ตามหาพ่อค้าแม่ค้า online ที่อยากสัมมนาภาษี-บัญชี

เข้าร่วมไขความลับเรื่อง ภาษี-บัญชี รู้ทันสรรพากรภายใน 1 วัน
  ในงานสัมมนา “รู้ ครบ จบหมด บัญชีภาษี ธุรกิจขายของ online”

ค่าสัมมนา
4,900 บาท

เงื่อนไขลักษณะใด คลินิกเสริมความงามยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

คลินิกเสริมความงามยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

คลินิกเสริมความงาม เปรียบเสมือนยาอายุวัฒนะสำหรับคนรักสุขภาพและความสวย ซึ่งการเลือกเดินเข้าคลินิกเสริมความงามแต่งแต้มเติมสวยให้กับตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการนวดหน้า นวดตัว ดูแลผิวพรรณ โบท็อกซ์ ร้อยไหม เป็นต้น ล้วนสร้างรายได้ให้กับเจ้าของธุรกิจอย่างเป็นกอบเป็นกำ 

โดยรายได้จากการประกอบธุรกิจเสริมความงามนี้ ผู้ประกอบการมีหน้าที่ต้องเสียภาษี และภาษีที่ค่อนข้างสร้างความสับสนให้กับผู้ประกอบการที่สุดคือ “ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)” ซึ่งส่วนใหญ่จะเข้าใจว่า คลินิกเสริมความงามยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

แต่ความจริงแล้วมีทั้งที่ได้ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม และบางอย่างต้องนำมารวมเป็นรายได้เพื่อคำนวณจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หากรายได้จากส่วนนั้นเกิน 1.8 ล้านบาท ดังนั้น ลักษณะบริการและขายสินค้าแบบไหนที่ คลินิกเสริมความงามยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม บ้าง ไปหาคำตอบพร้อมกัน

       

รายได้ลักษณะใด คลินิกเสริมความงามยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

อย่างที่เกริ่นไปบ้างแล้วว่า คลินิกเสริมความงามจะมีความสับสนเรื่องของภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากคลินิกเสริมความงามจะมีทั้งบริการและขายสินค้าควบคู่ไปด้วยหลายอย่าง ดังนั้น รายได้ที่เข้ามาจึงมีหลายรูปแบบ ทำให้ลักษณะบริการและขายสินค้าสำหรับ คลินิกเสริมความงามยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม แตกต่างกันตามหลักการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มดังนี้

1.รายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องเป็นรายได้จากการประกอบกิจการสถานพยาบาล โดยกิจการต้องได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล ซึ่งได้ให้บริการแก่ผู้ป่วย ณ สถานประกอบการตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล เช่น การทำศัลยกรรม ฉีดสิว จึงจะเข้าลักษณะเป็นการให้บริการรักษาพยาบาลของสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล และได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม 

2.รายได้ที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม คือรายได้อื่นๆ ของคลินิกที่ได้รับโดยไม่ต้องมีข้อแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เช่น การขายอาหารเสริม ขายครีมบำรุง หรือหากกิจการไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล การให้บริการดังกล่าวทั้งหมดจะไม่เข้าลักษณะเป็นการให้บริการรักษาพยาบาลของสถานพยาบาลตามกฎหมาว่าด้วยสถานพยาบาล 

จึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม และเป็นการประกอบกิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อมีรายได้เหล่านี้เกิน 1.8 ล้านบาทขึ้นไปต่อปี ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม คิด VAT 7% และออกใบกำกับภาษีทุกครั้งที่ได้รับเงินจากลูกค้า

ทั้งนี้ หากแยกตามประเภทบริการและสินค้าที่ขายในคลินิกเสริมความงาม เช่น นวดหน้า นวดตัว สปา รักษาสิว ฝ้า กระ โบท็อกซ์ ร้อยไหม ดูแลผิวพรรณ รวมถึงศัลยกรรมตกแต่ง สามารถแยกประเภทได้ดังนี้  

– รายได้เกี่ยวกับสิว ฉีดสิว ลดรอยสิว แผลเป็นจากสิว ครีมบำรุง และรักษาสิว ฝ้า กระ รอยด่างดำ 

