ตามหาพ่อค้าแม่ค้า online ที่อยากสัมมนาภาษี-บัญชี

เข้าร่วมไขความลับเรื่อง ภาษี-บัญชี รู้ทันสรรพากรภายใน 1 วัน
  ในงานสัมมนา “รู้ ครบ จบหมด บัญชีภาษี ธุรกิจขายของ online”

ค่าสัมมนา
4,900 บาท

รายได้เกิน 1.8 ล้าน เพิ่งรู้ตัว… ทำไงดี?

รายได้เกิน 1.8 ล้าน

สิ่งที่ผู้มีรายได้จากการประกอบอาชีพอิสระ การขายสินค้าออนไลน์ ฟรีแลนซ์ รับทำเป็นงานๆ ไป หรืออีกหลายๆ อาชีพ มักจะหลงลืมคือเมื่อ รายได้เกิน 1.8 ล้าน จะต้องทำการยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) 

เนื่องจากกฎหมายมีการกำหนดให้ผู้มีรายได้จากการขายหรือให้บริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ยื่นแบบ ภ.พ.01) ภายใน 30 วัน นับจากวันที่มี รายได้เกิน 1.8 ล้าน ซึ่งถ้าหากใครรู้ตัวเร็วรีบยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ก่อนหมดเวลากำหนด ก็หายห่วงเรื่องการถูกปรับภาษีย้อนหลัง และหลังจากวันที่ยื่นขอจด VAT แล้วต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มทุก ๆ เดือน นับตั้งแต่วันที่ยื่นจดทะเบียนเป็นต้นไป

แต่หากใครที่ รู้ตัวอีกทีก็พบว่ามีรายได้เกิน 1.8 ล้าน  และเกิน 30 วันไปแล้วด้วย ทำไงดี? จะไม่ยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเลยได้ไหม แบบนี้ถ้ากรมสรรพากรตรวจสอบพบ จะต้องเสียค่าปรับนับตั้งแต่วันแรกที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้าน จนถึงวันที่ยื่นขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือสรรพากรตรวจพบ โดยต้องเสียเบี้ยปรับตั้งแต่ 2-20% และเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือน

ดังนั้น เมื่อมีรายได้เกิน 1.8 ล้าน แล้วยื่นขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ทัน แนะนำว่าเมื่อรู้ตัวแล้ว ควรดำเนินการขอจดทะเบียนให้ถูกต้องโดยควรดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้

ทั้งนี้ การจด VAT นั้น สามารถจดได้ทั้งในรูปแบบบุคคลธรรมดา และรูปแบบนิติบุคคล ถือเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผู้ประกอบการต้องพิจารณาว่าจะยื่นจด VAT ในรูปแบบบุคคลธรรมดาหรือบริษัทนิติบุคคล เพราะทั้ง 2 แบบมีความแตกต่างกัน ซึ่งหากต้องการคำปรึกษาสามารถติดต่อให้เราช่วย พร้อมเป็นธุระในเรื่องจดทะเบียนบริษัทนิติบุคคลได้

กระทั่งเมื่อวางแผนภาษีและเลือกรูปแบบธุรกิจได้แล้ว คุณสามารถเตรียมเอกสารให้ครบ เตรียมเงินค่าปรับให้พร้อม และไปขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้เลย

รายได้เกิน 1.8 ล้าน ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้างเพื่อจดภาษีมูลค่าเพิ่ม

เมื่อผู้มีรายได้รู้ตัวเองว่ามีรายได้เกิน 1.8 ล้าน จะต้องรีบไปยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้ เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นจดทะเบียนนั้นประกอบด้วย

  1. แบบคำขอจดทะเบียน ภ.พ.01 จำนวน 3 ฉบับ
  2. ภ.พ.01.1 จำนวน 3 ฉบับ (ใช้เฉพาะกรณีรายได้ยังไม่เกิน 1.8 ล้านบาทแต่อยากจดทะเบียนก่อน)
  3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านกรรมการผู้มีอำนาจ หรือผู้ประกอบการ 1 ฉบับ
  4. สำเนาทะเบียนบ้านที่ใช้ตั้งเป็นสถานประกอบการ 1 ฉบับ
  5. รูปภาพสำนักงานทั้งภายในและภายนอก อย่างน้อย 4 ภาพ จำนวน 2 ชุด
  6. แผนที่ 2 ชุด
  7. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทพร้อมวัตถุประสงค์ / สำเนาใบทะเบียนพาณิชย์ / ภาพถ่ายหนังสือการจัดตั้งคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล 1 ฉบับ
  8. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีกรรมการไม่ได้ดำเนินการยื่นเอกสารจดทะเบียนด้วยตัวเอง) 1 ฉบับ
  9. สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนของเจ้าของสถานที่ 1 ฉบับ (กรณีไม่ใช่เจ้าของสถานที่)
  10. หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ 1 ฉบับ (กรณีไม่ใช่เจ้าของสถานที่และไม่ได้เช่า)

