จดบริษัทออกแบบตกแต่งภายใน …ความก้าวหน้าในชีวิตการทำงานของอาชีพนักออกแบบตกแต่งภายใน (Interior designer) ย่อมเป็นสิ่งที่ดี แต่ส่วนลึกของนักออกแบบตกแต่งภายใน (Interior designer) รุ่นใหม่หลายๆ คน อยากก้าวไปสู่การเป็นเจ้าของธุรกิจรับบริการออกแบบครบวงจรอย่างเต็มตัวมากกว่า
ซึ่งส่วนใหญ่ความต้องการเป็นเจ้าของธุรกิจของนักออกแบบตกแต่งภายใน มักเกิดจากแรงผลักดันที่อยากแสดงตัวตนออกมาได้อย่างชัดเจน หรือบางทีก็เกิดจากความพร้อมในด้านการลงทุนและแรงสนับสนุนรอบด้าน แต่ในขณะเดียวกันการ จดบริษัทออกแบบตกแต่งภายใน สำหรับมือใหม่นั้น ยังมีปัจจัยหลายๆ เรื่องที่จะนำพาไปสู่ความสำเร็จ โดยบทความนี้จะขอนำเสนอในประเด็นเกี่ยวกับการ จดบริษัทออกแบบตกแต่งภายใน ว่ามีเนื้อหาข้อมูลอะไรบ้าง
รูปแบบการ จดบริษัทออกแบบตกแต่งภายใน
เมื่อเริ่มต้นกิจการออกแบบตกแต่งภายในเป็นของตนเอง แน่นอนว่าเจ้าของกิจการหวังอยากให้ธุรกิจเจริญเติบโต ยั่งยืน และสร้างมูลค่าเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามก็คือการสร้างหลักฐานทางการค้า เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับอาชีพนักออกแบบตกแต่งภายใน ซึ่งรูปแบบการจัดตั้งเป็นนิติบุคคลมีอะไรบ้าง สามารถอธิบายได้ดังนี้
1.ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคล คือ การที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ร่วมกันทำกิจการได้โดยมีวัตถุประสงค์แบ่งปันผลกำไรจากการธุรกิจนั้น ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลที่มีหุ้นส่วนประเภทเดียว
2.ห้างหุ้นส่วนจำกัด คือ การที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ร่วมกันทำกิจการ โดยมีวัตถุประสงค์แบ่งปันผลกำไรจากการธุรกิจนั้น ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนที่มีหุ้นส่วน 2 ประเภท คือ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดจะมีคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ รับผิดไม่เกินจำนวนเงินที่ลงหุ้นในห้างหุ้นส่วนจำกัด
และหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดจะมีคนเดียว หรือหลายคนก็ได้ รับผิดร่วมกันในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนทั้งหมด โดยกำหนดให้หุ้นส่วนผู้จัดการจะต้องเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด
3.บริษัทจำกัด คือ การที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปร่วมกันทำกิจการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไรจากการดำเนินกิจการนั้นมาแบ่งปันกัน โดยบริษัทจำกัดจะแบ่งทุนออกเป็นหุ้น มูลค่าหุ้นละเท่าๆ กัน ผู้ลงทุนในบริษัท เรียกว่า ผู้ถือหุ้น โดยผู้ถือหุ้นรับผิดไม่เกินจำนวนเงินที่ลงทุน
ขั้นตอนการจดบริษัทออกแบบตกแต่งภายใน
เมื่อกิจการตัดสินใจจดบริษัทออกแบบตกแต่งภายในเป็นนิติบุคคล ซึ่งรูปแบบที่นิยมที่สุดคือรูปแบบ “บริษัทจำกัด” ดังนั้น เอกสารและขั้นตอนในการจัดตั้งบริษัทจำกัด มีอะไรบ้าง สามารถอธิบายได้ดังนี้
เอกสารหลักฐาน
1.คำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัด
2.แบบคำรับรองจดทะเบียนบริษัทจำกัด
3.หนังสือบริคณห์สนธิ (แบบ บอจ.2) ผนึกอากรแสตมป์ 200 บาท
4.รายการจดทะเบียนจัดตั้ง (แบบ บอจ.3)
5.แบบวัตถุที่ประสงค์ (แบบ ว.)
6.รายละเอียดกรรมการ (แบบ ก.)
