ตามหาพ่อค้าแม่ค้า online ที่อยากสัมมนาภาษี-บัญชี

เข้าร่วมไขความลับเรื่อง ภาษี-บัญชี รู้ทันสรรพากรภายใน 1 วัน
  ในงานสัมมนา “รู้ ครบ จบหมด บัญชีภาษี ธุรกิจขายของ online”

ค่าสัมมนา
4,900 บาท

โปรแกรมเมอร์มีรายได้ ต้องเสีย ภาษีรับเขียนโปรแกรม อย่างไร

ภาษีรับเขียนโปรแกรม

ภาษีรับเขียนโปรแกรม …โปรแกรมเมอร์ ถือเป็นบุคลากรในศาสตร์วิชาที่หลายๆ องค์กรต้องการร่วมงานด้วย โดยเฉพาะบริษัทรับเขียนโปรแกรม เพราะโปรแกรมคอมพิวเตอร์มีความจำเป็นกับทุกบริษัท ซึ่งหากโปรแกรมเมอร์ปฏิบัติงานในบริษัทในฐานะพนักงานประจำ ตามหลักกฎหมายกำหนดว่าจะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในกลุ่มเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 (40(1)) เมื่อเงินได้สุทธิเกิน 150,000 บาท 

แต่หากเป็นโปรแกรมเมอร์ที่รับงานเขียนโปรแกรมเป็นครั้งคราวลักษณะฟรีแลนซ์ จะจัดอยู่ในกลุ่มเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 2 (40(2)) และเมื่อสั่งสมประสบกาณ์จนชำนิชำนาญ ป้ายต่อไปเริ่มเข้าสู่แนวคิดการจดทะเบียนบริษัทเป็นนิติบุคคล รูปแบบการเสีย ภาษีรับเขียนโปรแกรม จะแตกต่างกันอยู่มาก ทั้งรูปแบบการทำบัญชีและภาษีที่ต้องจ่าย

โดยผู้มีรายได้ในสายงานโปรแกรมเมอร์ จะมีเงื่อนไขในการเสียภาษีแตกต่างกัน ต้องแยกตามรูปแบบการรับงานเขียนโปรแกรมของโปรแกรมเมอร์แต่ละคน ซึ่ง ภาษีรับเขียนโปรแกรม จะแตกต่างกันอย่างไร หรือต้องเสียภาษีอะไรบ้าง ไปหาคำตอบพร้อมกัน 

 

ภาษีรับเขียนโปรแกรม สำหรับโปรแกรมเมอร์บุคคลธรรมดา 

ปัญหาหลักของภาษีรับเขียนโปรแกรม สำหรับโปรแกรมเมอร์ที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือการยื่นภาษีไม่ถูกต้อง ทำให้การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผิดพลาด จนอาจต้องถูกเรียกภาษีย้อนหลัง ดังนั้น ก่อนที่โปรแกรมเมอร์จะยื่นภาษีต้องเช็กว่าตนเองทำงานลักษณะไหน เป็นพนักงานประจำ ฟรีแลนซ์ หรือรับเหมาบริการทั้งค่าแรงและค่าของ ซึ่งจะต้องยื่นภาษีและหักค่าใช้จ่ายต่างกัน คือ  

– พนักงานประจำ จัดอยู่กลุ่มเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 หรือมาตรา 40(1) หักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ 50% แต่เมื่อรวมหักค่าใช้จ่ายจากเงินประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 แล้ว ต้องไม่เกิน 100,000 บาท  

– ฟรีแลนซ์ คือรายได้รูปแบบรับจ้างทั่วไป รับทำงานให้เป็นครั้งคราวที่ไม่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์เป็นเจ้านายลูกน้อง โดยการผลิตชิ้นงานผู้เขียนโปรแกรมไม่ได้รับภาระออกค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสัมภาระ วัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ เองเป็นส่วนใหญ่ และลิขสิทธิ์โปรแกรมเป็นของผู้ว่าจ้าง จะจัดอยู่กลุ่มเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 2 หรือมาตรา 40(2) สามารถหักแบบเหมา 50% แต่เมื่อรวมหักค่าใช้จ่ายจากเงินประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 แล้ว ต้องไม่เกิน 100,000 บาท  

ส่วนฟรีแลนซ์ที่ตกลงให้ลิขสิทธิ์ในโปรแกรมที่เขียนตกเป็นของผู้เขียน โดยผู้ว่าจ้างมีสิทธิ์นำไปใช้เป็นครั้งคราวได้ ค่าตอบแทนถือเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 3 หรือมาตรา 40(3) หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท หรือหักตามจริง    

– รับเหมาเขียนโปรแกรมทั้งค่าแรงและค่าของ คือรับเขียนโปรแกรมโดยรับภาระออกค่าสัมภาระ วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เป็นส่วนใหญ่ หรือลงทุนเรื่องฮาร์ดแวร์ เช่น สายไฟ ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ คีย์บอร์ด เซิร์ฟเวอร์ และซอฟต์แวร์เอง จะจัดอยู่เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 7 หรือมาตรา 40(7) หักค่ารับเหมาทั้งค่าแรงและค่าของแบบเหมา 60% หรือหักตามจริง 

