วางแผนภาษี คือการเตรียมการทุกอย่างให้พร้อม ครบถ้วน สมบูรณ์เพื่อเสียภาษีได้อย่างประหยัดมากที่สุด โดยถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ใช่เป็นการวางแผนเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี ดังนั้น วันนี้เราจะมาเจาะลึกเรื่องการวางแผน ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แบบเข้าใจง่าย และให้สำฤทธิ์ผลดังนี้
- การเลือกวิธีหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนต่างๆ
- ต้องคำนวณภาษีให้เป็น
- เอกสารถูกต้องครบถ้วน
- ทำบัญชีรายรับรายจ่ายอยู่เสมอ (สำหรับบริษัท พ่อค้าแม่ค้าทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์)
ค่าใช้จ่าย
เนื่องจาก ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะมีกลุ่มอาชีพที่หลากหลาย รายได้ที่เข้ามาก็แตกต่างกัน ดังนั้น ต้องมาแยกก่อนว่าแต่ละคน แต่ละอาชีพจัดอยู่ในประเภทของเงินได้แบบได้ เพื่อจะได้เลือกถูกว่าสามารถนำอะไรมาเป็นค่าใช้จ่ายในการหักลบรายได้ได้บ้าง ดังนี้
- เงินได้ประเภทที่ 1 ได้แก่ เงินเดือน โบนัส สามารถหักแบบเหมา 50% แต่เมื่อรวมหักค่าใช้จ่ายจากเงินประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 แล้ว ต้องไม่เกิน 100,000 บาท
- เงินได้ประเภทที่ 2 ได้แก่ ค่าจ้างทั่วไป สามารถหักแบบเหมา 50% แต่เมื่อรวมหักค่าใช้จ่ายจากเงินประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 แล้ว ต้องไม่เกิน 100,000 บาท
- เงินได้ประเภทที่ 3 ได้แก่ ค่าลิขสิทธิ์และสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา เฉพาะค่าลิขสิทธิ์ ค่ากู๊ดวิลล์และสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา หักแบบเหมา 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท หรือหักตามจริง
- เงินได้ประเภทที่ 4 ได้แก่ ดอกเบี้ย เงินปันผลจากหุ้น และ cryptocurrency ไม่สามารถหักค่าใช้จ่ายได้
- เงินได้ประเภทที่ 5 ได้แก่ ค่าเช่า หักแบบเหมา 10-30% หรือหักตามจริง
- เงินได้ประเภทที่ 6 ได้แก่ ค่าวิชาชีพอิสระ หักแบบเหมา 30-60% หรือหักตามจริง
- เงินได้ประเภทที่ 7 ได้แก่ ค่ารับเหมาทั้งค่าแรงและค่าของ หักแบบเหมา 60% หรือหักตามจริง
- เงินได้ประเภทที่ 8 ได้แก่ เงินอื่นๆ ที่ไม่เข้าพวก เช่นรายได้จากการขายของออนไลน์ หักแบบเหมา 60% หรือหักตามจริง (ยกเว้นกรณีการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยทางอื่นที่ไม่ได้มุ่งหากำไร)
ค่าลดหย่อน
ค่าลดหย่อน คือสิทธิประโยชน์ที่เราสามารถนำมาช่วยลดค่าภาษีที่เราต้องจ่ายได้ เมื่อทำตามเกณฑ์ที่กำหนด จะช่วยวางแผน ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้ ซึ่งสามารถแยกได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่คือ กลุ่มเกี่ยวกับครอบครัว กลุ่มเกี่ยวกับการประกันและการลงทุน กลุ่มเกี่ยวกับการบริจาค และกลุ่มพิเศษ
1) กลุ่มเกี่ยวกับครอบครัว
- ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท ใช้เป็นค่าลดหย่อนพื้นฐานสำหรับทุกคนที่มีรายได้
