ตามหาพ่อค้าแม่ค้า online ที่อยากสัมมนาภาษี-บัญชี

เข้าร่วมไขความลับเรื่อง ภาษี-บัญชี รู้ทันสรรพากรภายใน 1 วัน
  ในงานสัมมนา “รู้ ครบ จบหมด บัญชีภาษี ธุรกิจขายของ online”

ค่าสัมมนา
4,900 บาท

เปิดวิธี ทำบัญชีคลินิกเสริมความงาม ช่วยประหยัดภาษี

ทำบัญชีคลินิกเสริมความงาม

ทำบัญชีคลินิกเสริมความงาม …ใครๆ ต่างก็ยอมรับว่าธุรกิจเสริมความงามเป็นอาชีพที่สร้างรายได้สูงให้กับเจ้าของธุรกิจ จนมีผู้คนสนใจเปิดคลินิกเสริมความงามกันอย่างล้นหลาม ทั้งที่เป็นแพทย์มาเปิดคลินิกของตนเอง หรือคนทั่วไปที่เห็นช่องทางรวยจึงเปิดคลินิกเสริมความงาม โดยเลือกมีหุ้นส่วนที่เป็นแพทย์เวชกรรม และมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม เพื่อให้สามารถขอใบอนุญาตประกอบสถานพยาบาลได้ 

แต่เท่านั้นยังไม่เพียงพอกับการทำธุรกิจเสริมความงาม เพราะยังต้องมีการ ทำบัญชีคลินิกเสริมความงาม ด้วย เนื่องจากรายได้และรายจ่ายของคลินิกเสริมความงามค่อนข้างเยอะ เอกสารค่อนข้างมาก แม้ว่าผู้ประกอบการจะดำเนินกิจการในนามบุคคลธรรมดา ซึ่งสามารถเลือกหักแบบเหมา 60% ได้ แต่เมื่อคำนวณดีๆ แล้วอาจพบว่าการหักค่าใช้จ่ายแบบตามจริงจะช่วยลดภาษีได้มากกว่า 

ดังนั้น คลินิกเสริมความงามทั้งในนามบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล จึงจำเป็นต้อง ทำบัญชีคลินิกเสริมความงาม โดยแนวทางได้สรุปไว้ในบรรทัดต่อจากนี้  

 

การบันทึกรายได้สำหรับ ทำบัญชีคลินิกเสริมความงาม

รายได้จากการให้บริการและขายสินค้าที่เกี่ยวข้องกับคลินิกเสริมความงาม ผู้ประกอบการต้องทำบัญชีคลินิกเสริมความงามด้วย โดยแยกประเภทรายได้ที่เข้ามาว่าอยู่ประเภทไหน และต้องออกเอกสารใบเสร็จรับเงินอย่างไร ยิ่งถ้าหากรายได้ที่เข้าข่ายต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จะต้องทำรายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ส่งให้กรมสรรพากร (อ่านข้อมูลเพิ่มได้ที่บทความ เงื่อนไขลักษณะใด คลินิกเสริมความงามยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม”)   

ส่วนการบันทึกรายได้จากการให้บริการของคลินิกเสริมความงาม ผู้ประกอบการต้องรับรู้รายได้เป็นจำนวนครั้งที่ลูกค้าเข้ารับบริการ อย่าเช่น แพ็จเกจรักษาผิวหน้า 6,000 บาท สามารถเข้าใช้บริการได้ 6 ครั้ง กิจการต้องนำ 6,000 บาท หารด้วย 6 ครั้ง = 1,000 บาท/ครั้ง 

นั่นหมายความว่าผู้ประกอบการต้องรับรู้รายได้ตามจำนวนครั้งละ 1,000 บาท ที่ลูกค้าเข้าใช้บริการ โดยเงินที่ได้รับในครั้งแรกให้รับรู้ว่าเป็นรายได้รับล่วงหน้าไว้ก่อน หลังจากที่ลูกค้าเข้าใช้บริการแต่ละครั้ง จึงค่อยตัดรับรู้รายได้ทีละครั้งตามระยะเวลา เพื่อให้เป็นการรับรู้รายได้ที่สอดคล้องกับต้นทุน 

 

การบันทึกรายจ่ายสำหรับ ทำบัญชีคลินิกเสริมความงาม

หลักการบันทึกรายจ่ายสำหรับการทำบัญชีคลินิกเสริมความงาม ผู้ประกอบการต้องทราบก่อนว่าต้นทุนของกิจการมีอะไรบ้าง เช่น ค่าแรงพนักงาน ค่าเช่าร้าน อุปกรณ์ภายในร้าน ค่าแรงของเจ้าของกิจการ ค่าแรงจากการจ้างแพทย์มาดูแลลูกค้า หรือมีแพทย์ประจำที่รับเป็นเงินเดือน ควรมีการทำบัญชีเงินเดือนเพื่อเก็บประวัติแพทย์และพนักงานอื่นๆ ไว้ สำหรับประโยชน์ในเรื่องของประกันสังคม และการหักภาษี ณ ที่จ่าย

