ตามหาพ่อค้าแม่ค้า online ที่อยากสัมมนาภาษี-บัญชี

เข้าร่วมไขความลับเรื่อง ภาษี-บัญชี รู้ทันสรรพากรภายใน 1 วัน
  ในงานสัมมนา “รู้ ครบ จบหมด บัญชีภาษี ธุรกิจขายของ online”

ค่าสัมมนา
4,900 บาท

จดบริษัทร้านขายยา ดีกว่าจริงหรือ?

จดบริษัทร้านขายยา

เนื่องจากร้านขายยา เป็นธุรกิจที่มีกฎหมายควบคุม ดังนั้น หากใครต้องการเปิดร้านขายยาต้องขอใบอนุญาตขายยาก่อน และผู้ขอใบอนุญาตจะต้องมีเภสัชกรที่มีใบประกอบโรคศิลปะเป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการด้วย ส่วนการดำเนินกิจการสามารถทำในนามบุคคลธรรมดาได้ หรือจะ จดบริษัทร้านขายยา เป็นนิติบุคคลก็ได้เช่นกัน ซึ่งทั้ง 2 รูปแบบมีเงื่อนไขและข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะของ กิจการว่าแบบไหนเหมาะกับเจ้าตัวที่สุด

โดยหลักการกว้างๆ ที่นิยมใช้พิจารณาว่าควร จดบริษัทร้านขายยา ดีหรือไม่นั้น จะคำนวณจากรายได้ “หากมีรายได้สูงหลายล้าน ภาษีที่ต้องเสียก็จะสูงสุดถึง 35% ทำให้เจ้าของร้านขายยาอาจพิจารณา จดบริษัทร้านขายยาเป็นนิติบุคคล เพื่อให้คำนวณภาษีจากกำไรสุทธิสูงสุด 20%” ซึ่งช่วยลดภาษีที่ต้องเสียในแต่ละปีได้ทางหนึ่ง 

แต่ยังมีปัจจัยอื่นๆ เพื่อใช้พิจารณาว่าธุรกิจขายยาของคุณ เหมาะทำในนามบุคคลธรรมดาหรือ จดบริษัทร้านขายยา เป็นนิติบุคคลดีกว่า ดังนี้

ลักษณะร้านขายยา

ร้านขายยา หมายถึง สถานประกอบการที่มียาและสินค้าอื่นๆ ควบด้วย เช่น เครื่องสำอาง เครื่องดื่ม สินค้าเบ็ดเตล็ด ผู้ขายอาจเป็นใครก็ได้ที่สามารถหยิบสินค้าได้ตามความต้องการของผู้ใช้บริการ แต่ต้องมีเภสัชกรที่มีใบประกอบโรคศิลปะเป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการด้วย

โดยสินค้าที่มีจำหน่ายในร้านขายยา จัดแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

1.สินค้าที่ต้องให้เภสัชกรเป็นผู้ให้บริการส่งมอบ และทำบัญชีพร้อมลงลายมือชื่อกำกับ เช่น ยาอันตราย ยาควบคุมพิเศษ เป็นต้น

2.สินค้าที่ผู้ให้บริการจะเป็นใครก็ได้ เช่น ยาสามัญประจำบ้าน สมุนไพร ยาแผนโบราณ อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร อุปกรณ์สำหรับแพทย์-ผู้ป่วย เวชสำอาง เป็นต้น

หลักการขออนุญาตขายยา

ก่อนที่กิจการจะตัดสินใจจดบริษัทร้านขายยาหรือไม่ สิ่งแรกที่ต้องทำคือการขออนุญาตขายยาก่อน ซึ่งมีขั้นตอนการขออนุญาตขายยาแผนปัจจุบันดังนี้

1.ติดต่อรับคำขออนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน ณ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

2.จัดเตรียมเอกสารประกอบการขออนุญาตและกรอกรายละเอียดในเอกสารให้ครบถ้วน

3.ตรวจสอบการตั้งชื่อสถานที่ (ชื่อร้าน) กับจ้าหน้าที่ก่อนการจัดทำป้ายชื่อร้าน

4.จัดเตรียมสถานที่ และป้ายต่างๆ ให้เรียบร้อย

5.ยื่นเอกสารขออนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน

6.ติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อทำการนัดหมายตรวจสอบสถานที่

7.เจ้าหน้าที่แจ้งผลการตรวจสอบสถานที่

ทั้งนี้ หากขออนุญาตผ่านแล้ว ให้รอรับใบอนุญาตภายใน 5 วันทำการ ซึ่งช่วงที่ยังไม่ได้รับใบอนุญาต กิจการไม่สามารถขายยาได้ และหลังจากได้รับใบอนุญาตขายยาแล้ว ผู้รับอนุญาตขายยามีหน้าที่ดังนี้ 

