ตามหาพ่อค้าแม่ค้า online ที่อยากสัมมนาภาษี-บัญชี

เข้าร่วมไขความลับเรื่อง ภาษี-บัญชี รู้ทันสรรพากรภายใน 1 วัน
  ในงานสัมมนา “รู้ ครบ จบหมด บัญชีภาษี ธุรกิจขายของ online”

ค่าสัมมนา
4,900 บาท

พิสูจน์! บัญชีร้านอาหาร หากไม่ทำจะส่งผลเสียอย่างไร

บัญชีร้านอาหาร

เมื่อมนุษย์ทุกคนต้องยับยั้งความหิวด้วยการกิน จึงมีธุรกิจร้านอาหารเกิดขึ้นมากมาย ให้เราเลือกใช้บริการสรรหาของกินได้ตามความต้องการ ซึ่งเรื่องที่ตามมาเมื่อเปิดร้านอาหารตั้งแต่ขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ มีที่นั่งรับประทานแบบจริงจัง หากไม่มีการทำ บัญชีร้านอาหาร อาจไม่ส่งผลดีในหลายเรื่อง

เช่น ทำให้ไม่ทราบต้นทุนและกำไรที่แท้จริง ไม่สามารถวางแผนการดำเนินธุรกิจในอนาคตได้ โดยเฉพาะเรื่องของภาษี หากมีรายรับรายจ่ายสูง แต่ไม่ทำ บัญชีร้านอาหาร จะทำให้เกิดข้อผิดพลาดในการยื่นภาษีสูง และนำมาซึ่งการถูกเรียกเก็บภาษีย้อนหลังได้ 

ดังนั้น เจ้าของธุรกิจร้านอาหารที่หลายปีมานี้ไม่เคยทำบัญชีร้านอาหารเลย หรือที่กำลังจะเริ่มต้นธุรกิจนี้ มาพิสูจน์พร้อมกันว่าทำไมคุณควรทำ บัญชีร้านอาหาร  

เช็ก! รายจ่ายธุรกิจร้านอาหาร ก่อนคิดจะไม่ทำ บัญชีร้านอาหาร 

รายจ่ายของธุรกิจร้านอาหาร เป็นเรื่องที่จำเป็นสำหรับการทำ บัญชีร้านอาหาร ซึ่งปกติแล้วจะต้องมีการจดบันทึกรายจ่ายต่างๆ เหล่านี้ เพื่อให้ทราบต้นทุน กำไร และคำนวณภาษีที่ต้องเสียได้อย่างถูกต้อง โดยรายจ่ายที่เจ้าของธุรกิจร้านอาหารทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลต้องเจอ ประกอบด้วยดังนี้

1.รายจ่ายด้าน “วัตถุดิบ”

  รายจ่ายหลักของร้านอาหารมาจากค่าวัตถุดิบ ซึ่งค่าวัตถุดิบจะมีต้นทุนที่หลากหลายทั้งแพงและถูก แล้วแต่เจ้าของธุรกิจจะสามารถสรรหาวัตถุดิบมาจากแหล่งไหนได้บ้าง โดยถ้าหากขายอาหารได้มากก็จะยิ่งทำให้รายจ่ายในส่วนของต้นทุนวัตถุดิบสูงตามไปด้วย  

ดังนั้น หากไม่มีการบันทึกรายจ่าย ทำบัญชีร้านอาหารในส่วนนี้ไว้ จะทำให้ไม่สามารถคำนวณต้นทุนที่แท้จริงได้ และวางแผนจัดการควบคุมต้นทุนให้เหมาะสมกับรายรับได้ยาก  

2.รายจ่ายด้าน “การตลาด”

ปัจจุบันธุรกิจร้านอาหารจำเป็นต้องมีการทำตลาด เพื่อเพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจ ซึ่งเจ้าของธุรกิจจำเป็นต้องแบ่งเงินส่วนหนึ่งไว้เพื่อทำกาตลาดด้วย เช่น การลงโฆษณาผ่านช่องทางต่างๆ ย่อมมีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ หรือจัดโปรโมชั่นลด แลก แจก แถม ก็ต้องจัดสรรเงินไว้สำหรับโปรโมชั่นเหล่านี้ด้วย

ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการทำบัญชีร้านอาหาร เพื่อให้ทราบรายจ่ายในส่วนของการทำการตลาด หากมีการนำเงินในส่วนนี้ไปทำการตลาด แต่ไม่ได้ลงบันทึกไว้ โอกาสหลงลืมไม่ได้นำมาคำนวณภาษีก็มีสูงมาก 

และถ้าหากเจ้าของธุรกิจร้านอาหารที่จดบริษัทเป็นนิติบุคคล จ่ายค่าโฆษณาไป ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งกรมสรรพากร (สามารถเช็กภาษีร้านอาหารที่เจ้าของธุรกิจควรทราบได้จากบทความ “การจัดการ ภาษีร้านอาหาร ที่เจ้าของธุรกิจต้องรู้!”) หากไม่ทำบัญชีร้านอาหารจนลืมส่งหักภาษี ณ ที่จ่ายให้กับกรมรรพากร มีโอกาสถูกตรวจสอบย้อนหลังอย่างแน่นอน

3.รายจ่ายด้าน “ขนส่ง”

