ตามหาพ่อค้าแม่ค้า online ที่อยากสัมมนาภาษี-บัญชี

เข้าร่วมไขความลับเรื่อง ภาษี-บัญชี รู้ทันสรรพากรภายใน 1 วัน
  ในงานสัมมนา “รู้ ครบ จบหมด บัญชีภาษี ธุรกิจขายของ online”

ค่าสัมมนา
4,900 บาท

บริษัท โฆษณาหัก ณ ที่จ่าย อย่างไร

โฆษณาหัก ณ ที่จ่าย …ปัจจุบันบริษัทโฆษณาหรือบริษัท Agency โฆษณา มีหลากหลายรูปแบบให้เจ้าของธุรกิจแบรนด์ต่างๆ เลือกใช้บริการมากมาย ด้วยความสามารถของบริษัทโฆษณาที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการคิด  วิเคราะห์ สร้างสรรค์ไอเดียแปลกใหม่ และการสื่อสารที่แตกต่าง สร้างความโดดเด่นเฉพาะตัวให้เป็นที่จดจำ รวมถึงตอบโจทย์และเข้าถึง insight ของกลุ่มเป้าหมาย 

นอกจากนี้ บริษัทโฆษณายังช่วยหาช่องทางหรือแพลตฟอร์มที่นำไอเดียที่คิดไปเสิร์ฟให้ถึงกลุ่มเป้าหมายที่ตรงกลุ่ม โดยจะช่วยบริหารช่องทางหรือแพลตฟอร์ม พร้อมวางแผนงบประมาณในการซื้อสื่อโฆษณาบนช่องทางหรือแพลตฟอร์มให้คุ้มค่า และมีประสิทธิภาพสูงสุด 

จึงสร้างความเชื่อมั่นให้กับเจ้าของแบรนด์ต่างๆ ในการตัดสินใจใช้บริการบริษัทโฆษณาเพื่อทำการโปรโมตสินค้าของตนเอง และเมื่อผู้ว่าจ้างในนามนิติบุคคลจ่ายค่าทำโฆษณาให้กับกิจการ จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ก่อนจ่ายเงินให้บริษัทโฆษณา ซึ่งหลักเกณฑ์ที่บริษัท โฆษณาหัก ณ ที่จ่าย จะแตกต่างกันไปตามอัตราที่กฎหมายกำหนด  

 

มาทำความรู้จักกับ…ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย  

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เป็นการเสียภาษีที่ผู้จ่ายต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล และหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ก่อนจ่ายเงินให้กับผู้รับเงินที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ซึ่งหลังจากที่นิติบุคคลหักภาษี ณ ที่จ่ายไปแล้ว จะต้องยื่น ภ.ง.ด.3 กับ ภ.ง.ด.53 โดยมีความแตกต่างกันคือ

– ภ.ง.ด.3 เป็นการหักภาษี ณ ที่จ่ายสำหรับบุคคลธรรมดา เช่น มีการจ้างลูกจ้างรายวันหัก 3%  

– ภ.ง.ด.53 เป็นการหักภาษี ณ ที่จ่ายสำหรับนิติบุคคล ทั้งบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

และนำเงินที่หักไว้ส่งให้กรมสรรพากร ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป หรือสามารถยื่นผ่านช่องทางออนไลน์ได้ถึงวันที่ 15 ของเดือนถัดไป 

ในกรณีบริษัทโฆษณาหรือบริษัท Agency โฆษณา ทั้งในนามบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล เมื่อได้รับเงินค่าทำโฆษณาจากลูกค้าหรือผู้ว่าจ้างที่จดทะเบียนบริษัทเป็นนิติบุคคล จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายอยู่ที่อัตรา 2%  

 

บริษัทโฆษณาหัก ณ ที่จ่าย ในรูปแบบไหนได้บ้าง

บริษัทโฆษณาหรือบริษัท Agency โฆษณา มีหน้าที่ในการยื่นแบบแสดงรายการ และเสียภาษี ดังนี้