7.แบบแจ้งผลการจองชื่อนิติบุคคลที่ยังไม่ครบกำหนด
8.บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (แบบ บอจ.5)
9.สำเนาข้อบังคับผนึกอากร 200 บาท (ถ้ามี)
10.สำเนาหลักฐานการรับชำระค่าหุ้นที่บริษัทออกให้แก่ผู้ถือหุ้น
11.กรณีบริษัทจำกัดมีผู้ถือหุ้นเป็นคนต่างด้าวถือหุ้นในบริษัทจำกัดไม่ถึงร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียน หรือกรณีบริษัทจำกัดไม่มีคนต่างด้าวเป็นผู้ถือหุ้น แต่คนต่างด้าวเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามหรือร่วมลงนามผูกพันบริษัท ให้ส่งเอกสารหลักฐานที่ธนาคารออกให้ เพื่อรับรองหรือแสดงฐานะการเงินของผู้ถือหุ้นที่มีสัญชาติไทยแต่ละรายประกอบคำขอจดทะเบียน โดยเอกสารดังกล่าวต้องแสดงจำนวนเงินที่สอดคล้องกับจำนวนเงินที่นำมาลงหุ้นของผู้ถือหุ้นแต่ละราย
12.แบบ สสช. จำนวน 1 ฉบับ
13.แผนที่แสดงที่ตั้งสำนักงานใหญ่และสถานที่สำคัญบริเวณใกล้เคียงคร่าวๆ
14.สำเนาบัตรประจำตัวของผู้เริ่มก่อการและกรรมการทุกคน
15.สำเนาหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)
16.หนังสือมอบอำนาจ (กรณีที่ผู้ขอจดทะเบียนไม่สามารถยื่นขอจดทะเบียนได้ด้วยตนเองก็มอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน โดยทำหนังสือมอบอำนาจและผนึกอากรแสตมป์ด้วย)
สำเนาเอกสารประกอบคำขอจดทะเบียนทุกฉบับ ต้องให้ผู้ขอจดทะเบียนอย่างน้อย 1 คน รับรองความถูกต้อง ยกเว้นสำเนาบัตรประจำตัวหรือหลักฐานการเป็นผู้รับรอง
ขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 1 จองชื่อบริษัท สามารทำออนไลน์บนเว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ลงทะเบียนและกดจองชื่อหรือจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
ขั้นตอนที่ 2 จดทะเบียนหนังสือบริคณห์และยื่นต่อหน้าทะเบียน
ขั้นตอนที่ 3 จัดเตรียมเอกสารเพื่อจัดตั้งบริษัท
ขั้นตอนที่ 4 นำเอกสารที่เตรียมทั้งหมดไปยื่นจดทะเบียน
เงินทุนหมุนเวียน หัวใจสำคัญต่อการจดบริษัทออกแบบตกแต่งภายใน
อาชีพนักออกแบบตกแต่งภายใน (Interior designer) หากไม่ได้ประกอบกิจการในรูปแบบบริษัทนิติบุคคล ความน่าเชื่อถือจากลูกค้าจะลดน้อยลง เพราะในปัจจุบันการเซ็นสัญญาว่าจ้างตกแต่งภายในเป็นสิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับแรกและเป็นรูปแบบสากล ซึ่งในทุกที่ก็ปฏิบัติตามเหมือนกันหมด คือการจ่ายเงินมัดจำในงวดแรกในวันทำสัญญา เพราะจะได้จัดซื้อวัสดุมาเตรียมงานไว้ให้ จากเหตุผลข้างบนจึงทำให้ลูกค้ามีความกังวล เนื่องจากผู้รับเหมาออกแบบตกแต่งภายในรายย่อยๆ ที่มักทำความเสียหายไว้จากกรณีที่เบิกเงินแล้วไม่มาทำงานตามสัญญาที่ตกลงกันไว้
ดังนั้นความน่าเชื่อถือจึงถือว่าสำคัญมาก จนทำให้ปัจจุบันลูกค้าเลือกที่จะร่วมงานกับบริษัทที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เพราะเป็นรูปแบบบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือและมีทีมงานที่เชี่ยวชาญ รวมถึงการฟ้องร้องคดีความต่างๆ ก็สามารถทำได้ง่ายกว่า เนื่องจากการมีตัวตนในรูปแบบบริษัทและการเสียภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมาย
โดยใจความสำคัญมากกว่านั้นคือ การทำธุรกิจในรูปแบบบริษัท ต้องมีเงินลงทุนและสภาพคล่องที่ดี ที่จะบริหารจัดการสั่งซื้อวัสดุมาทำงานให้กับลูกค้าได้ โดยที่ไม่ต้องรอเบิกเงินเป็นงวดจากลูกค้า จึงทำให้งานเสร็จตรงตามเวลาที่กำหนดไว้ งานมีคุณภาพ และมีการรับประกันงานอีกด้วย
กล่าวโดยสรุป หากคิดจะทำธุรกิจให้คิดเสมอว่าเราเองเป็นลูกค้า ซึ่งธุรกิจต้องสามารถสร้างความน่าเชื่อถือ มีความเป็นมืออาชีพ ตอบโจทย์ลูกค้าได้ตรงจุด ดังนั้น การจดบริษัทออกแบบตกแต่งภายในเป็นนิติบุคคล น่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับการทำธุรกิจทางหนึ่ง