเจ้าของธุรกิจอยากจดทะเบียนเป็นรูปแบบบริษัท แนะนำให้ปรึกษาสำนักงานบัญชีมืออาชีพ เข้ามาช่วยจดบริษัทและดูระบบให้เพื่อแบ่งเบาภาระแก่ธุรกิจ