ตามหาพ่อค้าแม่ค้า online ที่อยากสัมมนาภาษี-บัญชี

เข้าร่วมไขความลับเรื่อง ภาษี-บัญชี รู้ทันสรรพากรภายใน 1 วัน
  ในงานสัมมนา “รู้ ครบ จบหมด บัญชีภาษี ธุรกิจขายของ online”

ค่าสัมมนา
4,900 บาท

ค่า จ้างเขียนโปรแกรมหัก ณ ที่จ่าย อย่างไร ไม่หักได้หรือไม่

จ้างเขียนโปรแกรมหัก ณ ที่จ่าย

ธุรกิจรับ จ้างเขียนโปรแกรมหัก ณ ที่จ่าย อย่างไรนั้น อาจต้องแยกเป็นหลายกรณี ซึ่งตามหลักกฎหมายได้กำหนดว่า ผู้ที่เป็นฟรีแลนซ์ หรืออยู่ประเภทรับเหมาหรือบริการ เช่น การจ้างผลิตสินค้า จ้างทำนามบัตร จ้างรีวิวสินค้า งานเขียนโปรแกรม หรือการรับจ้างที่ต้องใช้อุปกรณ์ของคนรับทำ ผู้ว่าจ้างไม่ได้เป็นคนหาให้ จะถือเป็นจ้างรับเหมาหรือบริการ รายได้จะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%

แต่ถ้าผู้ว่าจ้างมีอุปกรณ์ให้ครบ เช่น จ้างพิมพ์งานมีคอมพิวเตอร์ให้ ค่านายหน้าขายของ ส่วนแบ่งค่าคอม จะจัดอยู่ในประเภทจ้างทำงาน ซึ่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย ให้คำนวณแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักภาษี ณ ที่จ่ายต่ำสุด 0% แบบเดียวกับค่าจ้างและเงินเดือน ซึ่งผู้จ้างจะหักไว้ก่อนจ่ายเงินค่าจ้างให้กับผู้รับเงิน และผู้รับเงินต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีอีก 1 ครั้งด้วย

ดังนั้น ธุรกิจรับเขียนโปรแกรม ขายโปรแกรมสำเร็จรูป เมื่อมีรายได้จากการขายหรือให้บริการเหล่านี้ จะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย แตกต่างกันขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ซึ่งสามารถรวบรวมได้ดังนี้  

หลากหลายรูปแบบให้บริการเขียนโปรแกรม ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%

ธุรกิจรับจ้างเขียนโปรแกรม มีหลายรูปแบบในการให้บริการ ทั้งที่เขียนเป็นโปรแกรมสำเร็จรูป พัฒนาเขียนโปรมแกรมขึ้นมาใหม่  วางจำหน่ายทั่วไป และขายผ่านตัวเทนจำหน่าย ซึ่งจะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% โดยแยกประเด็นการให้บริการเขียนโปรแกรมได้หลายกรณี เช่น…

1.ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย “ค่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป” 

ธุรกิจรับจ้างเขียนโปรแกรมหัก ณ ที่จ่ายอย่างไร หากได้รับค่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ที่กิจการเขียนสำเร็จไว้ เมื่อผู้รับจ้างได้ค่าตอบแทนจากการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ค่าตอบแทนการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือค่าตอบแทนจากการซื้อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ขายโดยทั่วไป ถือเป็นการจ่ายค่าลิขสิทธิ์ ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 3 หรือมาตรา 40(3) กิจการในนามนิติบุคคล ผู้ว่าจ้างเขียนโปรแกรมหัก ณ ที่จ่ายผู้รับจ้าง 3%  

2.ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย “ค่าโปรแกรมสำเร็จรูป โดยวางขายผ่านตัวแทนจำหน่าย” 

กรณีที่กิจการรับจ้างเขียนโปรแกรม ได้เขียนโปรแกรมสำเร็จรูป และขายให้กับตัวแทนจำหน่ายทั่วไป หรือผู้ซื้อรายอื่นที่เป็นนิติบุคคล รวมถึงกรณีตัวแทนจำหน่ายได้นำโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูปที่ซื้อจากกิจการ ไปขายให้แก่ผู้ซื้อที่เป็นนิติบุคคล

ค่าตอบแทนที่กิจการรับจ้างเขียนโปรแกรมและตัวแทนจำหน่ายได้รับ เป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 3 หรือมาตรา 40(3) และจะต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย 3%      

3.ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย “ค่าตอบแทนพัฒนา ออกแบบ และเขียนโปรแกรม”

 

ผู้ว่า จ้างเขียนโปรแกรมหัก ณ ที่จ่าย 3% จากผู้รับจ้างที่รับจ้างพัฒนา ออกแบบ และเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้กับบริษัทนิติบุคคลโดยเฉพาะ เพื่อใช้ในกิจการของตนเอง หากลิขสิทธิ์ในงานที่ออกแบบ พัฒนา เป็นของผู้ว่าจ้าง เงินค่าตอบแทนที่ได้รับจากนิติบุคคลผู้ว่าจ้าง จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ก่อนส่งมอบค่าตอบแทนให้กับผู้รับจ้างเขียนโปรแกรม

 

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย “ซื้อโปรแกรมจากต่างประเทศ”

