ตามหาพ่อค้าแม่ค้า online ที่อยากสัมมนาภาษี-บัญชี

เข้าร่วมไขความลับเรื่อง ภาษี-บัญชี รู้ทันสรรพากรภายใน 1 วัน
  ในงานสัมมนา “รู้ ครบ จบหมด บัญชีภาษี ธุรกิจขายของ online”

ค่าสัมมนา
4,900 บาท

ภาษีร้านกาแฟ …ที่เจ้าของธุรกิจควรรู้ก่อนเปิดร้าน 

ภาษีร้านกาแฟ …ร้านกาแฟเป็นอีกธุรกิจในฝันของใครหลายๆ คน แถมยังเป็นธุรกิจที่มีคู่แข่งทางการค้าจำนวนมากอีกด้วย สำหรับกลุ่มลูกค้าจะมีทุกช่วงวัยซึ่งต่างก็ชื่นชอบพร้อมเทคะแนนให้ร้านกาแฟเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจที่เลิศที่สุด ซึ่งนิยมมานั่งสบายๆ จิบกาแฟพบปะเพื่อนๆ หรือพูดคุยงานได้ตามอัธยาศัย บวกกับการจัดแต่งแต้มร้านสวยๆ สร้างอารมณ์ให้ลูกค้ารู้สึกเพลิดเพลินอีกด้วย

แต่ในมุมของเจ้าของร้านกาแฟ โดยเฉพาะที่เปิดแบบคาเฟ่ด้วยนั้น ก่อนที่จะเปิดร้านได้ เจ้าของร้านจะต้องฝ่าฝันและเรียนรู้อะไรมากมาย ไม่ว่าจะเป็นต้นทุน ทำเล การออกแบบร้าน โลโก้ รวมถึงเรื่อง ภาษีร้านกาแฟ เจ้าของร้านกาแฟควรทำการศึกษาให้ถ่องแท้ก่อนเปิดร้านว่าหลักๆ ต้องทำอะไรบ้าง

    

เปิดร้านเล็กๆ ก็ต้องยื่นภาษีบุคคลธรรมดา

หลังจากเจ้าของร้านกาแฟตัดสินใจเริ่มทำธุรกิจ อันดับต้นๆ ที่เจ้าของธุรกิจต้องคำนึงถึงคือ เรื่องภาษีร้านกาแฟ หากเจ้าของร้านกาแฟมีรายรับเข้ามาถึงเกณฑ์ก็จะต้องยื่นภาษีบุคคลธรรมดา ซึ่งร้านขายกาแฟจัดอยู่เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8 หรือมาตรา 40(8) สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 2 แบบ คือแบบเหมา 60% หรือเลือกหักตามจริง โดยจะมีขั้นตอนการคำนวณก่อนยื่นแบบดังนี้

การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สามารถคำนวณได้ 2 แบบด้วยกันคือ

1.วิธีคำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิ สูตรคือ   

(รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องจ่าย

นำมาเปรียบเทียบอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามอัตราภาษีก้าวหน้าหรือแบบขั้นบันได ดังนี้

เงินได้สุทธิ 0 – 150,000 บาท (ได้รับการยกเว้นภาษี)

เงินได้สุทธิ 150,000 – 300,000 บาท (อัตราภาษี 5%)

เงินได้สุทธิ 300,001 – 500,000 บาท (อัตราภาษี 10%)

เงินได้สุทธิ 500,001 – 750,000 บาท (อัตราภาษี 15%)

เงินได้สุทธิ 750,001 – 1 ล้านบาท (อัตราภาษี 20%)

2.การคำนวณภาษีจากเงินได้พึงประเมิน สูตรคือ

 

*รายได้ (ยกเว้นเงินเดือน) x 0.5% = ภาษีที่ต้องเสีย 

ทั้งนี้ กรณีคำนวณภาษีตามวิธีที่ 2 แล้วมีภาษีชำระไม่เกิน 5,000 บาท จะได้รับยกเว้นภาษีจากการคำนวณตามวิธีที่ 2 แต่ยังต้องเสียภาษีตามวิธีที่ 1  

* เงินได้ประเภทที่ 2 – 8 ตั้งแต่ 120,000 บาทขึ้นไป 

พอทราบหลักการเบื้องต้นแล้วว่าควรยื่นแบบในอัตราภาษีที่เท่าไหร่ เจ้าของร้านกาแฟลองคำนวณดูกันได้ ข้อแนะนำไม่ว่าจะเสียหรือไม่เสียภาษีก็ตามเจ้าของร้านกาแฟควรยื่นแบบให้ถูกต้องเพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบจากกรมสรรพากร

 

เมื่อร้านกาแฟจดเป็นบริษัท ต้องจัดการภาษีร้านกาแฟแบบนิติบุคคล

หากธุรกิจร้านกาแฟเดินทางมาถึงในจุดที่คุ้มทุน มีกำไร แล้วเจ้าของร้านกาแฟมีความประสงค์จะขยับขยายร้านให้ใหญ่ขึ้นอยากจะจดเป็นรูปแบบบริษัท เพื่อเพิ่มความมั่นคงทางธุรกิจ ซึ่งการจะเปิดเป็นบริษัททางด้านเจ้าของร้านกาแฟต้องทราบเรื่องภาษีเงินได้นิติบุคคลว่ามีองค์ประกอบอะไรบ้าง เช่น หลักการคำนวณภาษีนิติบุคคลจะใช้สูตรคือ 

