ตามหาพ่อค้าแม่ค้า online ที่อยากสัมมนาภาษี-บัญชี

เข้าร่วมไขความลับเรื่อง ภาษี-บัญชี รู้ทันสรรพากรภายใน 1 วัน
  ในงานสัมมนา “รู้ ครบ จบหมด บัญชีภาษี ธุรกิจขายของ online”

ค่าสัมมนา
4,900 บาท

การบันทึกบัญชีต้นทุนการเกษตร ทำอย่างไร

การบันทึกบัญชีต้นทุนการเกษตร

การบันทึกบัญชีต้นทุนการเกษตร  …ปัจจุบันประเทศไทยเป็นประเทศที่ภาคเกษตรกรรมสามารถสร้างรายได้หลักให้กับประเทศได้อย่างต่อเนื่อง มีทรัพยากรและศักยภาพเพียงพอที่จะทำการเกษตรอย่างยั่งยืน ดังนั้นคุณภาพชีวิตของเกษตรกรก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน  ซึ่งสามารถเริ่มต้นได้จากสถานภาพทางการเงิน โดยมีการจัดระเบียบและวางแผนเรื่องการเงินอย่างเป็นระบบ  

ดังนั้น การบันทึกบัญชีต้นทุนการเกษตรเป็นการจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับทางด้านการเกษตรตั้งแต่กระบวนการเริ่มต้นการผลิตจนถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิตมาจำหน่าย เพื่อใช้ในการวางแผนค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งองค์ประกอบมีอะไรบ้างลองมาศึกษาข้อมูลตามรายละเอียดดังต่อไปนี้

การบันทึกบัญชีรับ-จ่าย…ตัวช่วยจัดระเบียบการเงิน

การบันทึกบัญชีต้นทุนการเกษตร เริ่มจากวิธีการลงบัญชีรับ-จ่าย ซึ่งบัญชีรายรับที่เกิดขึ้นในแต่ละวันของเกษตรกรในครัวเรือน สามารถทำได้โดยขั้นตอนแรกให้สร้างแบบฟอร์มขึ้นมาตามตัวอย่าง 

วัน เดือน ปี

รายการ

รายรับ

รวมรายรับ (รวม 1 ถึง 2)

ประกอบอาชีพ รายรับอื่นๆ

จากนั้นให้ลงบันทึกเขียน วัน เดือน ปี ที่มีรายการรับเงินและรายการจ่ายเงินเข้ามา ส่วนในช่องรายการให้เขียนรายละเอียดของการรับเงินและจ่ายเงินที่เกิดขึ้น และในช่องรายรับแบ่งเป็นรายรับประกอบอาชีพ และรายรับอื่นๆ ซึ่งในช่องรายรับประกอบอาชีพเป็นการเขียนจำนวนเงินที่ได้รับโดยเป็นเงินที่ประกอบอาชีพ เช่น ขายผักกาดขาว ผักบุ้ง คะน้า ถั่วผักยาว เป็นต้น ส่วนช่องรายรับอื่นๆ เป็นรายได้ที่รับมา เช่น เงินค่าจ้าง รับเงินกู้ยืม เป็นต้น และช่องสุดท้ายคือรวมรายรับ เขียนรวมรายรับทั้งหมดที่ได้รับมาทั้งหมด

ส่วนการบันทึกบัญชีรายจ่าย จะทำการลงบันทึกคล้ายๆ กับการบันทึกบัญชีรายรับ แต่จะมีความละเอียดมากกว่า ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายในการประกอบอาชีพ เช่น ค่าไถเตรียมดิน ค่าพันธุ์พืช ค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าจ้างแรงงาน ส่วนการลงทุนเครื่องจักรซึ่งเป็นการลงทุนที่สูงและสามารถใช้เครื่องจักรเหล่านี้ได้เป็นเวลานาน เช่น เครื่องสูบน้ำ เครื่องฉีดพ่นยา โดยนำรายจ่ายเหล่านี้มารวมกันเพื่อให้รู้ต้นทุนที่จะต้องจ่ายด้วย

เพียงแค่นี้ก็ทำให้ทราบถึงที่มาของรายได้และรายจ่ายที่เกษตรกรต้องวางแผนค่าใช้จ่ายให้ดีๆ เพื่อให้การเพาะปลูกดำเนินการไปถึงขั้นตอนการเก็บเกี่ยวผลผลิตเพื่อจำหน่ายต่อไป

การบันทึกบัญชีต้นทุนการเกษตร แบบตรงจุด…ช่วยควบคุมค่าใช้จ่าย

การบันทึกบัญชีต้นทุนการเกษตร หากเป็นต้นทุนผลิตจะแยกบันทึกบัญชีออกตามลักษณะต่างๆ ของต้นทุน เช่น วัตถุดิบ แรงงาน การผลิต เป็นต้น ถ้าหากในการเพาะปลูกนั้นจำเป็นต้องใช้วัตถุดิบหลายชนิดก็ควรแยกบัญชีต้นทุนออกตามชนิดนั้นๆ ด้วย 

