ตามหาพ่อค้าแม่ค้า online ที่อยากสัมมนาภาษี-บัญชี

เข้าร่วมไขความลับเรื่อง ภาษี-บัญชี รู้ทันสรรพากรภายใน 1 วัน
  ในงานสัมมนา “รู้ ครบ จบหมด บัญชีภาษี ธุรกิจขายของ online”

ค่าสัมมนา
4,900 บาท

รายได้เท่าไหร่ต้องยื่นภาษี & ถ้าไม่ยื่นจะเกิดอะไรขึ้น

คนอธิบายข้อมูลเกี่ยวกับรายได้และภาษี

เชื่อว่าหลายคนยังสับสน ไม่ค่อยเข้าใจ หรืออาจจะสับสนไปบ้างในเรื่องของการยื่นภาษี บางรายเข้าใจผิดว่าการ “ยื่นภาษี” ก็คือการ “เสียภาษี” แต่ความจริงแล้วแม้รายได้ทั้งปีของคุณไม่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี คุณก็ยังจำเป็นต้อง “ยื่นภาษี” อยู่ดี


ดังนั้น รายได้เท่าไหร่ต้องยื่นภาษี คำถามนี้จึงตอบได้ว่า… “หากคุณคือคนที่มีรายได้ คุณต้องยื่นภาษี” แล้วถ้าหากว่า “ไม่ยื่นภาษี”ได้มั้ย  คำตอบคือ “ไม่ต้องยื่นภาษีได้ ถ้ารายได้ของคุณเข้าตามเงื่อนไขที่กำหนด”

 

รายได้เท่าไหร่ต้องยื่นภาษี

ตามหลักการแล้ว ถ้ามีรายได้สุทธิถึงเกณฑ์ที่กำหนด หากไม่ยื่นภาษีถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย โดยต้องระวางโทษค่าปรับยื่นแบบล่าช้าตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากรดังนี้

  • ยื่นแบบล่าช้าไม่เกิน 7 วัน ค่าปรับ 100 บาท
  • ยื่นแบบล่าช้าเกิน 7 วัน ค่าปรับ 200 บาท
  • โทษปรับสูงสุดไม่เกิน 2,000 บาท

ซึ่งถ้าคำนวณแล้วมีเงินภาษีที่ต้องชำระ กรมสรรพากรจะคิดดอกเบี้ยเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ของยอดภาษีที่ต้องเสียต่อเดือน    

หากมีรายได้ แต่ไม่ยื่นภาษีได้มั้ย?

www.itax.in.th รวบรวมกรณีที่ถึงแม้มีรายได้ แต่ไม่ต้องยื่นภาษีหากรายได้ของคุณเข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้

  1. มีเงินเดือนประจำเพียงช่องทางเดียว โดยที่เงินเดือนไม่เกิน 120,000 บาทต่อปี หรือ 10,000 บาทต่อเดือน
  2. ตลอดทั้งปีมีรายได้ทางอื่นไม่เกิน 60,000 บาท หรือ 5,000 บาทต่อเดือน
  3. หากจดทะเบียนสมรส และทั้งคู่มีรายได้ทางเดียวจากเงินเดือน รวมกันแล้วทั้งปีไม่เกิน 220,000 บาท
  4. จดทะเบียนสมรสแล้ว แต่ทั้งคู่มีรายได้ทางอื่นด้วยรวมกันทั้งปีไม่เกิน 120,000 บาท หรือประมาณเดือนละ 10,000 บาท
  5. มีรายได้จากเงินปันผลกองทุนรวม แล้วใช้สิทธิ์ปล่อยให้ภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายเป็นภาษีสุดท้าย (Final Tax)
  6. มีรายได้จากดอกเบี้ยธนาคาร ดอกเบี้ยพันธมิตร ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ส่วนต่าง discount bond กำไรจากการขายตราสารหนี้ เงินปันผลของบริษัทห้างร้าน แล้วใช้สิทธิ์ปล่อยให้ภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายเป็นภาษีสุดท้าย (Final Tax)
  7. มีรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มา โดยทางอื่นที่ไม่ได้มุ่งหากำไร แล้วใช้สิทธิ์ปล่อยให้ภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายเป็นภาษีสุดท้าย (Final Tax
  8. มีรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นมรดกหรือมีคนให้มา แล้วใช้สิทธิ์ปล่อยให้ภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายเป็นภาษีสุดท้าย (Final Tax)

Final tax คือภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่กฎหมายให้สิทธิ์สำหรับรายได้ตามประเภทที่กำหนด ให้ผู้มีรายได้นำรายได้ประเภทนั้นมารวมคำนวณภาษีปลายปีหรือไม่รวมก็ได้

