ตามหาพ่อค้าแม่ค้า online ที่อยากสัมมนาภาษี-บัญชี

เข้าร่วมไขความลับเรื่อง ภาษี-บัญชี รู้ทันสรรพากรภายใน 1 วัน
  ในงานสัมมนา “รู้ ครบ จบหมด บัญชีภาษี ธุรกิจขายของ online”

ค่าสัมมนา
4,900 บาท

วางแผนการ ทำบัญชีร้านรับซื้อของเก่า

ทำบัญชีร้านรับซื้อของเก่า

ทำบัญชีร้านรับซื้อของเก่า …เนื่องจากของเก่า เช่น พลาสติก ขวด เศษโลหะต่างๆ ที่ถูกทิ้งจากผู้ใช้ส่วนหนึ่งสามารถนำกลับมาใช้ได้ อีกทั้งยังทำให้เศษขยะเหล่านี้เดิมทีไม่มีประโยชน์กลายเป็นของเหลือใช้ที่มีมูลค่า สามารถซื้อขายได้ ที่ผ่านๆ มานั้นได้มีธุรกิจและอุตสาหกรรมที่มีการนำของเก่าเหล่านี้นำไปใช้ซ้ำหรือนำไปแปรรูป โดยผู้รับซื้อของเก่าที่เป็นตัวกลางในการเก็บหรือรับซื้อจากสถานที่ต่างๆ เช่น ร้านค้า หรือสถานที่ประกอบการ เพื่อรวบรวมแล้วส่งต่อไปยังร้านรับซื้อของเก่าขนาดใหญ่ขึ้น หรือส่งต่อไปยังโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อแปรรูปต่อไป

ดังนั้น จากวงจรต่างๆ เหล่านี้ในส่วนที่เป็นร้านรับซื้อของเก่าขนาดเล็ก กลาง และขนาดใหญ่ จะมีปัญหาในเรื่องการ ทำบัญชีร้านรับซื้อของเก่า และการทำงบการเงินเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นกลุ่มซาเล้งที่ไม่สามารถแสดงรายได้รวมถึงเอกสารเกี่ยวกับบัญชีต่างๆ จากการรับซื้อและขายของเก่าได้ 

จากปัญหาเหล่านี้ทางร้านรับซื้อของเก่าจะมีแนวทางการวางแผนการ ทำบัญชีร้านรับซื้อของเก่า ได้อย่างไรบ้าง ติดตามได้จากรายละเอียดที่จะนำเสนอต่อไปนี้ 

 

ทำรายรับรายจ่ายดี…การ ทำบัญชีร้านรับซื้อของเก่า ก็เป็นเรื่องง่าย

เจ้าของธุรกิจร้านรับซื้อของเก่า ต้องทราบถึงรายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับเรื่องบัญชีเสียก่อน เช่น เรามีต้นทุนอะไรบ้าง มีรายรับ-รายจ่ายอย่างไรบ้าง เมื่อเราทราบแล้วก็สามารถจดใส่สมุดทำเป็นตารางเพื่อง่ายต่อการตรวจสอบ และต้องจดบันทึกทุกวันจนครบ 1 เดือน หลังจากนั้นเจ้าของธุรกิจรับซื้อของเก่าจะสามารถวางแผนการเงินได้ถูกต้องแม่นยำยิ่งขึ้น เช่น สมมุติว่าเจ้าของร้านรับซื้อของเก่ามีการขายเศษเหล็ก ก็ต้องนำตัวเลขนั้นไปใส่ในช่องรายรับ และหากมีการจ่ายค่าแก๊ส ค่าตัดเหล็ก ค่าน้ำมัน ค่าจ้างพนักงาน ก็ต้องนำไปใส่ในช่องรายจ่าย เพียงเท่านี้ก็จะทราบถึงที่มาที่ไปของรายรับและรายจ่ายอย่างถูกต้อง 

ในกรณีนี้ใช้สำหรับเจ้าของธุรกิจรับซื้อของเก่าที่ดำเนินกิจการในนามบุคคลธรรมดา ยังไม่ได้จดภาษีมูลค่าเพิ่ม มีหน้าที่จัดทำรายรับ-รายจ่ายเงินสดเป็นบันทึกประจำวันไว้ หากต้องการแบบฟอร์มรายงานเงินสดรับ-จ่าย สามารถเข้าไปดาวน์โหลดได้ที่กรมสรรพากร หรือสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่บทความ หลักการทำบัญชีรายรับรายจ่ายที่ถูกต้อง  

ส่วนเจ้าของธุรกิจที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท จะต้องรีบไปจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภายใน 30 วันหลังจากที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท และหลังจากนั้นเมื่อมีการขายสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ต้องออกใบกำกับภาษีให้ลูกค้าทุกครั้งแบบถูกต้องตามที่กฎหมายด้วย ไม่เช่นนั้นอาจถูกตรวจสอบและเสียภาษีย้อนหลัง หากกรมสรรพากรพบว่ามีการจัดทำใบกำกับภาษีปลอม

