ตามหาพ่อค้าแม่ค้า online ที่อยากสัมมนาภาษี-บัญชี

เข้าร่วมไขความลับเรื่อง ภาษี-บัญชี รู้ทันสรรพากรภายใน 1 วัน
  ในงานสัมมนา “รู้ ครบ จบหมด บัญชีภาษี ธุรกิจขายของ online”

ค่าสัมมนา
4,900 บาท

ภาษีมูลค่าเพิ่มอัญมณี นำเข้ามาขายแบบไหนไม่เสีย VAT

ภาษีมูลค่าเพิ่มอัญมณี

ภาษีมูลค่าเพิ่มอัญมณี …ธุรกิจอัญมณีเป็นอุตสาหกรรมที่มีการส่งออกสูงเป็นอับดับต้นๆ ของสินค้าส่งออกประเทศไทย รวมถึงการนำเข้าอัญมณีก็เพิ่มขึ้นทุกปี โดยมีแหล่งการนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ อินเดีย ฮ่องกง อิสราเอล เบลเยียม สหรัฐฯ มาเลเซีย เป็นต้น และมีประเทศอินเดีย ฮ่องกง สหรัฐฯ เป็นแหล่งนำเข้าสำคัญในหลายสินค้าย่อย 

รวมถึงมีประเทศอิสราเอล เบลเยียม บอตสวานา เป็นแหล่งนำเข้าสำคัญสำหรับเพชร ส่วนศรีลังกาและบราซิล เป็นแหล่งนำเข้าสำคัญสำหรับสินค้าประเภทรัตนชาติและกึ่งรัตนชาติ นอกจากนี้ยังมีเครื่องประดับแท้ที่มีแหล่งนำเข้าที่สำคัญคืออิตาลี สิงคโปร์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์   

โดยตั้งแต่ปี พ.ศ.2560 รัฐบาลไทยได้ยกเว้น ภาษีมูลค่าเพิ่มอัญมณี ซึ่งยกเว้นการเก็บอากรขาเข้าของวัตถุดิบ และเครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการผลิตเครื่องประดับ รวมถึงมีการยกเว้นอากรขาเข้าทั้งหมด สำหรับวัตถุดิบอย่างเพชรหรือพลอยที่ยังไม่เจียระไน เครื่องเจียระไนเพชรพลอย และอุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมอัญมณี หากมีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขดังนี้

ภาษีมูลค่าเพิ่มอัญมณี นำเข้าแบบไหนยกเว้น VAT     

กรณีที่ธุรกิจอัญมณีมีรายได้จากการขายอัญมณีเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี จะต้องยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มอัญมณีกับกรมสรรพากร แต่ถ้ามีรายได้ไม่ถึง 1.8 ล้านบาท แล้วประสงค์จะเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มอัญมณี รวมถึงต้องการนำเข้าวัตถุดิบหรือส่งออกอัญมณี ก็ต้องยื่นขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากรด้วยเช่นกัน

แต่ทั้งนี้หากเป็นอัญมณีประเภทเพชรพลอย ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน โอปอล นิล เพทาย ไพฑูรย์ หยก ไข่มุก และอัญมณีที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน รวมทั้งสิ่งทำเทียมวัตถุดังกล่าว หรือที่ทำขึ้นใหม่เฉพาะที่ยังไม่ได้ประกอบขึ้นเป็นตัวเรือนหรือของรูปพรรณ เพื่อใช้ในการผลิตอัญมณีที่เป็นเครื่องประดับ หรือของใช้ต่างๆ และการนำเข้าหรือการขายทองคำขาว ทองขาว เงิน และพาลาเดียม เฉพาะที่ยังไม่ได้ประกอบขึ้นเป็นของรูปพรรณของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มหากเป็นไปตามลักษณะการนำเข้าอัญมณีดังนี้

