ตามหาพ่อค้าแม่ค้า online ที่อยากสัมมนาภาษี-บัญชี

เข้าร่วมไขความลับเรื่อง ภาษี-บัญชี รู้ทันสรรพากรภายใน 1 วัน
  ในงานสัมมนา “รู้ ครบ จบหมด บัญชีภาษี ธุรกิจขายของ online”

ค่าสัมมนา
4,900 บาท

ความจำเป็นเกี่ยวกับระบบ บัญชีการเกษตร

บัญชีการเกษตร

ปกติผู้ประกอบการธุรกิจการเกษตรไม่ค่อยมีการรวบรวมและจดบันทึกรายการทางบัญชีมากนัก ส่วนใหญ่จะทำเป็นระบบซื้อมาขายไปจนทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับเงินทุนหมุนเวียนที่ขาดสภาพคล่อง แต่ยังไม่สายถ้าหากจะปรับเปลี่ยนระบบให้เข้าที่เข้าทางด้วยการจัดทำระบบ บัญชีการเกษตร 

โดยการใช้ประโยชน์ทางบัญชีมาช่วยในการวางแผน ควบคุม และตัดสินใจดำเนินงาน จะทำให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุน ซึ่งการใช้ประโยชน์ข้อมูลทางบัญชีในธุรกิจการเกษตร สามารถช่วยให้กิจการมีรายได้รายเดือน รายปีที่ชัดเจน แล้วจะมีวิธีการจัดทำระบบบัญชีการเกษตรอย่างไรบ้าง ลองมาศึกษาไปพร้อมๆ กันได้เลย 

หลักการทำ บัญชีการเกษตร เบื้องต้น 

หลักการของระบบ บัญชีการเกษตร หรือการจดบันทึกข้อมูล โดยเฉพาะเมื่อมีรายได้และรายจ่ายที่ไม่แน่นอนแล้ว การจัดทำบัญชียิ่งมีความจำเป็นและเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจการเกษตร มีการวางแผนค่าใช้จ่าย ติดตามรายรับ และควบคุมการผลิต ตลอดจนทราบค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เพื่อลดต้นทุนในส่วนนี้ได้เป็นอย่างดี

สำหรับการบันทึก บัญชีการเกษตร แบบง่ายๆ โดยส่วนใหญ่จะใช้เป็นระบบเงินสดในการใช้จ่ายหมุนเวียนในแต่ละรอบบัญชีเท่านั้น ซึ่งค่าใช้จ่ายในการปลูกพืช และเลี้ยงสัตว์จะไม่มีการปันส่วนค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นระหว่างการปลูกพืช และเลี้ยงสัตว์ แต่เมื่ออาชีพการเกษตรได้มีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ โดยมีการแข่งขันกันทางตลาดมากขึ้น จึงส่งผลให้เจ้าของธุรกิจการเกษตรสนใจในการทำบัญชีการเกษตรกันมาก มีการคิดคำนวณราคาขาย ต้นทุนของผลิตภัณฑ์หลัก ผลพลอยได้จากผลิตภัณฑ์หลัก  ดังนั้นจึงต้องมีหลักการทำบัญชีการเกษตรโดยหลักการทำบัญชีการเกษตรที่ดำเนินการโดยเจ้าของเพียงคนเดียวจะเป็นการจดบันทึกบัญชี จึงทำได้ง่ายกว่าในรูปแบบบริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด 

ในกรณีนี้ขอกล่าวถึงการทำเกษตรโดยมีเจ้าของเพียงคนเดียวก่อนว่าจะมีการบันทึกบัญชีการเกษตรในรูปแบบไหนดี ซึ่งจากข้อมูลที่ทราบเบื้องต้น เช่น ค่าเมล็ดพันธุ์พืช ค่าจ้างปรับพื้นที่ยกร่อง ค่าขนส่งเพื่อนำไปจำหน่ายตามตลาดกลาง และอื่นๆ อีกมากมาย สามารถสรุปได้ดังนี้

ตัวอย่างแนวปฏิบัติในการบันทึกบัญชีการเกษตร (กรณีทำคนเดียวในครัวเรือน)

1.ต้นทุนคงที่ คือ ต้นทุนที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง หรือเป็นต้นทุนที่เกิดจากปัจจัยการผลิตที่คงที่ เช่น เมื่อเช่าที่ดินทำการเกษตรไม่ว่าจะได้ผลผลิตมากหรือน้อยก็ยังคงต้องเสียค่าเช่าคงที่เสมอ ภาษีที่ดิน เงินเดือนตัวเอง ฯลฯ