รูปแบบการจ่าย

วิธีการเสียภาษี

หมายเหตุ

การจ่ายค่าโฆษณา (นิติบุคคล) ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 3 เตรส ในอัตรา 2% ยกเว้นกรณีรัฐบาลหรือองค์การของรัฐ เป็นผู้จ่ายเงินได้ ให้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายอัตรา 1% ของเงินได้ที่จ่ายตามมาตรา 50(4) และมาตรา 69ทวิ มาตรา 70 มาตรา 70ทวิ  -การจ่ายเงินได้ตามมาตรา 3 เตรส ตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย

-การจ่ายเงินได้ตามมาตรา 69ทวิ แห่งประมวลรัษฎากรตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย 

การจ่ายค่าจ้างแรงงาน หรือ ค่าตอบแทนการทำงานให้ 1.พนักงาน เจ้าหน้าที่ (เงินเดือน และ/หรือค่าตอบแทนอื่น) คำนวณเหมือนผู้รับเงินเดือน (หักตามอัตราก้าวหน้า) 

2.นิติบุคคลที่ได้รับค่าตอบแทนการหางานให้ตามจำนวนที่ได้รับ หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายอัตรา 3% 

-มาตรา 50(1) วรรค 1 แห่งประมวลรัษฎากร

-ท.ป. 4/2528

การจ่ายค่านายหน้า (นิติบุคคล) -จ่ายเป็นเงิน สินค้า หรือประโยชน์อื่นใด หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายอัตรา 3% -ท.ป.4/2528 มาตรา 70 มาตรา 70ทวิ 
การจ่ายค่าเช่าสถานที่ (นิติบุคคล) -หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย 5% ของเงินค่าเช่า -ท.ป. 4/2528
จ่ายค่าลิขสิทธิ์ วรรณกรรม ให้แก่ผู้รับซึ่งเป็น

1.บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย นอกจากระบุใน (2) หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้ในอัตรา 3%

2.มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้แต่ไม่รวมถึง มูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามมาตรา 47(7)
(ข) แห่งประมวลรัษฎากร หักภาษี ณ ที่จ่าย คำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 10%

ข้อ 3/2 คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528
ค่าจ้างแปล ให้แก่ผู้รับซึ่งเป็น

1.บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย นอกจากระบุใน (2) หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้ในอัตรา 3%

2.มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามมาตรา 47(7)
(ข) แห่งประมวลรัษฎากร หักภาษี ณ ที่จ่าย คำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 10%

ข้อ 3/1 คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528
ค่าจ้างนักเขียน ให้แก่ผู้รับซึ่งเป็น

1.บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย นอกจากระบุใน (2) หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้ในอัตรา 3%

2.มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามมาตรา 47(7)
(ข) แห่งประมวลรัษฎากร หักภาษี ณ ที่จ่าย คำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 10%

ข้อ 3/1 คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528
ค่าลิขสิทธิ์รายการ  ให้แก่ผู้รับซึ่งเป็น

1.บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย นอกจากระบุใน (2) หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้ในอัตรา 3%

2.มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามมาตรา 47(7)
(ข) แห่งประมวลรัษฎากร หักภาษี ณ ที่จ่าย คำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 10%

ข้อ 3/1 คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528
ค่าเช่าเวลาในการออกอากาศ ให้แก่ผู้รับซึ่งเป็น

1.บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย นอกจากที่ระบุใน (2) หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้ในอัตรา 3%

2.มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามมาตรา 47(7)
(ข) แห่งประมวลรัษฎากร หักภาษี ณ ที่จ่าย คำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 10%

ข้อ 3/2 คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528

กล่าวโดยสรุป บริษัทโฆษณาหรือบริษัท Agency โฆษณา จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราต่างๆ ตามรูปแบบการจ้างงานหรือใช้บริการ ส่วนกิจการที่จะทำโฆษณาหัก ณ ที่จ่ายได้ ก็ต่อเมื่อจดบริษัทเป็นนิติบุคคลแล้วเท่านั้น จึงจะสามารถหักภาษี ณ ที่จ่าย จากการจ่ายเงินตามรูปแบบบริการต่างๆ ในอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ และต้องจ้างทำบัญชีให้ถูกต้องเพื่อนำส่งกรมสรรพากรอีกด้วย