1.เป็นการนำเข้าหรือภารขายเพชรพลอย ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน โอปอล นิล เพทาย ไพฑูรย์ หยก ไข่มุก และอัญมณีที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน รวมทั้งสิ่งทำเทียมวัตถุดังกล่าวหรือที่ทำขึ้นใหม่ เฉพาะที่ยังไม่ได้ประกอบขึ้นเป็นตัวเรือนหรือของรูปพรรณ เพื่อใช้ในการผลิตอัญมณีที่เป็นเครื่องประดับ หรือของใช้ใดๆ และการนำเข้าหรือการขายทองคำขาว ทองขาว เงิน และพาลาเดียม เฉพาะที่ยังไม่ได้ประกอบขึ้นเป็นของรูปพรรณของ “ผู้ประกอบการจดทะเบียน” ที่จะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

2.คุณสมบัติของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่จะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าหรือการขายสินค้าตามข้อ 1 ต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติดังนี้

– เป็นสมาชิกสมาคมอัญมณีสมาคมใดสมาคมหนึ่ง หรือเป็นสมาชิกหอการค้าไทย หรือเป็นสมาชิกสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย หรือเป็นสมาชิกสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

– มีความมั่นคงและน่าเชื่อถือ

– ได้แจ้งการประกอบกิจการต่ออธิบดีกรมสรรพากรตามแบบแจ้งการประกอบกิจการนำเข้าหรือขายอัญมณี ทองคำขาว ทองขาว เงิน และพาลาเดียม ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ ในท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ ในกรณีที่มีสถานประกอบการหลายแห่ง ให้ยื่นที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ ในท้องที่ที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่

3.ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งนำเข้าสินค้าดังกล่าว ต้องแสดงเอกสารหรือหลักฐานเกี่ยวกับการนำเข้าต่อเจ้าพนักงาน ตอนยื่นใบขนสินค้าเพื่อผ่านพิธีการศุลกากร โดยต้องระบุรายการดังต่อไปนี้ในใบขนสินค้าขาเข้า

– ชื่อ ที่อยู่ผู้นำเข้าที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

– ประเภท ชนิด ปริมาณ น้ำหนักต่อหน่วย และมูลค่าต่อหน่วยของสินค้าที่นำเข้า

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่นำเข้าเพชรพลอย หรือสินค้าต่างๆ ดังที่กล่าวมาแล้ว จะต้องจัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบสำหรับสินค้าที่นำเข้า ทั้งสินค้าที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม และที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มรวมกันในรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ซึ่งอย่างน้อยต้องระบุวันที่นำเข้า เลขที่ใบขน ประเภท ชนิด ปริมาณ น้ำหนักต่อหน่วย และมูลค่าต่อหน่วยของสินค้าที่นำเข้าในรายงานดังกล่าว

และต้องจัดทำรายงานภาษีซื้อ โดยต้องระบุวันที่นำเข้า เลขที่ใบขน ประเภท ชนิด ปริมาณ น้ำหนักต่อหน่วย และมูลค่าต่อหน่วยของสินค้าที่นำเข้าในสมุดรายงานภาษีซื้อด้วย

4.ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มจากการขายสินค้าดังกล่าว จะต้องขายสินค้าที่นำเข้าตามข้อ 3 หรือขายสินค้าที่ซื้อจากผู้ประกอบการจดทะเบียนตามข้อ 2 ให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามข้อ 2 โดยต้องจัดทำใบส่งของและระบุรายการดังต่อไปนี้ในใบส่งของ

– ชื่อ ที่อยู่ผู้ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เป็นผู้ซื้อ

– ประเภท ชนิด ปริมาณ น้ำหนักต่อหน่วย และมูลค่าต่อหน่วยของสินค้าที่ขาย

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าดังกล่าว ต้องจัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบสำหรับสินค้าที่ขาย ทั้งสินค้าที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม และที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมกันในรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ซึ่งต้องระบุวัน เดือน ปี ที่ออกใบส่งของ เลขลำดับของเล่ม (ถ้ามี) และเลขที่ของใบส่งของในรายงานดังกล่าว

และต้องจัดทำสมุดรายงานภาษีขาย โดยต้องระบุชื่อ ที่อยู่ผู้ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นผู้ซื้อ ประเภท ชนิด ปริมาณ น้ำหนักต่อหน่วย และมูลค่าต่อหน่วยของสินค้าที่ขาย ในสมุดรายงานภาษีขายดังกล่าวด้วย