 

โดยสามารถขอจดภาษีมูลค่าเพิ่มได้ที่ กองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ หรือสำนักงานสรรพากรสาขาต่างๆ ตามพื้นที่สาขาที่สถานประกอบการตั้งอยู่ หรือจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากร

ตัวอย่างกรณียื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มล่าช้า

ในกรณีที่ผู้มีรายได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ทันกำหนด ขั้นตอนต่อไปคือเช็ก statement หากว่ารายได้เกิน 1.8 ล้าน ในวันไหน จากนั้นให้นำรายได้ที่เริ่มเกินมาคำนวณ โดยนำรายได้ต่อเดือน x7% เพื่อนำส่ง ภ.พ.30 สำหรับยอดรายได้ตั้งแต่ ณ วันที่รายได้เกิน 1.8 ล้าน นอกจากนี้ยังมีเบี้ยปรับและเงินเพิ่มที่เกิดจากการยื่นล่าช้าอีกด้วย ลองดูตัวอย่างเพิ่มเติมด้านล่างนี้กันค่ะ

ตัวอย่าง นายเอเริ่มประกอบธุรกิจขายสินค้าทาง platform online ในรูปแบบบริษัทวันที่ 1 มกราคม 2563 ยังไม่เคยมีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเนื่องจากรายได้ต่อปียังไม่เกิน 1.8 ล้าน 

  • วันที่ 15 สิงหาคม 2564 เป็นวันที่รายได้รวมเกิน 1.8 ล้านบาท >> ต้องยื่นภ.พ.30 ตั้งแต่วันที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้าน 
  • นายเอ เพิ่งทราบว่ารายได้เกิน และยื่นจดทะเบียน VAT วันที่ 1 ธันวาคม 2564 >> ภาษีซื้อสามารถนำไปเคลมได้ ณ วันที่จด VAT ก่อนหน้านั้นยังใช้ไม่ได้

 

ทั้งนี้ หากสมมุติผลประกอบการของนายเอคือ 4,000,000 บาท นำมาเข้าสูตรคำนวณจากโปรแกรมคำนวณ VAT เพื่อหาภาษี ค่าปรับ เงินเพิ่มที่นายเอต้องเสียเนื่องจากมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท แต่ไม่ได้ไปขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าพิ่ม สามารถคำนวณออกมาได้ดังนี้

โดยจะพบว่านายเอต้องเสียภาษี ค่าปรับ และเงินเพิ่มเป็นเงินสูงถึง 469,560 บาท ซึ่งใครที่อยากทดลองแบบประเมินสามารถกดเพิ่มเพื่อน แล้วโหลดแบบทดสอบไปใช้ได้ ฟรี!  

 

อยากออกจากระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม…ต้องทำยังไง

  • หากผู้ประกอบการเลิกกิจการ สามารถแจ้งยกเลิกภาษีมูลค่าเพิ่มได้โดยยื่นแบบ ภ.พ.09 เพื่อแจ้งเลิกประกอบกิจการแก่สรรพากร
  • หากผู้ประกอบการเลิกกิจการ สามารถแจ้งยกเลิกภาษีมูลค่าเพิ่มได้โดยยื่นแบบ ภ.พ.09 เพื่อแจ้งเลิกประกอบกิจการแก่สรรพากร

  1. มีรายได้ตลอดทั้งปีไม่ถึง 1.8 ล้าน ติดต่อกัน 3 ปี
  2. กิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม และผู้ประกอบการเคยขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปี และมีมูลค่าของฐานภาษีต่ำกว่า 1.8 ล้าน ต่อปีมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน

 

ตอนนี้ใครที่รู้ตัวว่า รายได้เกิน 1.8 ล้าน และเกินกำหนดเวลาจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ต้องรีบเตรียมเอกสาร คำนวณค่าภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องจ่าย และค่าปรับจากการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มล่าช้า ไปยื่นจดภาษีมูลค่าเพิ่มให้ถูกต้อง อย่ามัวนิ่งเฉยรอให้ทางกรมสรรพากรตรวจสอบเจอเอง นอกจากจะต้องเสียเบี้ยปรับ 2-20% เงินเพิ่ม 1.5% และยังต้องเสียค่าปรับตามกฎหมายอีกด้วย