การคำนวณภาษีสำหรับผู้มีรายได้

หลังจากที่รู้แล้วว่าหากคุณมีรายได้คุณก็ต้องยื่นภาษี ทีนี้ลองมาเข้าใจวิธีคำนวณภาษีสำหรับบุคคลที่มีรายได้กันค่ะการที่คุณจะทราบได้ว่า มีรายได้เท่าไรต้องยื่นภาษีนั้น ต้องทราบก่อนว่าอาชีพของคุณจัดอยู่ในรูปแบบภาษีเงินได้ประเภท “บุคคลธรรมดา” หรือ “นิติบุคคล” ซึ่งหากคุณไม่ได้รับรายได้อยู่ในรูปแบบของบริษัทหรือนิติบุคคล ก็ต้องคิดภาษีตามหลักเกณฑ์ของบุคคลธรรมดา โดยที่คุณสามารถอ่านบทความวิธีคำนวณภาษีประเภทนิติบุคคลได้จาก “วางแผนภาษีแม่ค้าออนไลน์ยังไงให้เป๊ะ!”)

ต่อไปจะเป็นการคำนวณรายได้ที่เป็นฐานภาษี (รายได้สุทธิ) ซึ่งจะช่วยให้ผู้ที่มีรายได้ทุกอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นพนักงานประจำ ลูกจ้างชั่วคราว พ่อค้า แม่ค้า อาชีพอิสระต่างๆ รวมถึงร้านค้าขายของออนไลน์ (ที่ต้องยอมรับว่าอาชีพเหล่านี้ผุดขึ้นเป็นจำนวนมาก) สามารถนำไปใช้คำนวณตรวจเช็กว่าตนเองมีรายได้สุทธิเท่าไร เพื่อนำไปเปรียบเทียบตารางอัตราภาษี หากรายได้สุทธิถึงเกณฑ์กำหนด นอกจากต้องยื่นภาษีแล้ว ยังต้องเสียภาษีอีกด้วย (สามารถอ่านได้จากบทความ “รายได้เท่าไร…ต้องเสียภาษี”)

สูตรการคำนวณภาษีสำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ รายได้สุทธิ เท่ากับ รายได้ ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน

“รายได้” คือการนำรายได้ทั้งหมดตลอดทั้งปี ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน ค่าจ้างจากช่องทางอื่นๆ หรือหากเป็นการค้าขายทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์ ที่มีการทำบัญชีตลอด ก็จะทราบรายได้ของตนเองอยู่แล้ว  

“ค่าใช้จ่าย” รายได้ทั้งปีหักลบค่าใช้จ่าย ซึ่งหากมีรายได้เป็นเงินเดือน โบนัส ค่าจ้างทั่วไป สามารถหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 50% ของค่าใช้จ่าย แต่รวมทั้งหมดแล้วไม่เกิน 100,000 บาท
ส่วนพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ รายได้จากการขายของออนไลน์​จะถือเป็นเงินได้ประเภทที่ 8 หักค่าใช้จ่ายแบบเหมาจ่าย 60% หรือหักตามต้นทุนค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง แต่วิธีนี้ต้องเก็บหลักฐานค่าใช้จ่ายให้ครบถ้วนถูกต้อง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาภายหลังหากสรรพากรตรวจสอบพบ (รายละเอียดการหักค่าใช้จ่ายเงินได้แต่ละประเภทตามภาพด้านล่าง)

“ค่าลดหย่อน”

ค่าลดหย่อน สามารถแยกได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆคือ

  • กลุ่มเกี่ยวกับครอบครัว เช่น ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท ค่าเลี้ยงดูบิดา-มารดา 30,000 บาท 
  • กลุ่มเกี่ยวกับการประกันและการลงทุน เช่น เงินสมทบประกันสังคม 5,850 บาท ประกันสุขภาพบิดา-มารดา 15,000 บาท
  • กลุ่มเกี่ยวกับการบริจาค เช่น บริจาคเงินเพื่อสาธารณกุศล ลดหย่อนได้ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน
  • กลุ่มพิเศษ เช่น ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย 100,000 บาท

เมื่อหักลบตามขั้นตอนครบแล้ว ก็จะได้รายได้สุทธิมา เพื่อตรวจสอบว่ารายได้เท่าไรต้องยื่นภาษี หากคำนวณออกมายอดรายได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาท ต้องยื่นภาษีแต่ไม่ต้องเสียภาษี แต่ถ้ารายได้สุทธิมากกว่า 150,000 บาท จะมีภาษีที่ต้องเสียโดยเอารายได้สุทธินี้ไปคูณกับอัตราภาษีบุคคลธรรมดา(สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากบทความ “เจาะลึกภาษีบุคคลธรรมดา”)

ย้ำกันอีกครั้ง รายได้เท่าไรต้องยื่นภาษี คำตอบคือ ถ้ามีรายได้ต้องยื่นภาษี แต่จะสามารถไม่ต้องยื่นภาษีได้ เมื่อรายได้ของคุณเป็นไปตามเงื่อนไขตามที่กล่าวไปด้านบนนั่นเองค่ะ