ตามหาพ่อค้าแม่ค้า online ที่อยากสัมมนาภาษี-บัญชี

เข้าร่วมไขความลับเรื่อง ภาษี-บัญชี รู้ทันสรรพากรภายใน 1 วัน
  ในงานสัมมนา “รู้ ครบ จบหมด บัญชีภาษี ธุรกิจขายของ online”

ค่าสัมมนา
4,900 บาท

ระวัง! หากบริษัทนำเที่ยวไม่ขอ ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว

ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว

การประกอบกิจการเกี่ยวกับการนำเที่ยว หรือธุรกิจนำเที่ยว คือธุรกิจเกี่ยวกับการนำนักท่องเที่ยวเดินทางไปท่องเที่ยวหรือเดินทางไปเพื่อวัตถุประสงค์อื่น โดยจัดให้มีบริการหรือการอำนวยความสะดวกอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง ได้แก่ สถานที่พัก อาหาร มัคคุเทศก์ หรืออื่นๆ ซึ่งธุรกิจดังกล่าวนี้จะต้องขอ ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว ก่อนเริ่มดำเนินการ

โดยพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ.2551 กำหนดไว้ว่าการประกอบธุรกิจนำเที่ยว จะต้องได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว จากกรมการท่องเที่ยวเสียก่อน เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้รับความคุ้มครองจากการใช้บริการนำเที่ยวจากผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว ซึ่งสามารถดำเนินการได้ทั้งในรูปแบบที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล โดยต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติ

หลักการขอ ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว ในนามบุคคลธรรมดา 

หลักการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว สำหรับบริษัทที่ดำเนินกิจการในนามบุคคลธรรมดา ต้องมีคุณสมบัติและเอกสารที่ใช้ขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวดังนี้

คุณสมบัติของผู้ขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวในนามบุคคลธรรมดา

– มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี ในวันที่ยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว

– มีสัญชาติไทย

– มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรไทย

– ไม่เป็นบุคคลล้มละลายหรืออยู่ในระหว่างถูกพิทักษ์ทรัพย์

– ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ/คนไร้ความสามารถ/เสมือนไร้ความสามารถ

– ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวหรือใบอนุญาตมัคคุเทศก์

– ต้องไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวหรือใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ ในช่วงที่ยังไม่พ้นกำหนด 5 ปี นับถึงวันยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว 

เอกสารการจดทะเบียนขอใบอนุญาต 

– แบบคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวประเภทบุคคลธณรมดา (สธก.1)

– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ผู้ขอรับใบอนุญาต

– สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล (ถ้ามี)

– สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอรับใบอนุญาต

– รูปถ่ายด้านหน้าและด้านในสำนักงาน ประกอบด้วย

1) รูปถ่ายด้านหน้าสำนักงาน เห็นตัวอาคารทั้งหลัง โดยแสดงเลขที่ตั้งและป้ายชื่อสำนักงานชัดเจน (ป้ายชื่อต้องเป็นภาษาไทยและมีลักษณะคงทนถาวร)

2) รูปถ่ายด้านในสำนักงานอย่างละ 2 รูป (แบบล้างอัดภาพสี ขนาด 4×6 นิ้ว)

– แผนที่ตั้งสำนักงาน ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวลงลายมือชื่อ

– หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองสถานที่ที่ใช้เป็นสำนักงาน

– หนังสือมอบอำนาจผู้ขอรับใบอนุญาตลงลายมือชื่อ ติดอากรแสตมป์ 30 บาท พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ

– สำเนากรมธรรม์ประกันภัย ประกันอุบัติเหตุให้นักท่องเที่ยวมัคคุเทศก์ และผู้นำเที่ยวในความคุ้มครองตามที่กฎหมายกำหนดและมีอายุกรมธรรม์ไม่น้อยกว่า 1 ปี นับแต่วันที่ยื่นคำขอ

– เงินหลักประกันการปะกอบธุรกิจนำเที่ยว ประกอบด้วย

1) กรณีเป็นหนังสือค้ำประกันธนาคาร (ตามแบบที่กำหนด)

2) กรณีเป็นเงินสด/แคชเชียร์เช็คสั่งจ่ายกรมการท่องเที่ยว (กรณีเงินสด/แคชเชียร์เช็คให้นำสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนแสดงต่อธนาคาร 1 ฉบับ)

– ใบนำส่งหลักประกันจำนวน 2 แผ่น ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวลงลายมือชื่อ

– ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว และค่าธรรมเนียมประกอบธุรกิจนำเที่ยวรายสองปี

 

หลักการขอ ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว ในนามนิติบุคคล

หลักการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว สำหรับบริษัทที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ต้องมีคุณสมบัติ และเอกสารที่ใช้ขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวดังนี้

คุณสมบัติของผู้ขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวในนามนิติบุคคล

– เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทยที่มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินกิจการเกี่ยวกับการท่องเที่ยว

– ห้างหุ้นส่วน ผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย

– บริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด ทุนของบริษัทไม่น้อยกว่า 51% ต้องเป็นของบุคคลธรรมดา ซึ่งมีสัญชาติไทย และกรรมการของบริษัทเกินกึ่งหนึ่งต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย

– กรรมการหรือผู้มีอำนาจจัดการแทนนิติบุคคลต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม เช่น ไม่อยู่ระหว่างโดนพักใบอนุญาตหรือโดนเพิกถอนใบอนุญาตมาก่อน  

เอกสารการจดทะเบียนขอใบอนุญาต 

– แบบคำขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวประเภทนิติบุคคล (สธก.2)

–  หนังสือรับรองว่าบริษัทได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พร้อมวัตถุประสงค์ไม่เกิน 6 เดือน และที่อยู่ของสำนักงานสาขา (ถ้ามี)

– บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) ฉบับระชุมผู้ถือหุ้นปัจจุบันรับรองโดยการทรวงพาณิชย์ไม่เกิน 6 เดือน

– หนังสือบริคณห์สนธิ (บอจ.2) รับรองโดยกระทรวงพาณิชย์ไม่เกิน 6 เดือน

– ข้อบังคับของบริษัท หรือรายงานการประชุมจัดตั้งบริษัท (กรณีไม่มีข้อบังคับ) รับรองโดยกระทรวงพาณิชย์ไม่เกิน 6 เดือน   

– รายการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด (หส.2) รับรองโดยกระทรวงพาณิชย์ไม่เกิน 6 เดือน

– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจจัดการแทนและกรรมการทุกท่านพร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง

– สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล หรือเอกสารสำคัญการเปลี่ยนชื่อ-สกุลของกรรมการ/ผู้มีอำนาจจัดการแทน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (ถ้ามี)

– สำเนาทะเบียนบ้านของผู้มีอำนาจจัดการแทนและกรรมการทุกท่านพร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง

– รูปถ่ายด้านหน้าและด้านในสำนักงาน กรรมการ/ผู้มีอำนาจจัดการแทนลงลายมือชื่อและประทับตราบริษัท

1) รูปถ่ายด้านหน้าสำนักงาน เห็นตัวอาคารทั้งหลัง โดยแสดงเลขที่ตั้งและป้ายชื่อสำนักงานชัดเจน (ป้ายชื่อต้องเป็นภาษาไทยและมีลักษณะคงทนถาวร)

2) รูปถ่านด้านในสำนนักงาน อย่างละ 2 รูป (แบบล้างอัดภาพสี ขนาด 4×6 นิ้ว)

– แผนที่ตั้งสำนักงาน กรรมการ/ผู้มีอำนาจจัดการแทน ลงลายมือชื่อและประทับตราบริษัท

– หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองสถานที่ที่ใช้เป็นสำนักงาน

– สำเนากรมธรรม์ประกันภัย ประกันอุบัติเหตุให้กับนักท่องเที่ยว มัคคุเทศก์ และผู้นำเที่ยวในระหว่างเดินทางท่องเที่ยว

– หนังสือมอบอำนาจสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการ/ผู้มีอำนาจจัดการแทนลงลายมือชื่อและประทับตราบริษัท ติดอากรแสตมป์ 30 บาท พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ

 

ข้อควรปฏิบัติหลังจากได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว

หลังจากได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวแล้ว ผู้ประกอบการจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดดังนี้

– ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวต้องแสดงใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบธุรกิจนำเที่ยวที่ระบุไว้ในใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว

– ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวมีอายุ 2 ปี โดยผู้ประกอบการต้องต่อใบอนุญาต ดังนี้

1) ชำระค่าธรรมเนียมในการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว 2,000 บาท ทั้งแบบบุคคลธรรมดาและแบบนิติบุคคล 

2) ชำระค่าธรรมเนียมรักษาสถานภาพใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว 1,000 บาท ทุกๆ 2 ปี

    – ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงรายการประกอบธุรกิจนำเที่ยว เช่น เปลี่ยนชื่อบุคคลหรือนิติบุคคล เปลี่ยนแปลงที่ตั้งสำนักงาน เปลี่ยนชื่อสถานประกอบการ เปลี่ยนแปลงกรรมการ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวต้องยื่นเอกสารหลักฐานการเปลี่ยนแปลงต่อนายทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์กลาง

 

สรุป… ธุรกิจนำเที่ยวมีหน้าที่ต้องขอใบอนุญาต หากฝ่าฟืนมีโทษปรับ

ดังนั้น ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวจะต้องยื่นเอกสารขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวที่ สำนักงานทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์สาขาที่สถานที่ประกอบธุรกิจนำเที่ยวตั้งอยู่ หรือยื่นทางออนไลน์ผ่านเว็บไซต์กรมการท่องเที่ยว แต่ถ้าหากผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวดำเนินกิจการโดยไม่ขออนุญาต จะถือว่ามีความผิดโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท

และอย่าลืมว่านอกจากขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวแล้ว จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดในเรื่องของการจดทะเบียนอื่นๆ ด้วย รวมถึงภาษีที่เกี่ยวข้องกับการจดทะเบียนนั้นๆ ซึ่งสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากบทความ เมื่อไหร่ควร จดทะเบียนธุรกิจท่องเที่ยว และภาษีที่เกี่ยวข้อง