ช่วงนี้ใครที่มีเงินฝากธนาคารเกิน 1 ล้านบาท อาจจะรู้สึกเป็นกังวลกันอยู่บ้าง เนื่องจากสมาคมคุ้มครองเงินฝากได้ประกาศลด วงเงินคุ้มครองเงินฝาก เหลือ 1 ล้านบาท จากปกติวงเงินคุ้มครองเงินฝากอยู่ที่ 5 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ผู้ฝากเงินควรรู้เพื่อเตรียมวางแผนไว้ให้พร้อมสำหรับการฝากเงินในอนาคต หรือผู้ที่มีเงินฝากในธนาคารมากกว่า 1 ล้านบาท อยู่แล้ว อาจจะต้องปรับแผนการฝากเงินใหม่อีกด้วย
ใครบ้างที่ได้รับความคุ้มครอง
สิ่งที่ผู้ฝากเงินควรรู้ก็คือ ผู้ฝากเงินทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล จะได้รับความคุ้มครองนี้ทันทีที่เปิดบัญชีเงินฝากกับสถาบันการเงินตามกฎหมาย โดยที่ไม่ต้องดำเนินการใดๆ และไม่มีค่าใช้จ่ายเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองโดยการคุ้มครองเงินฝากนี้จะเป็นในลักษณะ 1 ผู้ฝาก ต่อ 1 ธนาคาร
ส่วนชาวต่างชาติ จะได้รับการคุ้มครองต่อเมื่อเป็นบัญชีเงินฝากภายในประเทศที่เป็นเงินบาท เว้นแต่เป็นเงินฝากใน “บัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ” ซึ่งรูปแบบการฝากเงินที่ได้รับความคุ้มครองได้แก่
- เงินฝากกระแสรายวัน
- เงินฝากออมทรัพย์
- เงินฝากประจำ
- บัตรเงินฝาก
- ใบรับฝากเงิน
แต่ถ้าหากเงินฝากอยู่ในประเภทที่เป็นเงินตราต่างประเทศ เงินลงทุนในตราสารต่างๆ เช่น พันธบัตร หุ้นกู้ หน่วยลงทุน (SSF, RMF) เงินฝากในสหกรณ์ แคชเชียร์เช็ค ตั๋วแลกเงิน เงินอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์ประกันประเภทออมทรัพย์ ที่ออกโดยบริษัทประกัน จะไม่ได้รับความคุ้มครองนี้
ธนาคารไหนที่ผู้ฝากเงินได้รับความคุ้มครองบ้าง
สถาบันการเงินที่ได้รับความคุ้มครองมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 35 สถาบัน ซึ่งสามารถแยกประเภทได้ดังนี้
- ธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ (19 แห่ง)
- ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารเมกะ สากลพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารแห่งประเทศจีน (ไทย) จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารเอเอ็นแซด (ไทย) จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย ทรัสต์ (ไทย) จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
- สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ (11 แห่ง)
- ธนาคารเจพีมอร์แกน เชส
- ธนาคารโอเวอร์ซี-ไชนีส แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด
- ธนาคารซิตี้แบงก์
- ธนาคารอาร์ เอช บี จำกัด
- ธนาคารแห่งอเมริกา เนชั่นแนล แอสโซซิเอชั่น
- ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด
- ธนาคารดอยซ์แบงก์
- ธนาคารมิซูโฮ จำกัด
- ธนาคารบีเอ็นพี พารีบาส์
- ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น
- ธนาคารอินเดียน โอเวอร์ซีส์
- บริษัทเงินทุน (2 แห่ง)
- บริษัทเงินทุน ศรีสวัสดิ์ จำกัด (มหาชน)
- บริษัทเงินทุน แอ็ดวานซ์ จำกัด (มหาชน)
- บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (3 แห่ง)
- บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เอสเบ จำกัด
- บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เวิลด์ จำกัด
- บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ แคปปิตอล ลิ้งค์ จำกัด
(ข้อมูลจาก สถาบันคุ้มครองเงินฝาก)
คุ้มครองอย่างไร
วงเงินคุ้มครองเงินฝาก นี้มีลักษณะ 1 รายชื่อผู้ฝาก ต่อ 1 สถาบัน ก็เท่ากับว่าหากผู้ฝากมีเงินอยู่หลายบัญชีในธนาคารเดียวกัน ทางธนาคารจะนับรวมยอดฝากทั้งหมดทุกบัญชีเป็นยอดเดียว แล้วคุ้มครองวงเงินฝากที่ 1 ล้านบาทต่อ 1 รายชื่อผู้ฝากเท่านั้น
ซึ่งอาจทำให้ผู้ฝากที่มีเงินฝากเกิน 1 ล้านบาท เกิดความกังวลถึงความปลอดภัยหากสถาบันการเงินปิดกิจการ อาจใช้วิธีฝากไว้หลายๆ ธนาคารเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองอย่างทั่วถึง
และถ้าหากในอนาคตสถาบันการเงินที่ฝากเงินไว้เกิดปิดกิจการลง เราจะได้รับความคุ้มครองดังกล่าว โดยได้รับเงินฝากคืนภายใน 30 วัน ตามจำนานเงินฝากที่ฝากจริงสำหรับยอดเงินฝากที่ไม่ถึง 1 ล้านบาท และได้รับเงินฝากคืน 1 ล้านบาท สำหรับเงินฝากที่ยอดตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป