ตามหาพ่อค้าแม่ค้า online ที่อยากสัมมนาภาษี-บัญชี

เข้าร่วมไขความลับเรื่อง ภาษี-บัญชี รู้ทันสรรพากรภายใน 1 วัน
  ในงานสัมมนา “รู้ ครบ จบหมด บัญชีภาษี ธุรกิจขายของ online”

ค่าสัมมนา
4,900 บาท

ทะเบียนพาณิชย์ กับ ทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ต่างกันอย่างไร

ทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

 

ทะเบียนพาณิชย์ คือ ทะเบียนที่คนที่ค้าขายที่มีหน้าร้านต้องจดตามที่พระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 กำหนด แต่ปัจจุบันมีร้านค้าออนไลน์เกิดขึ้นมากมาย ต่อมาจึงได้มีการจดทะเบียนธุรกิจอีกรูปแบบหนึ่งเกิดขึ้น นั่นคือ ทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

 

 

 

 

 

 

 

ทะเบียนพาณิชย์ กับ ทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

  • ทะเบียนพาณิชย์ เป็นการจดทะเบียนร้านค้าสำหรับบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ที่ทำธุรกิจค้าขายทุกประเภทและมีหน้าร้าน
  • ทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นการจดทะเบียนพาณิชย์สำหรับบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ที่ทำธุรกิจออนไลน์มีร้านเป็นของตัวเอง

ทะเบียนพาณิชย์

การจดทะเบียนพาณิชย์ จะเป็นเครื่องการันตรีความน่าเชื่อถือให้กับผู้ประกอบการค้าขาย ซึ่งใช้กับธุรกิจค้าขายขนาดเล็ก ทำกิจการที่มีเจ้าของเพียงคน

 

เดียว ทำการค้าขายแบบง่ายไม่ซับซ้อน หรือนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศมาตั้งสำนักงานสาขาในประเทศไทย โดยมีทั้งธุรกิจที่บังคับต้องจดทะเบียนพาณิชย์ และที่ได้รับการยกเว้นดังนี้      

ธุรกิจที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์

สำหรับบุคคลธรรมดาที่เป็นเจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วนสามัญ และนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศมาตั้งสำนักงานสาขาในประเทศไทย ที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ได้แก่

  1. ธุรกิจเกี่ยวกับโรงสีข้าวและโรงเลื่อยที่ใช้เครื่องจักร
  2. ธุรกิจขายสินค้าอย่างเดียวหรือหลายอย่างที่ขายได้ 20 บาทขึ้นไปต่อวัน หรือมีสต็อกสินค้าไว้ขายรวมมูลค่าทั้งหมดเป็นเงิน 500 บาทขึ้นไป
  3. นายหน้าหรือตัวแทนขายที่ทำการเกี่ยวกับสินค้าอย่างเดียวหรือหลายอย่าง และสินค้านั้นมีมูลค่ารวมทั้งหมดเป็นเงิน 20 บาทขึ้นไปต่อวัน
  4. ธุรกิจหัตถกรรมหรืออุตสาหกรรมอย่างเดียวหรือหลายอย่าง ที่ขายสินค้าที่ผลิตได้ 20 บาทขึ้นไปต่อวัน หรือวันหนึ่งวันใดมีสินค้าที่ผลิตรวมมูลค่าทั้งหมด 500 บาทขึ้นไป 
  5. ธุรกิจขนส่งทางทะเล ขนส่งโดยเรือกลไฟหรือเรือยนต์ประจำทาง รถไฟ รถราง รถยนต์ประจำทาง การขายทอดตลาด การรับแลกเปลี่ยน หรือซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การซื้อหรือขายตั๋วเงิน การธนาคาร การโพยก๊วน การทำโรงรับจำนำและการทำโรงแรม การรับซื้อขายที่ดิน การให้กู้ยืมเงิน
  6. ธุรกิจขาย ให้เช่า ผลิต หรือรับจ้างผลิต แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดิทัศน์ แผ่นวีดิทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่นวีดิทัศน์ระบบดิจิตอลเฉพาะที่เกี่ยวกับบันเทิง
  7. ธุรกิจให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้อินเตอร์เน็ต
  8. ธุรกิจขายอัญมณี หรือเครื่องประดับที่ประดับด้วยอัญมณี
  9. ธุรกิจให้บริการฟังเพลงและร้องเพลงคาราโอเกะ
  10. ธุรกิจให้บริการเครื่องเล่มเกม
  11. ธุรกิจให้บริการตู้เพลง
  12. ธุรกิจโรงงานแปรสภาพ แกะสลักและงานหัตถกรรมจากงาช้าง การค้าปลีกและค้าส่งงาช้างและผลิตภัณฑ์จากงาช้าง

ธุรกิจที่ได้รับ “ยกเว้น” จดทะเบียนพาณิชย์  

ทั้งนี้ บุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด และบริษัทมหาชนจำกัด ที่ได้รับการยกเว้นจดทะเบียนพาณิชย์ ได้แก่