อย่างเช่นการหักภาษี ณ ที่จ่าย แพทย์ที่ได้รับเงินเดือนเป็นพนักงานประจำ จะคำนวณตามอัตราภาษีก้าวหน้า และต้องขึ้นทะเบียนประกันสังคมให้กับพนักงานภายใน 30 วัน หลังจากรับเข้าทำงาน พร้อมกับหักเงินบางของเงินเดือนพนักงาน และอีกส่วนหนึ่งของนายจ้างส่งให้กับประกันสังคม หรือบางกรณีที่มีการจ่ายค่าคอมมิชชั่นให้กับ Sales ที่มีการขายแพ็กเกจให้ลูกค้า ค่าคอมมิชชั่นอาจจะจ่ายคอมมิชชั่นตามระยะเวลาในการรับรู้รายได้ คือตัดจ่ายตามระยะเวลาที่ลูกค้ามาใช้บริการ เพื่อให้ Sales ได้ดูแลลูกค้าอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้จะมีรายจ่ายจากการสต็อกสินค้า เช่น วิตามิน โบท็อกซ์ ฟิลเลอร์ ซึ่งในทางบัญชีเรียกว่าสินค้าคงเหลือ เมื่อมีการนำมาใช้จะต้องเปลี่ยนเป็นรายจ่ายในกลุ่มประเภทต้นทุนขายของกิจการ ที่สำคัญต้องมีเอการประกอบครบถ้วน เพื่อความสะดวกต่อการบันทึกบัญชีและภาษี

 

การบันทึกบัญชีสำหรับเครื่องมือทางการแพทย์

ปกติคลินิกเสริมความงามจะมีเครื่องไม้เครื่องมือทางการแพทย์เพื่อให้บริการกับลูกค้า ซึ่งอุปกรณ์ต่างๆ ล้วนมีราคาสูง เช่น เครื่องเทอร์มาจ (Thermage) เพื่อลดริ้วรอย เครื่องอัลเทอรา (Ulthera) เครื่องไฮฟู (HIFU) เพื่อยกกระชับ ปรับใบหน้าให้เรียวสวย  

โดยรายจ่ายเครื่องมือทางการแพทย์เหล่านี้ ถือเป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ซึ่งมีอายุการใช้งานนานหลายปี จึงสามารถคิดเป็นค่าเสื่อมอุปกรณ์ได้ อย่างเช่นอุปกรณ์ที่เป็นชิ้นใหญ่มีน้ำหนักมาก สามารถนำมาตัดเป็นค่าเสื่อมตามอายุการใช้งานอย่างน้อย 5 ปี หรือมีค่าปีละไม่เกินร้อยละ 20 หลังจากหักมูลค่าซาก

ดังนั้น ผู้ประกอบการจะต้องทำบัญชีคลินิกเสริมความงามในส่วนของเครื่องมือทางการแพทย์ด้วย เพื่อนำมาบันทึกเป็นค่าเสื่อมอุปกรณ์ โดยจะต้องแยกบัญชีเครื่องมือทางการแพทย์ ออกมาแสดงต่างหากจากอุปกรณ์อื่นๆ และเมื่อเริ่มต้นบันทึกบัญชีควรมีเอกสารต่างๆ ในการซื้อเครื่องมือทางการแพทย์เก็บไว้ให้ครบถ้วน ได้แก่ ใบสั่งซื้อ ใบแจ้งหนี้ ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี   

ที่สำคัญเครื่องมือทางการแพทย์จะต้องซื้อในนามกิจการเท่านั้น ห้ามซื้อสินทรัพย์ในนามส่วนตัว เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ทางภาษีได้อย่างเต็มที่ และถูกต้องตามกฎหมาย จึงจะนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายและหักเป็นค่าเสื่อมราคาได้

แต่ในกรณีที่ซื้อเป็นสินทรัพย์ส่วนตัว แต่นำมาใช้ในคลินิกเสริมความงามจริง จะเข้าข่ายอยู่ในกลุ่มของการเช่า สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้แต่ไม่ควรสูงเกินกว่าปกติ และค่าเช่านี้ผู้ให้เช่าจะต้องนำไปรวมเป็นรายได้เพื่อยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย

 

สรุป

การทำบัญชีคลินิกเสริมความงาม ถือเป็นเรื่องที่จำเป็นสำหรับกิจการ เพราะจะทำให้ทราบความเคลื่อนไหวของรายรับ รายจ่าย กำไร ขาดทุน เพื่อวางแผนการดำเนินงานในอนาคตได้ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ และหากเป็นคลินิกเสริมความงามที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เมื่อถึงช่วงที่ต้องใช้บริการตรวจสอบบัญชีจากผู้สอบบัญชีอิสระ โอกาสที่งบการเงินผิดพลาดต้องกลับมาแก้ไขก็จะน้อยลง เกิดความสะดวกรวดเร็วในการยื่นงบการเงินและภาษี และทำให้ประหยัดภาษีได้มากโขด้วย