– รายได้จากการฉีดโบท็อกซ์ ร้อยไหม ฉีดสารเติมเต็ม

รายได้จากค่าฉีดบำรุงด้วยวิตามิน ล้างสารพิษ เมโสหน้าใส

– รายได้จากการขายครีมสำหรับทาหลังทำศัลยกรรม

– รายได้ค่าขายอาหารเสริม

รายได้ทั้งหมดนี้หากเป็นรายได้จากการประกอบกิจการสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล และอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดว่าด้วยสถานพยาบาลกำหนด จะถือว่าเป็นรายได้ของสถานพยาบาลทั้งหมด และคลินิกเสริมความงามยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

แต่หากกคลินิกเสริมคงามงามไม่ได้ประกอบกิจการภายใต้กฎหมายสถานพยาบาล อย่างเช่นขายอาหารเสริมโดยไม่ได้มีข้อแนะนำจากแพทย์ผู้รักษาพยาบาลอดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ถือเป็นรายได้ที่อยู่ในเงื่อนไขต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม  

 

รูปแบบกิจการแบบไหน คลินิกเสริมความงามยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

นอกจากมุมของรายได้ที่คลินิกเสริมความงานยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว หากแบ่งตามประเภทการเสียภาษีเงินได้ของคลินิก ซึ่งประกอบด้วย 1) ประกอบกิจการในนามบุคคลธรรมดา และ 2) ประกอบกิจการในนามนิติบุคคล มีความแตกต่างจากการแยะประเภทตามรายได้เล็กน้อย ซึ่งสามารถอธิบายได้ดังนี้ 

1.ประกอบกิจการในนามบุคคลธรรมดา

– หากผู้ประกอบการได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล ตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ถือเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 6 หรือมาตรา 40(6) ซึ่งจะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงไม่สามารถยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ 

และในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สามารถหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ 60% ของเงินได้

– หากผู้ประกอบการคลินิกเสริมความงามในนามบุคคลธรรมดา ไม่ได้มีการขอใบอนุญาตให้ประกอบกิจการถานพยาบาล รายได้ที่ได้รับทั้งหมดถือเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8 หรือมาตรา 40(8) ซึ่งเป็นรายได้ที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องนำมาเป็นรายได้เพื่อคำนวณจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

ส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สามารถหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ 60% หรือหักค่าใช้จ่ายตามจริงและตามสมควร 

2.ประกอบกิจการในนามนิติบุคคล

การประกอบกิจการคลินิกเสริมความงามในนามบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล มีหลักเกณฑ์พิจารณาภาษีมูลค่าเพิ่มเหมือนกับกิจการคลินิกเสริมความงามในนามบุคคลธรรมดา 

ส่วนแพทย์ที่ได้รับเงินได้จากบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สามารถแยกประเภทรายได้แตกต่างกันดังนี้

หากเป็นลูกจ้างได้รับเงินเดือนค่าจ้าง ถือเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 หรือมาตรา 40(1)

– หากได้รับเงินได้ขั้นต่ำ โดยไม่คำนึงว่าจะทำการรักษาพยาบาลหรือไม่ ถือเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่  2หรือมาตรา 40(2)

– หากได้รับเงินจากการเปิดคลินิกในสถานพยาบาลของตนเอง ถือเป็นเงินได้พึงประเมินประเภททที่ 6 หรือมาตรา 40(6)   

– หากเป็นธุรกิจสุขภาพ เช่น ฟิตเนส อาหาเสริม นวดหน้า เครื่องสำอางหรือสมุนไพร ไม่ว่าจะประกอบธุรกิจโดยบุคคลธรรมดา หรือบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล รายได้ที่ได้รับจากการประกอบกิจการเหล่านี้ ถือเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 40(8) และต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม  

 

สรุป

เมื่อทราบกันแล้วว่าคลินิกเสริมความงามยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มลักษณะใดบ้าง ผู้ประกอบธุรกิจคลินิกต้องทำความเข้าใจรายได้ที่เข้ามาให้ได้ว่าจัดอยู่ประเภทไหน และออกเอกสารใบกำกับภาษีให้ถูกต้อง โดยเฉพาะรายได้ที่เข้าข่ายต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องมีการทำบัญชีอย่างถูกต้องและเคร่งครัด ได้แก่ ทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย การทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบ เป็นต้น  

และยื่นภาษีมูลค่าเพิ่มโดยนำส่ง ภ.พ.30 ในแต่ละเดือนภาษีแก่กรมสรรพากร ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ไม่ว่าจะมีรายได้จากการประกอบกิจการหรือไม่ เพื่อให้การดำเนินงานของคลินิกเสริมความงามไปถึงจุดหมายที่ตั้งไว้แบบไม่มีสะดุด