ตามหาพ่อค้าแม่ค้า online ที่อยากสัมมนาภาษี-บัญชี

เข้าร่วมไขความลับเรื่อง ภาษี-บัญชี รู้ทันสรรพากรภายใน 1 วัน
  ในงานสัมมนา “รู้ ครบ จบหมด บัญชีภาษี ธุรกิจขายของ online”

ค่าสัมมนา
4,900 บาท

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ธุรกิจผลิตและขายส่งสินค้า

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ธุรกิจผลิตและขายส่งสินค้า

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ธุรกิจผลิตและขายส่งสินค้า …ภาษีหัก ณ ที่จ่าย มีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจผลิตและขายส่งสินค้า ตั้งแต่การเริ่มต้นประกอบธุรกิจ ทั้งการเช่าหรือซื้อที่ดินเพื่อประกอบกิจการ การซื้อหรือค้นหาวัตถุดิบ การจ้างพนักงาน ไปจนถึงการมีรายได้จากการขายสินค้า ล้วนมีความเกี่ยวข้องกับภาษีหัก ณ ที่จ่ายทั้งสิ้น 

นอกจากนี้ผู้ประกอบการต้องดูว่ามีภาษีอะไรที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของตัวเองบ้าง และยังต้องทำความเข้าใจกับการคำนวณภาษีรวมถึงยื่นภาษีให้ถูกต้องอีกด้วย  แต่ในข้อมูลที่จะกล่าวถึงในบทความนี้จะเน้นในเรื่องของ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นหลัก มีอะไรบ้างลองมาศึกษาไปพร้อมๆ กันดังนี้ 

รู้จัก ภาษีหัก ณ ที่จ่าย แล้วหรือยัง 

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือ การเสียภาษีรูปแบบหนึ่ง ซึ่งผู้จ่ายที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล จะต้องหักไว้ก่อนจ่ายเงิน ให้กับผู้รับทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล จากนั้นนำเงินที่หักไว้ส่งให้สรรพากร

เช่นผู้ประกอบการมีการว่าจ้างพนักงาน หรือมีการเช่าสถานที่เพื่อเปิดกิจการ ก็ต้องมีหน้าที่หัก ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ธุรกิจผลิตและขายส่งสินค้าไว้ เช่น หากผู้ประกอบการมีการจ่ายเงินเดือนหรือโบนัส ให้แก่พนักงาน ทางผู้ประกอบการจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ โดยนำส่งด้วยแบบ ภ.ง.ด. 3 หรือ ภ.ง.ด. 53 เพื่อนำส่งกรมสรรพากร ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป 

นอกจากนี้ถ้าทางผู้ประกอบการมีการเช่าสถานที่เพื่อใช้ประกอบกิจการ โดยเช่าในนามนิติบุคคล เมื่อจ่ายค่าเช่าแล้ว จำเป็นต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ด้วยเช่นกัน หรือสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่บทความ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คืออะไร ทำไมก่อนจดบริษัทไม่เคยเจอ

กรณีไหนที่ถูกหัก ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ธุรกิจผลิตและขายส่งสินค้า

การทำธุรกิจผลิตและขายส่งสินค้าเพื่อจำหน่ายให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้ สามารถแยกธุรกิจที่ถูกหักภาษีหัก ณ ที่จ่าย ออกเป็น 2 กรณีด้วยกัน คือ 

1.กรณีมีรูปแบบการผลิตสินค้าเพื่อการขายและขายส่งสินค้า

-ผลิตสินค้าเพื่อจำหน่ายเป็นปกติอยู่แล้ว แม้ไม่มีการว่าจ้างเกิดขึ้น

-มีผู้ว่าจ้างได้ว่าจ้างให้ผู้ขายผลิตสินค้าที่มีรูปแบบ ขนาด แตกต่างจากที่ผู้ขายผลิตขายเป็นปกติอยู่แล้ว

-ในกรณีนี้ยังถือว่าเป็นการผลิตสินค้าเพื่อการขาย ไม่อยู่ในกรณีที่ต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย

2.กรณีธุรกิจรับจ้างผลิตสินค้า

-ไม่ได้เป็นผู้ผลิตเพื่อการจำหน่าย แต่รับผลิตตามคำสั่งของลูกค้า

-ไม่มีลูกค้าว่างจ้างก็ไม่มีการผลิตเพื่อจำหน่าย

-การรับจ้างผลิตสินค้าดังกล่าวถือเป็นการรับจ้างทำของ ซึ่งกรณีนี้ถือว่าต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้

 

