ตามหาพ่อค้าแม่ค้า online ที่อยากสัมมนาภาษี-บัญชี

เข้าร่วมไขความลับเรื่อง ภาษี-บัญชี รู้ทันสรรพากรภายใน 1 วัน
  ในงานสัมมนา “รู้ ครบ จบหมด บัญชีภาษี ธุรกิจขายของ online”

ค่าสัมมนา
4,900 บาท

เปิดร้านทองต้องจดทะเบียนอะไรบ้าง ทำไมต้องโอนกิจการ

เปิดร้านทองต้องจดทะเบียนอะไรบ้าง

โดยหลักการเมื่อ เปิดร้านทองต้องจดทะเบียนอะไรบ้าง ซึ่งส่วนใหญ่ร้านทองที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เนื่องจากส่วนใหญ่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี แม้ว่าความจริงแล้วรายได้ส่วนใหญ่จะคือต้นทุนและค่าใช้จ่ายมากกว่ากำไรที่ได้เพียงน้อยนิด แต่ก็นับเป็นรายได้ทั้งหมด 

และเมื่อมีรายได้สูงย่อมมาพร้อมกับภาษีที่สูงสุดถึง 35% ทำให้อนาคตกิจการร้านทองอาจต้องพิจารณาจดทะเบียนนิติบุคคล เพื่อให้คำนวณภาษีจากกำไรสุทธิสูงสุด 20% จะประหยัดภาษีมากกว่า และจะต้องทำการโอนกิจการก่อนจดเป็นนิติบุคคล โดยกิจการยังมีหน้าที่เสียภาษีบุคคลธรรมดาตอนสิ้นปีเป็นรอบสุดท้ายด้วย  

ดังนั้น หลักการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลของกิจการร้านทองโดยเฉพาะที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่แล้ว ควรให้สำนักงานบัญชีจดบริษัทให้ เนื่องจากมีหลายขั้นตอนที่ค่อนข้างซับซ้อน กิจการต้องทำความเข้าใจก่อนตัดสินใจจดทะเบียนบริษัท  

วิธีการโอนกิจการร้านทอง เพื่อจดทะเบียนนิติบุคคล 

เปิดร้านทองต้องจดทะเบียนอะไรบ้าง ซึ่งเรื่องแรกจะเกี่ยวข้องกับเรื่องการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการโอนกิจการร้านทอง โดยผู้โอนกิจการที่เป็นบุคคลธรรมดา และเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่แล้ว ต้องการโอนกิจการทั้งหมดให้ผู้รับโอนกิจการที่เป็นนิติบุคคล ทั้งผู้โอนกิจการและผู้รับโอนกิจการต้องแจ้งจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนี้

1.ด้านผู้โอนกิจการ

ต้องยื่นคำขอแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แจ้งการโอนกิจการทั้งหมด และแจ้งการเลิกประกอบกิจการ พร้อมกับคืนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ หน่วยจดทะเบียนที่สถานประกอบการหรือสำนักงานใหญ่ของผู้โอนตั้งอยู่ในปัจจุบัน ก่อนวันโอนกิจการไม่น้อยกว่า 15 วัน

2.ด้านผู้รับโอนกิจการ

2.1 กรณีผู้รับโอนกิจการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องยื่นคำขอแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ หน่วยจดทะเบียนที่สถานประกอบการหรือสำนักงานใหญ่ของผู้รับโอนตั้งอยู่ในปัจจุบัน ก่อนวันรับโอนกิจการทั้งหมดไม่น้อยกว่า 15 วัน

2.2 กรณีผู้รับโอนกิจการไม่ใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และยื่นคำขอแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อแจ้งรับโอนกิจการทั้งหมด ณ หน่วยจดทะเบียนที่สถานประกอบการหรือที่เป็นสำนักงานใหญ่ของผู้รับโอนตั้งอยู่ ก่อนวันรับโอนกิจการทั้งหมดไม่น้อยกว่า 15 วัน

การจัดตั้งเป็นนิติบุคคลของผู้รับโอนกิจการ

เปิดร้านทองต้องจดทะเบียนอะไรบ้าง ต่อมาคือเรื่องของการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล โดยประเภทของนิติบุคคลที่นิยมจดทะเบียนประกอบด้วย

1.บริษัทจำกัด ได้แก่ บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ร่วมกันทำกิจการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไรจากการดำเนินกิจการนั้นมาแบ่งปันกัน โดยบริษัทจำกัดจะแบ่งทุนออกเป็นหุ้น มูลค่าหุ้นละเท่าๆ กัน ผู้ลงทุนในบริษัท เรียกว่า “ผู้ถือหุ้น” โดยผู้ถือหุ้นรับผิดไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ

2.ห้างหุ้นส่วนจำกัด ได้แก่ การที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ร่วมกันทำกิจการโดยมีวัตถุประสงค์แบ่งปันผลกำไรจากการกระทำกิจการนั้น ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนที่มีหุ้นส่วน 2 ประเภท คือ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิด จะมีคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ รับผิดไม่เกินจำนวนเงินที่ตนลงหุ้นในห้างหุ้นส่วนจำกัด 

และหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดจะมีคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ รับผิดร่วมกันในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนทั้งหมด โดยกำหนดให้หุ้นส่วนผู้จัดการจะต้องเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด

3.ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ได้แก่ การที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ร่วมกันทำกิจการโดยมีวัตถุประสงค์แบ่งปันผลกำไรจาการกระทำกิจการนั้น ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนที่มีผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทเดียว คือ หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด 

โดยหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดร่วมกันในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนทั้งหมด ห้างหุ้นส่วนสามัญจะจดทะเบียนหรือไม่ก็ได้ ถ้าจดทะเบียนจะเรียกว่า ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล และมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย
(สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเภทนิติบุคคลได้จากบทความ “บริษัทจำกัด – ห้างหุ้นส่วนจำกัด – ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล” ต่างกัน! จดทะเบียนนิติบุคคล แบบไหนดี )

 

เอกสารประกอบคำขอจดทะเบียนนิติบุคคล

ตามหลักเกณฑ์และเอกสารประกอบคำขอจดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติบุคคล กรณีที่มีทุนเกินกว่า 5 ล้านบาท จำเป็นต้องเตรียมเอกสารประกอบการขอจดทะเบียน เพื่อให้เป็นไปด้วยความถูกต้องตรงกับข้อเท็จที่ขอจดทะเบียน ดังนี้ 

1.ชำระค่าลงหุ้นหรือค่าหุ้นด้วยเงิน

1.1  ให้จัดส่งเอกสารหลักฐานที่ธนาคารออกให้เพื่อรับรอบหรือแสดงว่าหุ้นส่วนผู้จัดการ หรือกรรมการที่มีอำนาจลงนามคนใดคนหนึ่ง ได้รับชำระเงินลงหุ้นหรือเงินค่าหุ้นตามที่ชำระไว้แล้ว พร้อมคำขอจดทะเบียนจัดตั้ง

 1.2 เมื่อนายทะเบียนมีคำสั่งรับจดทะเบียนแล้ว ให้จัดส่งเอกสารหลักฐานที่ธนาคารออกให้ เพื่อรับรองหรือแสดงว่าได้รับชำระเงินลงหุ้นหรือเงินค่าหุ้น ที่หุ้นส่วนผู้จัดการหรือกรรมการเก็บรวบรวมเก็บรักษาไว้แล้วตามข้อ 1.1  ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่นายทะเบียนมีคำสั่งรับจดทะเบียน

2.ชำระค่าลงหุ้นหรือค่าหุ้นด้วยทรัพย์สิน

2.1 ให้จัดส่งหนังสือยืนยันของผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินว่าจะโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจำกัด หรือหนังสือยืนยันว่าจะให้ห้างหุ้นส่วนใช้ทรัพย์สิน พร้อมคำขอจดทะเบียนจัดตั้ง

2.2 เมื่อนายทะเบียนมีคำสั่งรับจดทะเบียนแล้ว ให้จัดส่งเอกสารดังต่อไปนี้ภายใน 90 วัน

2.2.1 ทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สินที่มีทะเบียน ให้ส่งสำเนาหลักฐานซึ่งแสดงว่าห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจำกัดเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์

2.2.2 ทรัพย์สินประเภทอื่น ให้ส่งสำเนาบัญชีแสดงรายละเอียดและมูลค่าทรัพย์สินที่นำมาลงทุน

2.2.3 ทรัพย์สินซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนนำมาให้ห้างหุ้นส่วนใช้แทนการลงหุ้น ให้จัดส่งสัญญาให้ใช้ทรัพย์สิน

กรณีเพิ่มทุน 

 

สรุป 

สรุปสุดท้ายการ เปิดร้านทองต้องจดทะเบียนอะไรบ้าง นั้น หลักๆ ประกอบด้วยการ “จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม” และ “การจดทะเบียนนิติบุคคล” โดยจะต้องมีการโอนกิจการเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งการขอจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล สามารถติดต่อที่หน่วยงายในสังกัดของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าทุกจังหวัด ทั่วประเทศ 

และเมื่อจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว จะได้รับเลขทะเบียนนิติบุคคล 13 หลัก ซึ่งจะใช้เป็นเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของกรมสรรพากรด้วย