– ต้องมีเภสัชกรอยู่ตลอดเวลาเปิดทำการ

– จัดให้มีป้าย ณ ที่เปิดเผยหน้าสถานที่ขายยา

– จัดให้มีการแยกเก็บยาสำหรับสัตว์ เป็นสัดส่วนจากยาอื่น

– จัดให้มีการแยกเก็บยาอันตราย ยาควบคุมพิเศษ ยาอื่นๆ

– จัดให้มีที่เป็นสัดส่วนสำหรับปรุงยาตามใบสั่งยา

– จัดให้มีฉลากที่ภาชนะและหีบห่อบรรจุยาตามมาตรา 25(3) อยู่ครบ

– ทำบัญชียาที่ซื้อและขายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

– การอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

 

ร้านขายยารูปแบบบุคคลธรรมดา

การดำเนินกิจการร้านขายยารูปแบบบุคคลธรรมดา นั่นหมายถึงเจ้าของธุรกิจมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากยอดรายได้ตลอดทั้งปี ตามสูตรคือ

(รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องจ่าย

ทั้งนี้ การคำนวณภาษีสามารถหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ หรือเลือกหักค่าใช้จ่ายแบบตามจริง โดยหากเลือกหักแบบตามจริง กฎหมายกำหนดให้กิจการต้องทำบัญชีรายรับรายจ่ายเหมือนนิติบุคคล และเก็บหลักฐานเอกสารต่างๆ ไว้ให้ครบเพื่อเป็นหลักฐานในการยื่นภาษี

หลังจากนำรายได้หักลบด้วยค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนแล้ว ให้นำเงินได้สุทธิมาเทียบตารางอัตราภาษีก้าวหน้า (ภาษีสูงสุด 35%) ซึ่งสามารถคำนวณภาษีที่ต้องเสียได้จากบทความ เจาะลึก! วางแผน ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  

 

ร้านขายยารูปแบบนิติบุคคล 

กิจการที่จดบริษัทร้านขายยาเป็นนิติบุคคล ไม่ว่าจะเป็นบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิ สูตรคือ

(รายได้ – ค่าใช้จ่าย) = กำไรสุทธิ 

แล้วนำกำไรสุทธิที่ได้มาคิดภาษีเปรียบเทียบตามอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภาษีสูงสุด 20%) ซึ่งสามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากบทความ “แนวทางวางแผน ภาษีนิติบุคคล

นอกจากนี้ กฎหมายกำหนดให้กิจการที่จดทะเบียนนิติบุคคลต้องทำบัญชีงบดุล บัญชีทำการ บัญชีงบกำไรขาดทุน พร้อมยื่นงบการเงินและภาษีให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 

เปรียบเทียบประโยชน์ที่ได้รับระหว่างบุคคลธรรมดา & นิติบุคคล

ทั้งนี้ สามารถเปรียบเทียบประโยชน์ที่ได้รับระหว่างบุคคลธรรมดา & นิติบุคคล ได้ดังนี้

– นิติบุคคลต้องทำบัญชีตามที่กฎหมายกำหนด ส่วนบุคคลธรรมดามีอิสระในการทำบัญชี 

– นิติบุคคลหากกิจการขาดทุนไม่ต้องเสียภาษีและสามารถนำผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 ปี ก่อนระยะเวลาบัญชีปีปัจจุบัน มาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ ส่วนบุคคลธรรมดายังต้องเสียภาษีแม้ขาดทุน

– นิติบุคคลอัตราภาษีสูงสุด 20% ส่วนบุคคลธรรมดาอัตราภาษีสูงสุด 35%

กรณีนิติบุคคล SMEs กำไรสุทธิไม่เกิน 300,000 บาท ได้ยกเว้นภาษี ส่วนบุคคลธรรมดาได้ยกเว้นภาษีที่เงินได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาท 

จะเห็นได้ว่ารูปแบบการดำเนินกิจการในนามบุคคลธรรมดา หรือจดบริษัทร้านขายยาเป็นนิติบุคคล ย่อมมีปัจจัยอื่นๆ เข้ามาเป็นตัวแปรสำคัญในการเลือกรูปแบบธุรกิจของตนเอง ดังนั้น จะบอกว่าจดบริษัทร้านขายยาเป็นนิติบุคคล ดีกว่าก็คงไม่ถูกต้องทั้งหมด 

หากเป็นร้านขายยาขนาดเล็ก มีรายรับรายจ่ายไม่มาก และมั่นใจว่าสามารถทำบัญชีรายรับรายจ่ายเองได้ ไม่มีตกหล่นตอนยื่นภาษี ก็สามารถดำเนินกิจการในรูปแบบบุคคลธรรมดาได้ แต่หากมีรายรับรายจ่ายสูงหลายล้าน มิหนำซ้ำมีการจด VAT ด้วย กฎหมายบังคับให้ทำบัญชีเหมือนนิติบุคคล ก็ควรจดบริษัทร้านขายยาของคุณเป็นนิติบุคคลจะดีกว่านั่นเอง