ต้นทุนผันแปร คือ ต้นทุนที่เกิดจากปัจจัยผันแปรการผลิต  เช่น ค่าน้ำมัน ค่าขนส่ง เมล็ดพันธุ์พืชที่อาจปรับราคาขึ้นลงตามราคาตลาด ปุ๋ย ยา สารเคมี สิ่งเหล่านี้หากใส่เป็นจำนวนมากต้นทุนก็จะเพิ่มขึ้น หรือหากใช้ในปริมาณที่น้อยต้นทุนก็จะลดลง ฯลฯ

2.กำไรขาดทุน ปัจจุบันจะยึดราคาขาย ณ ตลาดกลางพืชผักการเกษตรที่เป็นศูนย์กลางการรับซื้อขนาดใหญ่เป็นหลัก

3.การแสดงรายการในงบการเงิน โดยแสดงข้อมูลทางการเงินของธุรกิจการเกษตรในรอบระยะบัญชีที่ผ่านมา

การจัดทำบัญชีการเกษตรดังแนวทางด้านบนนี้เป็นเพียงขั้นแรกที่จะทำให้เกษตรทราบถึงต้นทุน กำไรขาดทุน งบการเงินต่างๆ ในรอบระยะเวลาบัญชีอาจจะกำหนดเป็น 1 เดือน 3 เดือน 1 ปี หรือตามอายุของพืชชนิดนั้นๆ ก็ได้ 

เกษตรกรกับภาษีบุคคลธรรมดา

เกษตรกรรู้หรือไม่ว่า! ถ้าหากมีรายได้จากการขายสินค้าทางด้านการเกษตร จำเป็นต้องเสียภาษีตามมาตรา 40(8) เงินได้จากธุรกิจการเกษตรที่ได้มาโดยมุ่งเน้นการค้าหรือหาผลกำไร แห่งประมวลรัษฎากร ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป โดยปกติจะจัดเก็บเป็นรายปีจากรายได้ในปีนั้นๆ ซึ่งต้องจ่าย 2 รอบด้วยกัน คือ 

– รอบที่ 1 สำหรับผู้มีรายได้ตั้งแต่เดือนมกราคม-มิถุนายน สามารถยื่นภาษี (ภ.ง.ด.94) ได้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-กันยายน 

– รอบที่ 2 ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำรายได้ตลอดทั้งปีภาษี ไปคำนวณยื่นแบบแสดงรายการภาษี (ภ.ง.ด.90) ภายในเดือนมกราคม-เดือนมีนาคม ในปีถัดไป 

ทั้งนี้ เงินได้จากการทำธุรกิจด้านเกษตร กรมสรรพากรจะคิดภาษีจากเกษตรกร หลักการคือ รายได้หักด้วยค่าใช้จ่าย โดยทำการหักค่าใช้จ่ายแบบเหมารวมได้ถึง 60% กับการหักค่าใช้จ่ายตามจริง โดยเกษตรกรสามารถเลือกหักได้ ถ้าหากเลือกหักค่าใช้จ่ายตามจริง เกษตรกรจะต้องมีใบกำกับภาษี ใบเสร็จรับเงิน หรือใบแทนใบเสร็จรับเงิน ที่สามารถแสดงชื่อที่อยู่ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายชัดเจน จึงสามารถนำมาเป็นหลักฐานทางภาษีได้

ธุรกิจการเกษตรนั้นเป็นหัวใจหลักของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย ดังนั้นการทำบัญชีการเกษตรเป็นการนำหลักการทางบัญชีมาใช้ในการจดบันทึกรายได้ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเพื่อสะท้อนถึงคุณภาพชีวิตของเกษตรกร และเพื่อนำไปวางแผนในอนาคตได้ ซึ่งเศรษฐกิจในปัจจุบันนั้นมีผลกระทบอย่างมากต่อต้นทุนการผลิตของเกษตรกร หากเกษตรกรไม่มีการวางแผนระบบการเงินไว้อย่างรัดกุมแล้วจะทำให้เกษตรกรเกิดภาวะขาดทุนต่อเนื่องและมีหนี้สินเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย 

จากข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้น มีบทสรุปดังนี้ ประโยชน์จากการทำบัญชีการเกษตร ทำให้เกษตรกรทราบถึงรายได้ที่ได้รับมา ต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง และสามารถเห็นกำไรหรือขาดทุนได้ชัดเจน ซึ่งเกษตรกรจะสามารถปลูกพืชในช่วงที่ราคาขายสูงๆ ได้โดยการปลูกพืชนอกฤดูเป็นหลักเพื่ออัพราคาขายและให้ได้ผลกำไรสูง และสิ่งที่ตามมาเมื่อมีรายได้สูงๆ คือการเสียภาษี ซึ่งถ้าเกษตรกรมีรายได้ที่สูง และมีลูกจ้างหลายคน หรืออยากทำในรูปแบบบริษัท แนะนำให้เกษตรกรปรึกษานักบัญชีที่มีคุณภาพเชื่อถือได้ เพื่อร่วมหาคำตอบในการทำบัญชีและเสียภาษีที่ดีกว่าเดิม