5.ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งซื้อสินค้าตามข้อ 1 ไม่ว่าจะเป็นการซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียนตามข้อ 2 ที่นำเข้าสินค้าตามข้อ 1 โดยตรง หรือซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียนตามข้อ 2 ซึ่งไม่ใช่ผู้นำเข้าสินค้าตามข้อ 1 โดยตรง

ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นผู้ซื้อ จัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบสำหรับสินค้าที่ซื้อ ทั้งสินค้าที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม และที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมกันในรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ซึ่งต้องมีข้อความระบุวัน เดือน ปี ที่ออกใบส่งของ เลขลำดับของเล่ม (ถ้ามี) และเลขที่ของใบส่งของในรายงานดังกล่าว และต้องจัดทำสมุดรายงานภาษีซื้อ โดยต้องระบุรายการดังต่อไปนี้ในสมุดรายงานดังนี้

– ชื่อ ที่อยู่ผู้ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นผู้ขาย

– ประเภท ชนิด ปริมาณ น้ำหนักต่อหน่วย และมูลค่าต่อหน่วยของสินค้าที่ซื้อ

6.ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม จากการนำเข้าหรือการขายสินค้าดังกล่าว ต้องจัดเก็บใบส่งของและใบขนสินค้าที่ผู้ประกอบการจดทะเบียน ได้รับจากการซื้อหรือการนำเข้าอัญมณีซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อประกอบการลงรายงานสินค้าและวัตถุดิบเป็นรายเดือนภาษี โดยแยกต่างหากจากเอกสารหลักฐานอื่น ไว้ที่สถานประกอบการเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี

7.ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าหรือการขายสินค้าดังกล่าว ต้องคำนวณราคาสินค้าคงเหลือ ณ วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดยใช้วิธีการทางบัญชีที่รับรองทั่วไป และเมื่อใช้วิธีการใดแล้วให้ใช้วิธีการนั้นตลอดไป เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้เปลี่ยนแปลงได้

8.กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียน ซึ่งแจ้งการประกอบกิจการต่ออธิบดีกรมสรรพากรตามข้อ 2 ได้มีการนำเข้าหรือการขายสินค้ารายการใดตามข้อ 1 แต่ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ดังที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด ผู้ประกอบการจดทะเบียนดังกล่าวจะไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการนำเข้าหรือการขายสินค้ารายการนั้น

9.กรณีที่มีปัญหาในการปฏิบัติ ให้อธิบดีกรมสรรพากรมีอำนาจวินิจฉัย และคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรให้ถือเป็นหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด

 

สรุป…เงื่อนไขยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มอัญมณี 

กิจการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มอัญมณี ที่มีการนำเข้าหรือขายสินค้าประเภทเพชรพลอย ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน โอปอล นิล เพทาย ไพฑูรย์ หยก ไข่มุก และอัญมณีที่มีลักษณะเดียวกัน สิ่งทำเทียมวัตถุดังกล่าวหรือที่ทำขึ้นใหม่ ทองคำขาว ทองขาว เงิน และพาลาเดียม เฉพาะที่ยังไม่ได้ประกอบขึ้น จะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มอัญมณี 

แต่มีเงื่อนไขว่าจะต้องเป็นสมาชิกสมาคมอัญมณีสมาคมใดสมาคมหนึ่ง, สมาชิกหอการค้าไทย, สมาชิกสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย หรือเป็นสมาชิกสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และต้องแสดงหลักฐานการนำเข้ากับเจ้าพนักงานตอนยื่นใบขนสินค้าเพื่อผ่านพิธีการศุลกากร 

ทั้งนี้ หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งนอกจากจะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มนำเข้าอัญมณีแล้ว กฎหมายกำหนดให้ผู้ประกอบการธุรกิจอัญมณีต้องใช้บริการนักบัญชีที่มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อยื่นนำส่ง ภ.พ.36 แก่กรมสรรพากรทุกเดือนด้วย