เอกสารทางบัญชีและการทำงบการเงินนั้นมีความสำคัญ

เมื่อเจ้าของธุรกิจร้านรับซื้อของเก่าจดทะเบียนเป็นบริษัทในรูปแบบนิติบุคคล รูปแบบการบริหารจัดการการทำบัญชีร้านรับซื้อของเก่าก็จะมีความยุ่งยากมากขึ้น ทั้งนี้เอกสารค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น บิลค่าแก๊ส ค่าน้ำมัน เงินเดือนพนักงาน ค่าเช่าต่างๆ (หากมี) บิลค่าเครื่องใช้สำนักงานต่างๆ โดยปัญหาที่เกิดกับเจ้าของธุรกิจกลุ่มนี้คือการรับซื้อของเก่าจากซาเล้งที่นำมาขาย ทางด้านซาเล้งก็ไม่มีเอกสารอะไรเลยที่สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้ ซึ่งเอกสารที่จะนำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้ต้องมีชื่อพร้อมที่อยู่ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายจึงจะนำมาใช้ในทางภาษีได้ 

ในส่วนของการทำงบการเงิน ซึ่งเป็นการรายงานข้อมูลที่จำเป็นต้องปิดงบประจำปีให้กับกรมสรรพากรทราบ ดังนั้น เจ้าของธุรกิจร้านรับซื้อของเก่าควรรู้คำจำกัดความ พร้อมวิธีการทำงบการเงินที่ถูกต้องอย่างง่ายประกอบด้วยหลักต่างๆ ดังนี้ 

1.งบดุล ส่วนนี้จะบอกถึงสถานะของกิจการที่กำลังทำอยู่ สูตรคือ ทรัพย์สิน = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ (ทุน)

2.งบกำไรขาดทุน ส่วนนี้จะบอกถึงผลการดำเนินงาน สูตรคือ รายได้ – ค่าใช้จ่าย = กำไร (ขาดทุน)

3.งบกระแสเงินสด ส่วนนี้บอกถึงเงินสดที่ใช้หมุนเวียนจากกิจกรรมดำเนินงาน การลงทุน การจัดหา

4.งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น เป็นการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของกิจการ

5.หมายเหตุประกอบการทำงบการเงิน รายละเอียดเพิ่มเติม เกณฑ์การจัดทำงบ 

หากต้องการทราบรายละเอียดแบบลงลึกกว่าข้อมูลข้างต้น ควรศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บทความ ผลลัพธ์ของการทำบัญชี..งบการเงินคือ??

ดังนั้น หากเจ้าของกิจการมีการรับซื้อของเก่าหลายๆ ประเภท พอรับซื้อเข้ามาก็ต้องขายออกไปผ่านตัวกลางรับซื้อที่จะเข้ามารับเพื่อส่งต่อให้กับโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อแปรรูปอีกที จากตรงนี้ก็จะเกิดช่องโหว่ทางด้านเอกสาร ซึ่งตัวกลางรับซื้อบางรายก็ไม่ยอมให้ทางร้านออก vat บางรายก็ให้ออกบิล vat ได้  ซึ่งปัญหาที่จะตามมาคือการทำงบการเงินจะไม่สอดคล้องกับรายรับและรายจ่ายที่เกิดขึ้นจริง 

 

บทสรุปส่งท้าย เจ้าของธุรกิจรับซื้อของเก่าจำเป็นต้องมีการวางแผนการทำบัญชีร้านรับซื้อของเก่าให้ดี ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องรายรับ รายจ่าย การออกบิลต่างๆ การเบิกจ่ายไม่ครบ เงินเดือนพนักงาน ประกันสังคมยื่นไม่ครบ ค่าประกันรถ ค่าซ่อมรถ การจัดทำงบการเงินไม่ถูกต้อง รวมถึงการแก้ไขปัญหาพ่อค้าคนกลางที่ไม่มีบิล vat หรือไม่ยอมให้ออกบิล vat ซึ่งถ้าหากข้อมูลทางด้านการเงินไม่ตรงและไม่สอดคล้องกันจะทำให้เจ้าของธุรกิจรับซื้อของเก่ามีปัญหากับกรมสรรพากรได้

หากตรงนี้เจ้าของธุรกิจรับซื้อของเก่าอยากจัดทำระบบบัญชีให้ได้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุดเพื่อยกระดับธุรกิจให้ดีขึ้น และเพื่อส่งข้อมูลให้แก่สรรพากรตามที่กฎหมายกำหนด เจ้าของธุรกิจควรเลือกสำนักงานบัญชีที่มีมาตรฐาน มีประสบการณ์ ซึ่งต้องใช้บริการผู้สอบบัญชีเป็นผู้ตรวจสอบให้ ซึ่งผู้สอบบัญชีจะต้องไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจรับซื้อของเก่า นอกจากจะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องแล้วยังทำให้เจ้าของธุรกิจสามารถนำข้อมูลที่ถูกต้องเหล่านี้มาวางแผนเพื่อขยายกิจการต่อไปได้