ตามหาพ่อค้าแม่ค้า online ที่อยากสัมมนาภาษี-บัญชี

เข้าร่วมไขความลับเรื่อง ภาษี-บัญชี รู้ทันสรรพากรภายใน 1 วัน
  ในงานสัมมนา “รู้ ครบ จบหมด บัญชีภาษี ธุรกิจขายของ online”

ค่าสัมมนา
4,900 บาท

“บริษัทจำกัด – ห้างหุ้นส่วนจำกัด – ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล” ต่างกัน! จดทะเบียนนิติบุคคล แบบไหนดี

จดทะเบียนนิติบุคคล

การทำธุรกิจเมื่อมาถึงจุดที่เริ่มเติบโต ย่อมต้องมีการลงทุนเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีรายได้และรายจ่ายเพิ่มขึ้นตามไปด้วย จากที่เคยบริหารเพียงคนเดียวแบบบุคคลธรรมดาอาจไม่เพียงพอ ต้องหาหุ้นส่วนและทีมงานเข้ามาช่วยเสริมทัพ และการ จดทะเบียนนิติบุคคล ก็จะแวบเข้ามาในความคิดของเจ้าของธุรกิจอย่างแน่นอน
แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่มีแนวคิดจะ จดทะเบียนนิติบุคคล เจ้าของธุรกิจต้องศึกษาข้อมูลรูปแบบนิติบุคคลเสียก่อน เพราะถึงแม้การจดทะเบียนนิติบุคคลจะไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก็ไม่ควรมองข้าม เนื่องจากขั้นตอน การเตรียมเอกสาร และเงื่อนไขต่างๆ ค่อนข้างเยอะ ซึ่งก่อนตัดสินใจสามารถปรึกษาจากสำนักงานบัญชี หรือให้ทางสำนักงานบัญชีดำเนินการจดทะเบียนนิติบุคคลให้ ก็จะสะดวกกว่า

 

 

ทั้งนี้ การจดทะเบียนนิติบุคคลสามารถทำได้ 3 แบบ คือ

1.บริษัทจำกัด

2.ห้างหุ้นส่วนจำกัด

3.ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล

 

โดยแต่ละแบบมีความแตกต่างในรายละเอียดพอสมควร เจ้าของธุรกิจต้องพิจารณาแบบที่เหมาะกับธุรกิจของตนเองก่อนดังนี้

บริษัทจำกัด

บริษัทจำกัด เป็นรูปแบบที่มีผู้นิยมจดทะเบียนนิติบุคคลมากที่สุด โดยเงื่อนไขสำหรับผู้ที่ต้องการจดทะเบียนนิติบุคคลแบบ “บริษัทจำกัด” คือ

– ต้องมีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป (กฎหมายใหม่ มีผลบังใช้วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2566)

– แบ่งทุนออกเป็นหุ้นละเท่าๆ กัน หุ้นจะต้องมีราคาไม่น้อยกว่าหุ้นละ 5 บาท ต่อ 1 หุ้น หรือรวมแล้วทุนขั้นต่ำ 10 บาท

– ผู้ถือหุ้นทุกคนจะรับผิดชอบในหนี้สินกิจการ เฉพาะในส่วนที่ต้องชำระเงินทุนตามค่าหุ้นที่ได้จดทะเบียนไว้เท่านั้น หากชำระครบแล้ว ผู้ถือหุ้นไม่ต้องรับผิดชอบในหนี้สินที่เกิดขึ้นในกิจการอีก

– บริหารงานโดยคณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้ง

ห้างหุ้นส่วนจำกัด

ห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการจดทะเบียนนิติบุคคล โดยเงื่อนไขสำหรับผู้ที่ต้องการจดทะเบียนนิติบุคคลแบบ “ห้างหุ้นส่วนจำกัด” คือ

– ต้องมีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป

– ไม่มีกำหนดทุนขั้นต่ำ

– ผู้ถือหุ้นมี 2 แบบคือ

1) “จำกัด” ความรับผิด คือรับผิดชอบตามเงินลงทุนของตนเอง แต่จะไม่มีสิทธิ์ตัดสินใจในกิจการ มีสิทธิ์เพียงสอบถามการดำเนินงานของกิจการได้