- คู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ 60,000 บาท คู่สมรสที่จดทะเบียน หากไม่มีรายได้จะสามารถลดหย่อนได้เพิ่มอีก 60,000 บาท
- ค่าฝากครรภ์และคลอดบุตร 60,000 บาท สามารถนำมาลดหย่อนได้ตามจริง หรือสูงสุดไม่เกิน 60,000 บาท
- ค่าลดหย่อนบุตร 30,000 บาท หากมีบุตรตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป จะเพิ่มค่าลดหย่อนเป็นคนละ 60,000 บาท
- ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดา-มารดา (คนละ) 30,000 บาท สามารถใช้ลดหย่อนได้หากบิดามารดาไม่มีรายได้ หรือมีรายได้ทั้งปีไม่เกิน 30,000 บาท และอายุ 60 ปีขึ้นไป ในกรณีที่มีพี่น้องหลายคน จะใช้สิทธิ์ได้แค่คนเดียว ซึ่งอาจสลับกับพี่น้องคนละปีก็ได้
- อุปการะผู้พิการ หรือทุพพลภาพ 60,000 บาท หากมีการดูแลคนพิการสามารถนำมาลดหย่อนได้ 60,000 บาท/คน
2) กลุ่มเกี่ยวกับการประกันและการลงทุน
- เงินสมทบประกันสังคม ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 9,000 บาท
- ประกันชีวิตทั่วไป หรือเงินฝากที่มีประกันชีวิต 100,000 บาท และเมื่อรวมกับประกันสุขภาพตนเองแล้วไม่เกิน 100,000 บาท
- ประกันสุขภาพตนเอง 25,000 บาท และเมื่อรวมกับประกันชีวิตทั่วไป หรือเงินฝากที่มีประกันชีวิตแล้วไม่เกิน 100,000 บาท
- ประกันสุขภาพบิดา-มารดา 15,000 บาท
- ประกันชีวิตบำนาญ ลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (RMF) ลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน ลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
- กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) 13,200 บาท
- กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) ลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
3) กลุ่มเกี่ยวกับการบริจาค
- บริจาคสนับสนุนการศึกษา การกีฬาเพื่อประโยชน์สาธารณะ และโรงพยาบาลรัฐ ลดหย่อนได้ 2 เท่าของที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน
- บริจาคเงินเพื่อสาธารณกุศล ลดหย่อนได้ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน
- เงินบริจาคแก่พรรคการเมือง 10,000 บาท
4) กลุ่มพิเศษ
- ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย 100,000 บาท
- ค่าธรรมเนียมจากการรับชำระเงินด้วยบัตรเดบิต ลดหย่อนเพิ่มได้อีกตามจ่ายจริง เมื่อมีเงินได้จากค่าเช่า ค่าวิชาชีพอิสระ ค่ารับเหมา ทั้งค่าแรงและค่าของ หรือเงินได้จากการประกอบธุรกิจอื่นๆ
การคำนวณอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เมื่อรู้แล้วว่าจะต้องนำค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอะไรบ้าง มาช่วยในการลดหย่อนภาษีของตนเองที่ต้องเสีย จากนั้นจึงเข้าสู่กระบวนการคำนวณตามสูตรการคำนวณ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งวิธีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีอยู่ 2 แบบ คือ
- (รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องจ่าย (วิธีนี้สำหรับรายได้ที่ไม่ถึง 1 ล้านบาทต่อปี)
หลังจากนำรายได้หักลบด้วยค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนแล้ว ให้นำยอดตัวเลขที่ได้มาคูณกับอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แบบขั้นบันไดดังนี้
- รายได้ (ยกเว้นเงินเดือน) x 0.5% (วิธีนี้จะใช้สำหรับรายได้ที่เกิน 1 ล้านบาทต่อปี) แล้วนำตัวเลขที่ได้จากการคำนวณทั้ง 2 แบบ มาเปรียบเทียบกัน โดยให้เลือกแบบที่ได้ตัวเลขมากกว่าไปยื่นภาษี
ยกตัวอย่าง กรณีที่รายได้เกิน 1,000,000 บาท
สมมุติมีรายได้ตลอดทั้งปี 2,000,000 บาท
(ตารางคำนวณแบบที่ 1) รายได้ทั้งปี 2 ล้านบาท หลังหัก ค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนแล้ว เหลือเงินได้สุทธิ 400,000 บาท
(ตารางคำนวณแบบที่ 2) รายได้ทั้งปี 2,000,000 x 0.5% = 10,000 บาท
เมื่อได้ตัวเลขทั้ง 2 แบบแล้ว ให้นำมาเปรียบเทียบกันว่า แบบไหนได้ตัวเลขมากกว่ากัน ซึ่งในตัวอย่างจะเห็นว่า กรณีที่ 1 มีจำนวนภาษีที่คำนวณออกมาแล้วมากกว่า (17,500 บาท) ดังนั้น ต้องใช้ตัวเลขภาษีในกรณีที่ 1 นำไปยื่นเสียภาษี
ทำบัญชีรายรับรายจ่ายอยู่เสมอ และเอกสารถูกต้องครบถ้วน
สำหรับพนักงานประจำ หรือผู้ที่มีรายได้แน่นอน การวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอาจจะไม่ยุ่งยากนัก แต่สำหรับพ่อค้าแม่ค้าทั้งที่ขายของออนไลน์และออฟไลน์ หรือเจ้าของธุรกิจที่เลือกจ่ายภาษีแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะยุ่งยากกว่า เนื่องจากรายรับรายจ่าย รวมถึงเอกสารต่างๆ ต้องทำเอง ยิ่งถ้าหากมีรายรับจ่ายสูงจะทำข้อมูลทางการเงินไม่สมบูรณ์ และเกิดปัญหาเมื่อยื่นภาษีอย่างแน่นอน
ดังนั้น เพื่อให้การยื่นและเสียภาษีไม่ผิดพลาด เจ้าของธุรกิจจำเป็นต้องทำบัญชีรายรับรายจ่ายอยู่เสมอ ลงบันทึกรายรับรายจ่ายอยู่ตลอด เพื่อให้ทราบรายได้ที่แท้จริง ละเอียดและครบถ้วน รวมถึงควรเก็บหลักฐานค่าใช้จ่ายต่างๆ ไว้ให้ครบ สามารถนำมาหักลบค่าใช่จ่ายแบบตามจริงได้ จะทำให้เสียภาษีน้อยกว่าหักแบบเหมา แต่เอกสารและหลักฐานต้องครบถ้วนถูกต้องจริง
ส่วนเจ้าของธุรกิจที่มีรายได้ค่อนข้างสูง รายรับรายจ่ายและเอกสารเยอะ การทำบัญชีรายรับรายจ่ายเองเริ่มไม่ง่ายอีกต่อไป และยังจะส่งผลทำให้ต้องเสียภาษีในอัตราสูงสุดถึง 35% ด้วย จึงมีแนวคิดอยากจดทะเบียนนิติบุคคล เพราะเสียภาษีอัตราสูงสุดอยู่ที่ 20% ของกำไรสุทธิ (ทางภาษี) แต่ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกมาก สามารถอ่านบทความ “ควรจดทะเบียนบริษัทหรือไม่ ตัดสินใจยังไง ที่นี่มีคำตอบ” เพื่อเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจอีกทางหนึ่ง
สรุป
เพียงเท่านี้ก็จะสามารถวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ว่า จะต้องเลือกค่าใช้จ่ายแบบไหน ค่าลดหย่อนอะไรบ้างที่นำมาหักลบได้ เพราะถ้าหากค่าใช้จ่ายสูงเมื่อหักลบแล้วรายได้ก็จะลดลง และหักลบด้วยค่าลดหย่อนต่างๆ ที่มี ก็จะทำให้เสียภาษีน้อยลงด้วยค่ะ
“รายได้สูง” ย่อมมาพร้อมกับ “ภาษี” ที่สูงตามไปด้วย วางแผนคำนวณภาษีด้วยตัวเอง แค่กรอกตัวเลขรายได้และค่าลดหย่อน ก็สามารถคลิกคำนวณได้อัตโนมัติ TRY FOR FREE