ตามหาพ่อค้าแม่ค้า online ที่อยากสัมมนาภาษี-บัญชี

เข้าร่วมไขความลับเรื่อง ภาษี-บัญชี รู้ทันสรรพากรภายใน 1 วัน
  ในงานสัมมนา “รู้ ครบ จบหมด บัญชีภาษี ธุรกิจขายของ online”

ค่าสัมมนา
4,900 บาท

วงเงินคุ้มครองเงินฝาก ลดเหลือ 1 ล้านบาท สิทธิประโยชน์ที่ควรรู้

ตึกสถาบันเงินฝาก ระบุคำว่า วงเงินคุ้มครองเงินฝากธนาคารลดเหลือ 1 ล้านบาท

ช่วงนี้ใครที่มีเงินฝากธนาคารเกิน 1 ล้านบาท อาจจะรู้สึกเป็นกังวลกันอยู่บ้าง เนื่องจากสมาคมคุ้มครองเงินฝากได้ประกาศลด วงเงินคุ้มครองเงินฝาก เหลือ 1 ล้านบาท จากปกติวงเงินคุ้มครองเงินฝากอยู่ที่ 5 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ผู้ฝากเงินควรรู้เพื่อเตรียมวางแผนไว้ให้พร้อมสำหรับการฝากเงินในอนาคต หรือผู้ที่มีเงินฝากในธนาคารมากกว่า 1 ล้านบาท อยู่แล้ว อาจจะต้องปรับแผนการฝากเงินใหม่อีกด้วย

ใครบ้างที่ได้รับความคุ้มครอง

สิ่งที่ผู้ฝากเงินควรรู้ก็คือ ผู้ฝากเงินทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล จะได้รับความคุ้มครองนี้ทันทีที่เปิดบัญชีเงินฝากกับสถาบันการเงินตามกฎหมาย โดยที่ไม่ต้องดำเนินการใดๆ และไม่มีค่าใช้จ่ายเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองโดยการคุ้มครองเงินฝากนี้จะเป็นในลักษณะ 1 ผู้ฝาก ต่อ 1 ธนาคาร

ส่วนชาวต่างชาติ จะได้รับการคุ้มครองต่อเมื่อเป็นบัญชีเงินฝากภายในประเทศที่เป็นเงินบาท เว้นแต่เป็นเงินฝากใน “บัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ” ซึ่งรูปแบบการฝากเงินที่ได้รับความคุ้มครองได้แก่

  • เงินฝากกระแสรายวัน
  • เงินฝากออมทรัพย์
  • เงินฝากประจำ
  • บัตรเงินฝาก
  • ใบรับฝากเงิน

แต่ถ้าหากเงินฝากอยู่ในประเภทที่เป็นเงินตราต่างประเทศ เงินลงทุนในตราสารต่างๆ เช่น พันธบัตร หุ้นกู้ หน่วยลงทุน (SSF, RMF) เงินฝากในสหกรณ์ แคชเชียร์เช็ค ตั๋วแลกเงิน เงินอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์ประกันประเภทออมทรัพย์ ที่ออกโดยบริษัทประกัน จะไม่ได้รับความคุ้มครองนี้

 

ธนาคารไหนที่ผู้ฝากเงินได้รับความคุ้มครองบ้าง

สถาบันการเงินที่ได้รับความคุ้มครองมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 35 สถาบัน ซึ่งสามารถแยกประเภทได้ดังนี้

  • ธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ (19 แห่ง)
  1. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
  2. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
  3. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
  4. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
  5. ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)
  6. ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)
  7. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
  8. ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน)
  9. ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน)
  10. ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน)
  11. ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน)
  12. ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)
  13. ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) จำกัด (มหาชน)
  14. ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน)
  15. ธนาคารเมกะ สากลพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
  16. ธนาคารแห่งประเทศจีน (ไทย) จำกัด (มหาชน)
  17. ธนาคารเอเอ็นแซด (ไทย) จำกัด (มหาชน)
  18. ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย ทรัสต์ (ไทย) จำกัด (มหาชน)
  19. ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)

 

  • สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ (11 แห่ง)
  1. ธนาคารเจพีมอร์แกน เชส
  2. ธนาคารโอเวอร์ซี-ไชนีส แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด
  3. ธนาคารซิตี้แบงก์
  4. ธนาคารอาร์ เอช บี จำกัด
  5. ธนาคารแห่งอเมริกา เนชั่นแนล แอสโซซิเอชั่น
  6. ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด
  7. ธนาคารดอยซ์แบงก์
  8. ธนาคารมิซูโฮ จำกัด
  9. ธนาคารบีเอ็นพี พารีบาส์
  10. ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น
  11. ธนาคารอินเดียน โอเวอร์ซีส์
  • บริษัทเงินทุน (2 แห่ง)  
  1. บริษัทเงินทุน ศรีสวัสดิ์ จำกัด (มหาชน)
  2. บริษัทเงินทุน แอ็ดวานซ์ จำกัด (มหาชน)
  • บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (3 แห่ง)  
  1. บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เอสเบ จำกัด
  2. บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เวิลด์ จำกัด
  3. บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ แคปปิตอล ลิ้งค์ จำกัด

(ข้อมูลจาก สถาบันคุ้มครองเงินฝาก)

คุ้มครองอย่างไร

วงเงินคุ้มครองเงินฝาก นี้มีลักษณะ 1 รายชื่อผู้ฝาก ต่อ 1 สถาบัน ก็เท่ากับว่าหากผู้ฝากมีเงินอยู่หลายบัญชีในธนาคารเดียวกัน ทางธนาคารจะนับรวมยอดฝากทั้งหมดทุกบัญชีเป็นยอดเดียว แล้วคุ้มครองวงเงินฝากที่ 1 ล้านบาทต่อ 1 รายชื่อผู้ฝากเท่านั้น

ซึ่งอาจทำให้ผู้ฝากที่มีเงินฝากเกิน 1 ล้านบาท เกิดความกังวลถึงความปลอดภัยหากสถาบันการเงินปิดกิจการ อาจใช้วิธีฝากไว้หลายๆ ธนาคารเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองอย่างทั่วถึง

และถ้าหากในอนาคตสถาบันการเงินที่ฝากเงินไว้เกิดปิดกิจการลง เราจะได้รับความคุ้มครองดังกล่าว โดยได้รับเงินฝากคืนภายใน 30 วัน ตามจำนานเงินฝากที่ฝากจริงสำหรับยอดเงินฝากที่ไม่ถึง 1 ล้านบาท และได้รับเงินฝากคืน 1 ล้านบาท สำหรับเงินฝากที่ยอดตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป