ตามหาพ่อค้าแม่ค้า online ที่อยากสัมมนาภาษี-บัญชี

เข้าร่วมไขความลับเรื่อง ภาษี-บัญชี รู้ทันสรรพากรภายใน 1 วัน
  ในงานสัมมนา “รู้ ครบ จบหมด บัญชีภาษี ธุรกิจขายของ online”

ค่าสัมมนา
4,900 บาท

ควรจดทะเบียนบริษัทหรือไม่ ตัดสินใจยังไง ที่นี่มีคำตอบ

ควรจดทะเบียนบริษัทหรือไม่

ผลพวงของการทำธุรกิจที่ทุกคนคาดหวังก็คือ “กำไร” เมื่อทำแล้วต้องมีกำไร ซึ่งมีหลายรายที่ล้มเลิกกิจการเนื่องจากไม่มีกำไรแถมขาดทุน แต่หลายรายก็สามารถดำเนินธุรกิจไปได้อย่างต่อเนื่อง มีกำไรมากน้อยขึ้นอยู่กับจังหวะของชีวิต ซึ่งในส่วนของผู้ที่มีรายได้และกำไรสูง ก็มักเลี่ยงไม่ได้ที่จะมีคนมาสะกิด หรือได้ยินคำถามที่ว่า ควรจดทะเบียนบริษัทหรือไม่

ทั้งนี้ การตัดสินใจว่า ควรจดทะเบียนบริษัทหรือไม่ นั้น จากที่เราได้เคยทิ้งท้ายไว้ในบทความ “รู้ก่อนวางแผน… ภาษีแม่ค้าออนไลน์ ยังไงให้เป๊ะ!” ในเรื่องของรูปแบบธุรกิจ ว่าการเลือกยื่นภาษีแบบบุคคลธรรมดากับนิติบุคคลแบบไหนดีกว่านั้น

จะให้ฟันธงว่า จดทะเบียนบริษัทให้อยู่ในรูปแบบนิติบุคคลดีที่สุด หรือมั่นใจมากว่า ไม่ต้องจดทะเบียนบริษัท อยู่แบบบุคคลธรรมดาดีกว่า ก็คงไม่ถูกต้องนัก เพราะปัจจัยในการหาคำตอบคำถามว่า ควรจดทะเบียนบริษัทหรือไม่ นั้นมีหลายข้อ ไม่ว่าจะเป็นความตั้งใจที่จะขยายกิจการ บริษัทจะต้องมีระบบการทำงานและเอกสารต่างๆที่ซับซ้อนมากกว่า และที่สำคัญที่สุดของการทำธุรกิจก็คือ  “กำไร”

สิ่งที่ช่วยตัดสินใจได้ว่า ควรจดทะเบียนบริษัทหรือไม่ แบบไหนได้กำไรมากกว่า ก็คือ!!!

“การนำปัจจัยต่างๆ ตั้งแต่รายได้ ค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อน ของกิจการ มาคำนวณภาษีเปรียบเทียบให้เห็นกันแบบชัดเจน ทั้งแบบบุคคลธรรมดาและแบบนิติบุคคล”

เพื่อให้มองเห็นภาพภาษีที่ต้องจ่าย และกำไรที่แท้จริงในตอนสุดท้าย ว่ารูปแบบไหนเจ้าของกิจการแต่ละรายจะได้ประโยชน์มากกว่ากัน และควรจดทะเบียนบริษัทหรือไม่

การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีวิธีการคำนวณ 2 แบบ คือ

– (รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องจ่าย หากมีรายได้ประจำช่องทางเดียว อัตราภาษีจะเป็นแบบอัตราขั้นบันได ตั้งแต่ 5 – 35%

– (รายได้ทุกประเภท-เงินเดือน) x 0.5% กรณีที่มีรายได้ช่องทางอื่น นอกจากรายได้ประจำหรือเงินเดือนตั้งแต่ 120,000 บาทขึ้นไป คิดภาษีแบบเหมา

โดยต้องคำนวณภาษี ทั้งแบบอัตราขั้นบันไดและอัตราเหมา เพื่อนำมาเทียบกันและเลือกยอดภาษีที่ต้องเสีย จากวิธีที่ยอดภาษีคิดมาแล้วสูงกว่า

หมายเหตุ : หากคำนวณด้วยวิธีคิดแบบเหมาแล้ว มีภาษีที่ต้องเสียทั้งสิ้นไม่เกิน 5,000 บาท จะได้รับการยกเว้นภาษีในวิธีนี้

 

จากรูปภาพตัวอย่างการคำนวณภาษีบุคคลธรรมดาด้านบน จะเห็นว่า มีรายได้จากการขายของออนไลน์ทั้งปี 2,225,000 บาท เลือกหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60% โดยในตัวอย่างมีค่าลดหย่อนตัวเองอย่างเดียวจำนวน 60,000 บาท ทำให้สุดท้ายมีภาษีที่คำนวณออกมาได้จำนวน 81,000 บาท

 

และวิธีที่สองที่คำนวณ คือ 0.5% ของเงินได้ก่อนหัก ค่าใช้จ่าย จะมีภาษีที่คำนวณได้ 11,125 บาท

ทั้งนี้ภาษีที่ต้องเสียให้แก่สรรพากรจะเลือกจากยอดภาษีที่สูงกว่า จากวิธีคำนวณ 2 แบบด้านบน ทำให้มียอดภาษีที่ต้องชำระทั้งปี เท่ากับ 81,000 บาท

การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล

การคำนวณภาษีเงินได้แบบนิติบุคคล สูตรการคำนวณคือ (รายได้ – ค่าใช้จ่าย) = กำไรสุทธิ แล้วนำกำไรสุทธิที่ได้มาคิดภาษีตามอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล

จากรายได้ตามตัวอย่างด้านบน ทั้งปีจำนวน 2,225,000 บาท ตัวอย่างการคำนวณภาษี ดังนี้

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ภาษีนิติบุคคล กรณีขายของรายได้เท่ากัน แต่สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ตามจริง และอัตราภาษีตามสิทธิประโยชน์ของบริษัทที่เข้าข่าย SME จะมีภาษีที่ต้องเสียอยู่แค่เพียง 3,750 บาทเท่านั้น

 

ควรจดทะเบียนบริษัทหรือไม่ รู้ข้อดี…ก่อนตัดสินใจ

นอกจากการคำนวณภาษีเพื่อเปรียบเทียบว่าควรจดทะเบียนบริษัทหรือไม่ ยังมีข้อดีของการจดทะเบียนบริษัท เพื่อใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจจดทะเบียนบริษัทดังนี้

1.จ่ายภาษีน้อยกว่าบุคคลธรรมดา เนื่องจากบุคคลธรรมดาจะคำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิ ตามอัตราภาษีขั้นบันไดสูงสุด 35% แต่ถ้าหากจดทะเบียนบริษัทจะคำนวณอัตราภาษีจากกำไรสุทธิสูงสุด 20%

2.ปีไหนธุรกิจขาดทุนก็ไม่ต้องเสียภาษี หากบริษัทนิติบุคคลเกิดการขาดทุนขึ้น บริษัทก็ไม่ต้องเสียภาษีประจำปีนั้นๆ และยังสามารถนำมาหักภาษีในอนาคตได้อีก 5 ปี ซึ่งต่างจากบุคคลธรรมดา แม้ว่าธุรกิจเกิดขาดทุน แต่ก็มีรายได้เข้ามา ซึ่งในทางภาษียังคงต้องหักค่าใช้จ่ายได้ตามอัตราเหมาจ่าย จึงต้องเสียภาษีแม้ว่าจะขาดทุนก็ตาม

3.มีความน่าเชื่อถือกว่า แน่นอนว่าเมื่ออยู่ในรูปแบบนิติบุคคล จะสร้างความน่าเชื่อถือเมื่อต้องไปพบลูกค้ามากว่ารูปแบบบุคคลธรรมดา การติดต่อซื้อขายก็มีความน่าเชื่อถือ ทำให้ลูกค้าตัดสินใจในการซื้อขายกับเราได้อย่างมั่นใจ สามารถปิดการขายได้รวดเร็วกว่า

4.ขยายธุรกิจได้ง่ายกว่า สามารถขยายธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว เพราะมีโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน หรือสินเชื่อเพื่อธุรกิจได้ง่าย และดอกเบี้ยต่ำ เพราะสถาบันทางการเงินมีความเชื่อมั่นในการปล่อยสินเชื่อให้นิติบุคคล มากกว่าบุคคลธรรมดา ที่ส่วนใหญ่จะไม่เข้าเกณฑ์การปล่อยเงินกู้เชิงพาณิชย์ หรือหากปล่อยกู้ก็ได้วงเงินน้อยกว่า

5.การจัดการบริหารเงินเป็นระบบกว่า ในทางกฎหมายเมื่ออยู่ในรูปแบบนิติบุคคล จำเป็นอย่างมากที่จะต้องแยกบัญชีส่วนตัวกับบัญชีธุรกิจออกจากกัน ทำให้ไม่เกิดความสับสนระหว่างเงินทั้งสองส่วน ต่างจากบุคคลธรรมดาหากไม่มีการจัดการเงินที่ดี อาจทำให้เกิดการผิดพลาดได้สูงมาก     

 

สรุป

เชื่อว่าหลักการนี้น่าจะพอเป็นแนวทางให้เจ้าของธุรกิจที่กำลังสับสนว่าควรจดทะเบียนบริษัทหรือไม่ สามารถนำไปคำนวณได้ไม่ยาก และประโยชน์ด้านอื่นๆ เพื่อใช้ในการตัดสินใจ แต่สิ่งที่สำคัญจริงๆ ก็คือ ข้อมูลของเจ้าของธุรกิจนั่นเอง ยิ่งมีข้อมูลมากเท่าไร ก็จะยิ่งนำมาคำนวณและหาคำตอบให้กับตนเองได้มากเท่านั้น ว่าควรจดทะเบียนบริษัทหรือไม่ แบบไหนดีกว่ากัน

ทั้งนี้ หากมองแค่ในมุมของการบริหารจัดการเงินและภาษีที่ต้องเสีย ในขณะที่กิจการมีรายได้และกำไรสูงขึ้นเรื่อยๆ ผลที่ตามมาจะไม่ใช่เรื่องเล่นๆ อีกต่อไป การจดทะเบียนบริษัทนิติบุคคล ย่อมถือเป็นทางออกที่เอื้อประโยชน์แก่ธุรกิจของคุณที่สุดค่ะ