หากผู้รับจ้างเขียนโปรแกรมเป็นคู่ค้าที่อยู่ต่างประเทศ นิติบุคคลที่อยู่ในไทยผู้ซื้อโปรแกรมจากคู่ค้าต่างประเทศ ค่าโปรแกรมดังกล่างจัดเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 3 หรือมาตรา 40(3) คือค่าลิขสิทธิ์ นิติบุคคลในไทยผู้ซื้อโปรแกรมมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย แตกต่างกันตามประเทศนั้นๆ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ค่าจ้างเขียนโปรแกรมหัก ณ ที่จ่าย 5% เนื่องจากมีการจดอนุสัญญาภาษีซ้อนกับประเทศไทย และผู้หักภาษี ณ ที่จ่ายต้องนําส่งแบบ ภ.ง.ด.54 พร้อมเงินภาษีให้แก่กรมสรรพากร 

 

รับจ้างเขียนโปรแกรมหัก ณ ที่จ่าย อย่างไร

นิติบุคคลที่ประกอบกิจการรับจ้างเขียนโปรแกรม นอกจากจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย เมื่อได้รับค่าตอบแทนเขียนโปรแกรมจากนิติบุคคลผู้ว่าจ้างแล้ว กิจการผู้รับจ้างเขียนโปรแกรมหัก ณ ที่จ่าย เมื่อมีการจ่ายค่าจ้างหรือบริการอัตราภาษีตามประเภทเงินที่จ่ายที่กฎหมายกำหนด ดังนี้

1.ค่าจ้างและเงินเดือน ในกรณีผู้ประกอบกิจการรับจ้างเขียนโปรแกรม จ่ายเงินเดือนพนักงาน ถ้าเงินได้สุทธิของพนักงานไม่เกิน 150,000 บาท ให้ยกเว้นไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือต่ำสุด 0% หรือหักในอัตราภาษีก้าวหน้า  

2.จ้างทำงานหรือบริการ เช่น นายหน้าขายโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ได้ส่วนแบ่งค่าคอม ใช้วิธีคำนวณเหมือนค่าจ้างและเงินเดือน หักภาษี ณ ที่จ่ายต่ำสุด 0% หรือหักในอัตราภาษีก้าวหน้า 

3.จ้างบริการวิชาชีพอิสระ กิจการผู้ว่าจ้างจะต้องทำการหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% สำหรับ 6 กลุ่มวิชาชีพ คือ 1) โรคศิลปะ เช่น กลุ่มเวชกรรม เภสัชกรรม ทันตกรรม 2) ประณีตศิลป์ 3) สถาปนิก 4) วิศวกร 5) นักบัญชี 6) ทนายความ  

4.จ้างรับเหมาหรือบริการ จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% เช่น การจ้างผลิตสินค้า จ้างทำนามบัตร จ้างรีวิวสินค้า ทำกราฟิก รวมถึงค่าอินเตอร์เน็ต โทรศัพท์  

5.ค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ กรณีผู้ประกอบกิจการรับจ้างเขียนโปรแกรมมีการเช่าสถานที่ จะต้องทำการหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา 5%  ของเงินค่าเช่า

6.ค่าโฆษณา หากผู้ประกอบกิจการรับจ้างเขียนโปรแกรม ต้องการทำโฆษณาเพื่อโปรโมตบริษัทของตนเอง โดยจ้างผ่านบริษัทรับทำโฆษณา เอเจนซี่ จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 2%

7.ค่าขนส่ง หากมีการใช้บริการขนส่งที่เกี่ยวข้องกับกิจการจะต้องมีการหักภาษี ณ ที่จ่าย 1%

สามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายการและบริการที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายได้จากบทความ “ภาษี หัก ณ ที่จ่าย แต่ละประเภทต่างกันอย่างไร”

  

สรุป… รับจ้างเขียนโปรแกรม ไม่หักภาษี ณ ที่จ่าย ระวังค่าปรับ

ดังนั้น กิจการรับเขียนโปรแกรมที่จดทะเบียนนิติบุคคลเท่านั้น มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย และถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย พร้อมกับผู้จ่ายเงินที่หักภาษี ณ ที่จ่ายไป ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.3, ภ.ง.ด.53 และ ภ.ง.ด.54 และเงินภาษีให้แก่กรมสรรพากร ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป หรือยื่นออนไลน์ได้ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป  

ทั้งนี้ หากผู้จ่ายเงินในนามนิติบุคคลไม่หักภาษี หรือยื่นส่งกรมสรรพากรไม่ตรงตามความเป็นจริง จะถือว่ามีความผิดทางกฎหมาย และยังมีเบี้ยปรับและเงินเพิ่มที่ต้องจ่ายหากหักไว้ไม่ครบหรือไม่ถูกต้อง รวมถึงไม่ได้ยื่นรายการและนำส่งเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

และด้วยเหตุนี้ ผู้ประกอบกิจการรับจ้างเขียนโปรแกรม ไม่สามารถรับเงินเต็มจำนวนโดยไม่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายได้ เพราะจะทำให้ผู้ว่าจ้างมีความผิดถูกค่าปรับได้ และกิจการก็ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายทุกครั้ง เมื่อมีการจ่ายเงินค่าจ้างและบริการ เพราะมีผลทางกฎหมายทั้งสิ้น