  1. ธุรกิจค้าเร่ แผงลอย
  2. ธุรกิจเพื่อการบำรุงศาสนาหรือเพื่อการกุศล
  3. ธุรกิจของนิติบุคคลที่มีพระราชบัญญัติ หรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น
  4. ธุรกิจของกระทรวง ทบวง กรม
  5. ธุรกิจของมูลนิธิ สมาคม สหกรณ์
  6. ธุรกิจที่กลุ่มเกษตรกร
  7. ธุรกิจที่ได้รับการยกเว้นตามที่รัฐมนตรีได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ได้แก่ บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญ ที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่ยกเว้นนิติบุคคลในข้อ 6-12 ของธุรกิจที่บังคับให้จดทะเบียนพาณิชย์ และข้อ 1-4 ของธุรกิจที่บังคับให้จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ยังคงต้องจดทะเบียนพาณิชย์ และทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อยู่

ทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นการจดทะเบียนธุรกิจสำหรับบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ที่ทำธุรกิจออนไลน์ มีการชำระเงินในรูปแบบออนไลน์ตามแพลตฟอร์มนั้นๆ  และมีร้าน เพจ เว็บไซต์เป็นของตัวเอง จะต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งธุรกิจที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และที่ได้รับการยกเว้นได้แก่

ธุรกิจที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

  1. ธุรกิจซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หรือขายของ-ออนไลน์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ ทั้งทางเว็บไซต์ เฟชบุ๊ก เพจ ฯลฯ
  2. บริการอินเตอร์เน็ต
  3. ให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย
  4. เป็นตลาดกลางในการซื้อขายหรือบริการสินค้าออนไลน์

ธุรกิจที่ได้รับ “ยกเว้น” จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ในกรณีที่ธุรกิจซื้อขายผ่านระบบออนไลน์ แต่ถ้าไม่สามารถชำระเงินในรูปแบบออนไลน์ตามแพลตฟอร์มนั้นๆ ได้ ธุรกิจออนไลน์เหล่านี้สามารถจดทะเบียนพาณิชย์ธรรมดาได้ หรือถ้าหากเป็นการขายสินค้าผ่าน Shopee LAZADA ฯลฯ ก็ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์   

วิธีการจดทะเบียนพาณิชย์ และทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 

วิธีการจดทะเบียนพาณิชย์มีดังนี้

  1. เตรียมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของธุรกิจ
  2. เตรียมแบบคำขอจะทะเบียนพาณิชย์ แบบ ทพ.
  3. แผนที่แสดงสถานที่ตั้งร้าน
  4. หากเป็นนิติบุคคลให้เตรียมหนังสือรับรองบริษัท
  5. เตรียมเงินจำนวน 50 บาท
  6. หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ หรือสัญญาเช่า (กรณีเจ้าของธุรกิจไม่ใช่เจ้าของสถานที่)
  7. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของกรรมสิทธิ์ (กรณีเจ้าของธุรกิจไม่ใช่เจ้าของสถานที่)
  8. สำเนาหนังสืออนุญาต หรือหนังสือรับรองให้เป็นผู้จำหน่ายจากเจ้าของลิขสิทธิ์ (สำหรับธุรกิจข้อ 6 ทะเบียนพาณิชย์)
  9. หลักฐานแสดงจำนวนเงินทุน ยกเว้นนิติบุคคล (สำหรับธุรกิจข้อ 8 ทะเบียนพาณิชย์)

ส่วนวิธีการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์นั้น ทำเหมือนการจดทะเบียนพาณิชย์ แต่เพิ่มเอกสารดังนี้

  1. เอกสารประกอบการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (เอกสารแนบแบบ ทพ.)
  2. ปริ๊นต์หน้าแรกของร้านค้าออนไลน์ เอกสารเกี่ยวกับเว็บไซต์ เช่น วิธีการสั่งซื้อ วิธีการชำระเงิน วิธีการส่งสินค้า

โดยสามารถยื่นจดทะเบียนได้ที่สำนักงานเขต สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักการคลัง เทศบาล อบต. ที่ธุรกิจของเจ้าของธุรกิจตั้งอยู่เท่านั้น หรือใช้บริการสำนักงานบัญชีให้ดำเนินการขอจดทะเบียนให้ได้เช่นกัน 

จดบริษัทแล้ว ยังต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ทะเบียนการค้าอีกหรือไม่

หากจดทะเบียนบริษัทเป็นนิติบุคคล ไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ แต่ถ้าจดบริษัททำการค้าขายผ่านออนไลน์ มีร้านของตนเอง ต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ด้วย”

ดังนั้น เราแนะนำว่าหากใครที่เริ่มมีธุรกิจเป็นของตนเอง ก่อนขอจดทะเบียนธุรกิจ ต้องเลือกประเภทธุรกิจของตนเองก่อนว่าอยู่ในประเภทไหน อยู่ในประเภทธุรกิจค้าขายทั่วไป (ทะเบียนพาณิชย์) หรือค้าขายออนไลน์ (ทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์) จากนั้นเตรียมเอกสารให้พร้อม ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ของประเภทนั้นๆ แล้วยื่นขอจดทะเบียนได้เลย

นอกจากเป็นการยืนยันว่าธุรกิจนั้นถูกต้องตามกฎหมาย หมดกังวลหากเกิดการตรวจสอบในภายหลังแล้ว ยังสร้างความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้า และไม่มีภาระในการทำบัญชีหรือยื่นส่งงบการเงินแก่สรรพากร มีความเป็นอิสระในการประกอบธุรกิจได้อย่างเต็มที่