ตัวอย่างธุรกิจผลิต ขายส่งสินค้า และการเสียภาษี หัก ณ ที่จ่าย

ตัวอย่างที่ 1 ในกรณีมีผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจผลิตและขายส่งน้ำดื่ม แต่ในวันหนึ่งมีลูกค้ามาสั่งให้ผลิตสินค้าตามรูปแบบที่ต้องการ โดยมีการสั่งทำแบบใช้วัตถุดิบของทางโรงงานเอง ซึ่งในกรณีดังกล่าวสามารถแยกการเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย ตามรูปแบบการสั่งงานผลิตดังนี้  หากวัตถุดิบเป็นของผู้ขาย ไม่ต้องหัก ณ ที่จ่าย และในกรณีวัตถุดิบเป็นของลูกค้า จะต้องเสียภาษี หัก ณ ที่จ่าย 3% เป็นค่าจ้างทำของ ถึงแม้ว่าจะมีการสั่งผลิตในแบบพิเศษ เช่น ใส่ logo ผู้ประกอบการไม่ต้องหัก ณ ที่จ่าย เพราะจุดมุ่งหมายคือ สินค้า

ตัวอย่างที่ 2 ในกรณีเป็นผู้ประกอบการที่เปิดบริษัทผลิตสินค้าและขายส่งของเด็กเล่นมานานหลายปี โดยมีการผลิตและขายส่งสินค้าเป็นปกติอยู่แล้ว แต่มีช่วงเวลาหนึ่งที่มีลูกค้าเข้ามาสั่งให้ผลิตของเล่นตามแบบที่ลูกค้าต้องการ โดยให้ใส่ logo บริษัทใส่ลงไปด้วย และลูกค้าจัดหาวัตถุดิบในการผลิตมาให้เป็นบางส่วนเท่านั้น แต่ในขั้นตอนการผลิตสินค้าผู้ประกอบการเป็นผู้ดำเนินการทั้งหมดจนถึงขั้นตอนสุดท้าย ถือว่าผู้ประกอบการผลิตสินค้าเพื่อขายเป็นปกติโดยไม่ได้รับจ้างผลิต จึงถือว่าไม่อยู่ในกฎข้อบังคับในการเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย

ตัวอย่างที่ 3 ผู้ประกอบการ A ผลิตและจำหน่ายสกรู นอต ตะปู เป็นปกติอยู่แล้ว แต่อยู่มาวันหนึ่งได้รับคำสั่งซื้อแม่พิมพ์โลหะสำหรับขึ้นรูป จากโรงงาน B ซึ่งโรงงาน B จะกำหนดและออกแบบแม่พิมพ์โลหะ เพื่อใช้ในกิจการก่อสร้างต่างๆ แต่เนื่องจากผู้ประกอบการ A ไม่ได้เป็นผู้ผลิตแม่พิมพ์โลหะเอง จึงต้องไปว่าจ้างให้โรงงาน C ช่วยผลิตแม่พิมพ์โลหะอีกทอดหนึ่ง ดังนั้นการที่โรงงาน B จ้างโรงงาน A ให้ผลิตแม่พิมพ์โลหะตามที่กำหนด จากข้อมูลดังกล่าวโรงงาน A มุ่งหวังผลให้งานสำเร็จเป็นสำคัญ จึงเข้าลักษณะเป็นการจ้างทำของ ซึ่งโรงงาน B จ่ายค่าจ้างให้กับโรงงาน A และมีหน้าที่หัก ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ไว้ที่ 3% 
   

กล่าวโดยสรุป ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ธุรกิจผลิตและขายส่งสินค้า หลักการหักภาษีจะต้องมีการวิเคราะห์ถึงจุดประสงค์ในการผลิต เช่น บางโรงงานมีการผลิตและขายส่งสินค้าอยู่แล้ว แต่ถ้าถูกว่าจ้างให้ผลิต แต่ใช้วัตถุดิบของผู้ว่าจ้างเป็นบางส่วนเท่านั้น ลักษณะนี้ในทางภาษีจะไม่ถูกหัก ภาษี ณ ที่จ่าย แต่ในทางกลับกันถ้าโรงงานนั้นเป็นโรงงานที่รับผลิตสินค้าโดยเฉพาะไม่ได้มีการผลิตเพื่อจำหน่ายเป็นปกติ แบบนี้โรงงานที่รับผลิตจะต้องถูกหัก ภาษีหัก ณ ที่จ่ายไว้ ทั้งนี้ถ้าผู้ประกอบการยังไม่มีความแม่นยำในเรื่องของภาษีหรือบัญชี สามารถเข้ามาปรึกษาสำนักงานบัญชีที่น่าเชื่อถือได้ เพื่อเป็นที่ปรึกษายามมีปัญหาจะได้แก้ไขได้ทันเวลา