ทั้งนี้จะมีต้นทุนในส่วนของค่าเช่า ค่าประกันภัย ค่าบำรุงรักษา ค่าเสื่อมราคา ค่าวัสดุต่างๆ เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นต้องใช้การบันทึกบัญชีต้นทุนการเกษตรสำหรับรายการต่างๆ ที่ใช้อยู่เป็นประจำ สำหรับการบันทึกต้นทุนสามารถแจกแจงรายละเอียดได้ดังนี้ 

1.บัญชีต้นทุนวัตถุดิบ สำหรับบันทึกรับเข้าและเบิกวัตถุดิบไปใช้โดยมีบัญชีแยกประเภทย่อยสำหรับวัตถุแต่ละชนิด

2.บัญชีต้นทุนค่าแรงงาน ใช้บันทึกค่าแรงงานของคนงานแต่ละคน

3.บัญชีต้นทุนการผลิต สำหรับบันทึกค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ใช้ในการผลิต ปกติเมื่อเกิดรายจ่ายขึ้นจะบันทึกไว้ในบัญชีค่าใช้จ่ายประเภทนั้นๆ

ในส่วนของการจัดประเภทของต้นทุนเพื่อการวางแผน ควบคุม และตัดสินใจลงทุน ซึ่งต้นทุนที่เกษตรกรใช้ในการกำหนดต้นทุนนั้นอาจจะแตกต่างกันไป ดังนั้นต้นทุนที่ใช้ในการควบคุมตามวัตถุประสงค์สามารถจำแนกออกได้ดังนี้ 

ต้นทุนผันแปร เป็นต้นทุนที่มีต้นทุนรวมเปลี่ยนแปลงตามสัดส่วนของการเปลี่ยนแปลงในระดับปริมาณการผลิตในขณะที่ต้นทุนต่อหน่วยจะคงที่ เท่ากันทุกๆ หน่วย โดยทั่วไปแล้วต้นทุนผันแปรสามารถที่จะควบคุมได้ เช่น ถ้ากิจการใช้วัตถุดิบทางตรงในการผลิตหน่วยละ 100 บาท ซึ่งถือเป็นต้นทุนผันแปร ดังนั้นถ้ากิจการผลิตสินค้า 1 หน่วย จะมีต้นทุน 100 บาท ถ้าผลิต 2 หน่วย จะมีต้นทุนทั้งสิ้น 200 บาท และถ้าผลิต 5 หน่วย จะมีต้นทุนผันแปรทั้งสิ้น 500 บาท ส่วนต้นทุนผันแปรต่อหน่วย คือ หน่วยละ 100 บาท ซึ่งไม่มีการเปลี่ยนแปลง 

ต้นทุนคงที่ เป็นต้นทุนที่มีพฤติกรรมคงที่ หมายถึงต้นทุนรวมที่จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามระดับการผลิตระดับหนึ่งแต่ต้นทุนต่อหน่วยจะเปลี่ยนแปลงในทางลดลงตามปริมาณการผลิตที่มากขึ้น

ต้นทุนที่ควบคุมได้ เป็นต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่สามารถระบุได้ หรือกำหนดได้ว่าเกษตรกรท่านใดท่านหนึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง หรือมีอำนาจหน้าที่ หรือมีความสามารถที่จะทำให้ต้นทุนจำนวนนั้นเพิ่มขึ้นหรือลดลงจากการตัดสินใจของเกษตรกรท่านนั้น เช่น จำนวนการใช้วัตถุดิบ ค่าแรงงาน เป็นต้น

ดังนั้นการควบคุมหรือลดต้นทุนต้องใช้ระบบการบัญชีต้นทุนที่ค่อนข้างละเอียด โดยต้องรู้ว่าต้นทุนที่เกิดขึ้นมาจากจุดไหน เพิ่มขึ้นเพราะอะไร และที่สำคัญเท่าๆ กันก็คือ ต้องรู้จำนวนต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง และจำนวนต้นทุนที่เหมาะสมที่ควรเกิดขึ้น ถ้าไม่มีข้อมูลทั้งหมดดังกล่าวก็ไม่อาจกล่าวได้ว่าระบบบัญชีต้นทุนให้ผลดีต่อการควบคุมต้นทุนได้ เช่น การใส่สารเคมีในการเพาะปลูก  ต้องใส่เพิ่มขึ้นเพราะอะไร เป็นต้น  

 

โดยสรุป การบันทึกบัญชีต้นทุนการเกษตร สามารถควบคุมรายจ่ายอย่างสมเหตุสมผล เนื่องจากตามปกติมักจะมีต้นทุนเกิดขึ้นจำนวนมาก หากไม่มีการควบคุมที่ดีแม้มีข้อจำกัดต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น การควบคุมต้นทุนเป็นหน้าที่ที่สำคัญของเกษตรกร ซึ่งการควบคุมต้นทุนนอกจากจะต้องอาศัยระบบการบันทึกบัญชีต้นทุนแล้ว ยังต้องอาศัยดุลยพินิจทางด้านการบริหารงานของเกษตรกรเข้ามาช่วยด้วย หากเกษตรกรท่านไหนที่มีกำลังการผลิตเป็นจำนวนมาก และไม่สามารถควบคุมการทำบัญชีได้เองแนะนำให้ปรึกนักบัญชีที่มีคุณภาพและเชื่อถือได้เพื่อจะได้ช่วยให้การทำบัญชีเป็นเรื่องง่ายยิ่งขึ้น