2) “ไม่จำกัด” ความรับผิด คือรับผิดชอบหนี้สินทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากกิจการ โดยมีสิทธิ์ตัดสินใจต่างๆ ในกิจการได้อย่างเต็มที่ (หุ้นส่วนผู้จัดการจะต้องเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด)

ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล

ห้างหุ้นส่วนสามัญ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1) ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน จัดอยู่ในรูปแบบบุคคลธรรมดา

2) ห้างหุ้นส่วนสามัญแบบจดทะเบียน เรียกว่าห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล

โดยเงื่อนไขสำหรับผู้ที่ต้องการจดทะเบียนนิติบุคคลแบบ “ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล” คือ

– ไม่มีกำหนดทุนขั้นต่ำ

– ต้องร่วมกันรับผิดชอบหนี้สินของกิจการอย่างไม่จำกัด แต่หุ้นส่วนทุกคนมีสิทธิ์จัดการกับกิจการ และแบ่งปันกำไรจากกิจการได้

ความแตกต่างระหว่าง  “บริษัทจำกัด – ห้างหุ้นส่วนจำกัด – ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล”

ความรับผิดชอบด้านบัญชี-ภาษีเมื่อจดทะเบียนนิติบุคคล

ในส่วนของการดำเนินกิจการตามกฎหมาย หลังจากจดทะเบียนนิติบุคคลแล้ว สำหรับ “บริษัทจำกัด – ห้างหุ้นส่วนจำกัด – ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล” จะเหมือนกันคือ

– จัดทำบัญชีรายเดือน ปิดงบการเงิน

– จัดหาบริการรับตรวจสอบงบการเงิน โดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ที่เป็นอิสระไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจการ

– ยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม ถ้าหากกิจการมีการจด VAT ไว้ จะต้องยื่นแบบ ภ.พ.30 ทุกเดือน แม้เดือนนั้นๆ ไม่มีรายการการค้าก็ตาม

– ยื่นภาษีหัก ณ ที่จ่าย นำส่งสรรพากรภายในวันที่ 7 ของทุกเดือน (แต่ถ้าหากไม่มีการหัก ณ ที่จ่าย ก็ไม่จำเป็นต้องยื่น)

– ยื่นภาษีนิติบุคคลทั้งแบบครึ่งปีและสิ้นปี  โดยเสียอัตราภาษีสูงสุด 20% เท่ากันทั้ง 3 แบบ

– ยื่นประกันสังคม เมื่อกิจการได้ขึ้นทะเบียนนายจ้าง และมีพนักงานประจำ ด้วยแบบ สปส.1-10 ภายในวันที่ 15 ของทุกเดือน

– ยื่นส่งงบการเงิน ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

จดทะเบียนนิติบุคคลมีดีอย่างไร

แม้ว่าความสำคัญของการเลือกจดทะเบียนนิติบุคคล อาจจะอยู่ที่การได้ประโยชน์และความคุ้มค่า ทั้งเรื่องของการดำเนินกิจการ การสร้างระบบการบริหาร ความน่าเชื่อถือ และภาษีที่ต้องเสียในอัตราที่ถูกกว่ารูปแบบบุคคลธรรมดา

กล่าวคือเมื่อจดทะเบียนนิติบุคคล จะต้องเสียภาษีตามภาษีเงินได้นิติบุคคล ถ้าเป็นกิจการทั่วไป จะเสียภาษีอยู่ในอัตรา 20% ของกำไรสุทธิที่ต้องเสียภาษี แต่ถ้าหากเป็นกิจการที่มีทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วไม่เกิน 5,000,000 บาท และมีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท จะได้รับสิทธิ์เสียภาษีในรูปแบบ SMEs ซึ่งถูกกว่า โดยสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความ “แนวทางวางแผนภาษีนิติบุคคล

แต่อย่างน้อยอย่าลืมเลือกบนพื้นฐานความพร้อมทางธุรกิจของตนเอง ความพอเหมาะที่เจ้าของธุรกิจสามารถควบคุมและบริหารจัดการต่อได้ในอนาคต