– อาชีพอิสระ คือเงินได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ โดยการเขียนโปรแกรมที่ผู้รับจ้างเขียนต้องมีการจ้างคนอื่นหรือผู้รับเหมาช่วงงานเข้ามาช่วย  ทำให้ค่าใช้จ่ายสูง หรือทำเองแต่ต้องลงทุนซื้อเครื่องมือที่จำเป็นในราคาสูงจึงจะทำงานสำเร็จ แม้ว่าจะไม่ได้รับภาระออกค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสัมภาระ วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เป็นส่วนใหญ่ก็ตาม ถือเป็นเงินได้เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8 หรือมาตรา 40(8) สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ตามจริง     

ทั้งนี้ สามารถคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ที่นี่ 

 

โปรแกรมเมอร์จัดตั้งบริษัท… เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

เนื่องจากงานแต่ละชิ้นที่โปรแกรมเมอร์รับเขียน ค่อนข้างมีมูลค่าสูง ทำให้หลายรายประสบปัญหาต้องเสียภาษีแพงมากถึงหลักแสน ด้วยเหตุนี้โปรแกรมเมอร์ส่วนใหญ่เมื่อรับทำแบบฟรีแลนซ์มาสักระยะหนึ่ง รายได้เริ่มสูงจะเลือกจดทะเบียนบริษัทเป็นนิติบุคคล เพื่อให้รายรับเข้าในนามบริษัท ซึ่งจะยกเว้นภาษี 300,000 บาทแรก และสามารถใช้ประโยชน์จากค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้ เช่น

ค่าใช้จ่ายเงินเดือนลูกจ้าง เงินเดือนตนเอง ค่าใช้จ่ายจากการซื้อคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ ค่าเดินทาง ค่าน้ำมัน ค่าน้ำ ค่าไฟ และรายจ่ายอื่นๆ ของบริษัทที่ไม่เป็นรายจ่ายต้องห้าม นำมาหักเป็นค่าใช้จ่าย ช่วยประหยัดภาษีได้อีกมากโข 

นอกจากนี้ในกรณีที่กิจการได้ว่าจ้างช่วงงาน หรือแบ่งเงินให้กับบริษัทที่รับงานมา สามารถนำมาเป็นรายจ่ายค่านายหน้าได้ และยังนำใบกำกับภาษีซื้อมาหักภาษีขาย เครดิตภาษีขาย หรือขอคืนภาษีซื้อได้ ในกรณีที่โปรแกรมเมอร์ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้

ลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)  

ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นภาษีรับเขียนโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรมเมอร์ เมื่อมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท จากการขายโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หากลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ยังเป็นของกิจการผู้เขียนโปรแกรม จะถือเป็นการให้ใช้ลิขสิทธิ์ในการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งจัดเป็นการให้บริการในบังคับทางกฎหมายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 

โดยต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% จากผู้จ้างงานให้เขียนโปรแกรม และออกใบกำกับภาษีให้กับผู้จ้างงานหลังจากได้รับค่าบริการหรือส่งมอบงานแล้ว และยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.30 ภายในวันที่ 15 ของทุกเดือนแก่กรมสรรพากร และยื่นออนไลน์ภายในวันที่ 23 ของเดือนถัดไป ไม่ว่าในเดือนนั้นๆ จะมีรายรับหรือไม่ก็ตาม

  

รับเขียนโปรแกรม ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%

ตามกฎหมายได้กำหนดว่า ผู้ที่เป็นฟรีแลนซ์ หรืออยู่ประเภทรับเหมาหรือบริการ เช่น การจ้างผลิตสินค้า จ้างทำนามบัตร จ้างรีวิวสินค้า งานเขียนโปรแกรม หรืออะไรก็แล้วแต่ที่ต้องใช้อุปกรณ์ของคนรับทำ ผู้ว่าจ้างไม่ได้เป็นคนหาให้ จะถือเป็นจ้างรับเหมาหรือบริการ รวมถึงค่าลิขสิทธิ์โปรแกรม รายได้จะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%

แต่ถ้าผู้ว่าจ้างมีอุปกรณ์ให้ครบ เช่น จ้างพิมพ์งานมีคอมพิวเตอร์ให้ ค่านายหน้าขายของ ส่วนแบ่งค่าคอม จะจัดอยู่ในประเภทจ้างทำงาน ซึ่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย ให้คำนวณแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เทียบอัตราภาษีก้าวหน้า โดยหักภาษี ณ ที่จ่ายต่ำสุด 0% แบบเดียวกับค่าจ้างและเงินเดือน ซึ่งผู้จ้างจะหักไว้ก่อนจ่ายเงินค่าจ้างให้กับผู้รับเงิน และผู้รับเงินต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีอีก 1 ครั้งด้วย

 

สรุป

สุดท้ายคงต้องยอมรับว่า ธุรกิจรับเขียนโปรแกรม ถือเป็นอาชีพที่มีความซับซ้อนในเรื่องของภาษีค่อนข้างมาก เนื่องจากลักษณะการรับงานเขียน สามารถจัดอยู่เงินได้พึงประเมินหลายประเภท อีกทั้งรายได้แต่ละงานค่อนข้างสูง หากผู้มีรายได้ยื่นผิดมาตรา จะทำให้ลดหย่อนภาษีได้น้อย และส่งผลให้ต้องเสียภาษีรับเขียนโปรแกรมแพง 

ดังนั้น หากพิจารณาแล้วพบว่ามีรายได้สูงหลายล้าน หรืออัตราภาษีที่ต้องเสียเกิน 20% อาจต้องตัดสินใจจดบริษัทเป็นนิติบุคคล จะช่วยตอบโจทย์อาชีพรับเขียนโปรแกรมของคุณได้ตรงจุดยิ่งกว่าเดิม