(รายได้ – ค่าใช้จ่าย) = กำไรสุทธิ 

แล้วนำกำไรสุทธิที่ได้มาเปรียบเทียบกับอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่ทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท + รายได้ทั้งปีไม่เกิน 30 ล้านบาท ดังนี้

กำไร 300,000 บาทแรก                =          ยกเว้นภาษี

กำไร 300,001 – 3 ล้าน                 =          ภาษี 15%

กำไรมากกว่า 3 ล้านบาทขึ้นไป       =          ภาษี 20%

แต่ถ้าไม่เข้าเกณฑ์ดังกล่าว ให้จัดอยู่ในอัตราภาษีเท่ากับ 20% ตั้งแต่กำไรบาทแรก

 นอกจากนี้ยังต้องจัดการเรื่องเอกสารรายรับรายจ่าย การทำบัญชี งบการเงินมีขั้นตอนอย่างไร ซึ่งเจ้าของร้านกาแฟสามารถศึกษาได้ที่นี่ ซึ่งจะทำให้เจ้าของร้านกาแฟสามารถใช้เป็นตัวช่วยในการตัดสินใจ ว่าจะจัดระบบการทำบัญชีและยื่นภาษีเองดีหรือไม่ เนื่องจากการทำบัญชีค่อนข้างมีความละเอียด อีกทั้งต้องมีนักบัญชีที่มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนดในการจัดทำบัญชีด้วย หรือจะจ้างสำนักงานบัญชีทำรายเดือนเข้ามาช่วยเหลือดีกว่า ขึ้นอยู่ที่ดุลพินิจของเจ้าของธุรกิจตัดสินใจ

 

ภาษีป้ายเกี่ยวข้องกับภาษีร้านกาแฟยังไง

เมื่อมีร้านกาแฟสวยๆ แล้ว ทำเลดีๆ แล้ว ถ้าจะไม่มีป้ายและโลโก้ร้านก็จะดูไม่ครบองค์ประกอบของร้านเท่าไหร่นัก และถ้ามีป้ายมีโลโก้ ทางเจ้าของร้านก็จำเป็นต้องเสียภาษีป้าย อีกหนึ่งภาษีร้านกาแฟซึ่งจะจ่ายเพียงปีละ 1 ครั้ง และต้องไปยื่นชำระภายในเดือนมีนาคม ของทุกๆ ปี ซึ่งเจ้าของร้านสามารถแจ้งได้ที่สำนักงานที่เราแจ้งเปิดร้านได้เลย หากไม่ได้ยื่นภาษีป้าย จะโดนค่าปรับเพิ่มขึ้น 10% ของค่าภาษีป้ายที่ต้องเสีย หรือหากจ่ายล่าช้า จะโดนค่าปรับ 2% 

แล้วทราบหรือไม่ว่าภาษีป้ายคิดยังไง แบบไหนเสียเท่าไหร่ ลองมาดูไปพร้อมๆ กัน ตามข้อมูลที่จะนำเสนอต่อจากนี้

  • ป้ายที่มีตัวอักษรไทยล้วน
      1. ป้ายที่มีข้อความที่เคลื่อนที่หรือเปลี่ยนเป็นข้อความอื่นได้ อัตราภาษีป้าย 10 บาท ต่อขนาดป้าย 500 ตารางเซนติเมตร
      2. ป้ายติดทั่วไปที่นอกเหนือจากข้อ 1.1 อัตราภาษีป้าย 5 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร
  • ป้ายที่มีตัวอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศ และ/หรือปนกับภาพ และ/หรือเครื่องหมายอื่น
      1. ป้ายที่มีข้อความ เครื่องหมาย หรือภาพที่เคลื่อนที่ หรือเปลี่ยนเป็นข้อความ เครื่องหมาย หรือภาพอื่นใด อัตราภาษีป้าย 52 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร 
      2. ป้ายติดทั่วไปที่นอกเหนือจากข้อ 2.1 อัตราภาษีป้าย 26 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร
  • ป้ายที่ไม่มีตัวอักษรไทยไม่ว่าจะมีภาพหรือเครื่องหมายใดๆ หรือไม่ และป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วน หรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ

3.1 ป้ายที่มีข้อความ เครื่องหมาย หรือภาพที่เคลื่อนที่ หรือเปลี่ยนเป็นข้อความ เครื่องหมาย หรือภาพอื่นได้ อัตราภาษีป้าย 52 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร 

 

กล่าวโดยสรุป ธุรกิจร้านกาแฟเป็นธุรกิจที่ดูเหมือนเริ่มทำได้ง่ายๆ ไม่มีอะไรซับซ้อนหรือยุ่งยาก แต่ถ้ามาลองศึกษาข้อมูลดูจะเห็นว่ามีรายละเอียดที่เราไม่รู้อีกมาก โดยเฉพาะเรื่องภาษีร้านกาแฟอย่างเช่นภาษีบุคคลธรรมดา ภาษีนิติบุคคล และภาษีป้าย ซึ่งเจ้าของธุรกิจมักหลงลืมไม่ได้ให้ความสำคัญ 

ดังนั้น สิ่งเหล่านี้ถือเป็นก้าวแรกของการทำธุรกิจเพื่อต่อยอดเตรียมความพร้อมรองรับการเติบโตของร้านกาแฟในอนาคตต่อไปได้