ในกรณีที่ร้านอาหารมีบริการส่งอาหารให้ลูกค้า ทางร้านอาหารอาจต้องรับภาระค่าส่งอาหาร หรือหากให้ลูกค้าเป็นผู้จ่ายค่าส่งเองก็ขึ้นอยู่กับการตกลงของทั้ง 2 ฝ่าย รวมถึงส่งอาหารผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ เช่น LINE MAN , Grab Food  จะต้องมีค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าบริการที่จ่ายให้กับบริษัทขนส่งด้วย 

ดังนั้น จะต้องบันทึกรายการแยกประเภทรายจ่ายในส่วนนี้ออกมา เพื่อให้ง่ายต่อการบริหารจัดการต้นทุน   

4.รายจ่ายด้าน “ค่าแรง”

แน่นอนว่าการเปิดร้านอาหาร จำเป็นต้องมีพนักงาน ไม่ว่าจะเป็นพ่อครัวแม่ครัว พนักงานเสิร์ฟ แคชเชียร์ และพนักงานแผนกอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจร้านอาหาร ซึ่งมีทั้งเป็นประจำรายเดือนและจ้างเป็นรายวัน ทำให้รายจ่ายในส่วนนี้เยอะอย่าแน่นอน 

ดังนั้น หากไม่มีการทำบัญชีร้านอาหาร จะทราบได้อย่างไรว่าจ่ายให้ใครไปเท่าไรบ้าง เมื่อถึงเวลายื่นภาษีก็ไม่สามารถระบุได้ชัดเจน ทำให้เสียโอกาสใช้ประโยชน์ทางภาษีไปโดยปริยาย

5.รายจ่ายด้านอื่นๆ

รายจ่ายที่ร้านอาหารทุกประเภทต้องเจอคือรายจ่ายในส่วนของค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอินเตอร์เน็ต หรือบางรายเช่าร้านเพื่อประกอบกิจการ ก็จะต้องเสียค่าเช่าร้านด้วย หากไม่มีการทำบัญชีร้านอาหารไว้ ไม่สามารถแจงรายละเอียดของค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้ ก็จะหมดสิทธิ์นำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อลดภาระทางภาษี  

 

การจัดทำบัญชี

เนื่องจากร้านอาหารมีหลายขนาด ซึ่งหากเป็นร้านอาหารขนาดเล็กเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีรายรับรายจ่ายไม่มาก อาจไม่ต้องทำบัญชีร้านอาหาร แต่จำเป็นต้องบันทึกรายรับรายจ่ายต่างๆ และเก็บเอกสารไว้ให้ครบในกรณีที่เลือกหักค่าใช้จ่ายตามจริง

ส่วนร้านอาหารขนาดกลางเรื่อยไปถึงขนาดใหญ่ มีรายรับรายจ่ายค่อนข้างสูง แนะนำว่าให้จดบริษัทเป็นนิติบุคคล และทำบัญชีร้านอาหารให้ถูกต้อง พร้อมผ่านการตรวจสอบบัญชีจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเท่านั้น ก่อนส่งงบการเงินให้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยจัดทำบัญชีหลักๆ ดังนี้  

– บัญชีรายรับยอดขาย 

– บัญชีรายจ่ายการสั่งซื้อวัตถุดิบ

– บัญชีรายจ่ายค่าใช่จ่ายประจำ

– บัญชีรายจ่ายค่าพนักงาน

– บัญชีรายจ่ายค่าการตลาด

โดยจะต้องแยกบัญชีรับเงินและจ่ายออกจากกัน เพื่อให้ง่ายต่อการเช็กเงินเข้าและออกได้ง่ายขึ้น ซึ่งปัจจุบันก็มีแอพพลิเคชั่นในการช่วยบันทึกให้ใช้งานได้สะดวกขึ้น รวมถึงอย่าลืมออกเอกสารรับเงินให้ครบถ้วน ออกใบกำกับภาษีหากจดทะเบียน VAT ไว้ และหากร้านอาหารได้จดทะเบียนบริษัทเป็นนิติบุคคล ต้องออกเอกสารหัก ณ ที่จ่าย เมื่อมีรายจ่ายด้านบริการ เพื่อให้การทำบัญชีร้านอาหารตรงกับเอกสารหลักฐานที่มี 

 

สรุป

จะเห็นได้ว่าในการประกอบธุรกิจร้านอาหาร มีรายละเอียดเยอะมาก โดยเฉพาะรายจ่ายที่มาจากหลายช่องทาง รายรับที่เข้ามาจำนวนมาก หากเจ้าของธุรกิจร้านอาหารไม่ให้ความสำคัญกับการทำบัญชีร้านอาหาร ทั้งร้านอาหารที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และที่จดบริษัทเป็นนิติบุคคล 

ย่อมมีโอกาสเกิดข้อผิดพลาดในการวางแผนดำเนินธุรกิจของตนเอง การคิดต้นทุน การหาช่องทางเพิ่มกำไร รวมถึงการควบคุมค่าใช้จ่ายของร้าน และหน้าที่ของผู้เสียภาษีตามที่กฎหมายกำหมดได้ อาจเลวร้ายถึงขั้นที่ต้องเสียภาษีย้อนหลังจำนวนมาก และค่าปรับโดยไม่จำเป็น