ตามหาพ่อค้าแม่ค้า online ที่อยากสัมมนาภาษี-บัญชี

เข้าร่วมไขความลับเรื่อง ภาษี-บัญชี รู้ทันสรรพากรภายใน 1 วัน
  ในงานสัมมนา “รู้ ครบ จบหมด บัญชีภาษี ธุรกิจขายของ online”

ค่าสัมมนา
4,900 บาท

รายได้จากการขายเครื่องประดับ คุณเสีย ภาษีเครื่องประดับ แล้วหรือยัง?

ภาษีเครื่องประดับ

ภาษีเครื่องประดับ …เพราะเครื่องประดับช่วยเสริมเสน่ห์ให้กับผู้สวมใส่ จึงไม่แปลกใจที่เห็นธุรกิจผลิตเครื่องประดับรังสรรค์รูปแบบออกมาได้สวยงามหลากหลาย ทั้งเพชร พลอย ไข่มุก หินสี คริสตัล เงิน ทอง เป็นต้น ผู้นำมาขายก็มีรายได้มากมาย แต่อย่าลืมนำรายได้เหล่านี้ยื่น ภาษีเครื่องประดับ ให้ถูกต้อง  

โดยหากใครที่เริ่มต้นธุรกิจเครื่องประดับ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็กซื้อมาขายไป หรือธุรกิจขนาดใหญ่ผลิต นำเข้า และจำหน่ายด้วย รายรับและรายจ่ายของกิจการ จะต้องนำมาหักลบเพื่อเสียภาษีตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ดังสามารถแยกประเภทรายรับและรายจ่ายของกิจการที่มีผลกับ ภาษีเครื่องประดับ ดังนี้

“รายจ่าย” ที่มีผลกับ ภาษีเครื่องประดับ

1.ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ในมุมของรายจ่าย คือภาษีเครื่องประดับที่กิจการทั้งในนามบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ต้องถูกเรียกเก็บภาษี 7% จากการซื้อสินค้า วัสดุอุปกรณ์ และเครื่องมือ จากผู้ขายที่จดภาษีมูลค่าเพิ่ม และผู้ขายออกใบกำกับภาษีให้ ซึ่งกิจการในฐานะที่เป็นร้านขายเครื่องประดับที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล จะต้องจัดเก็บใบกำกับภาษีไว้เพื่อใช้สำหรับคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือน และเพื่อเป็นหลักฐานในคำนวณภาษีเงินได้ 

ทั้งนี้ หากกิจการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องจัดทำรายงานภาษีซื้อ และจัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบด้วย ซึ่งกิจการที่ให้สำนักงานบัญชีจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลให้ ทางสำนักงานบัญชีก็จะมีบริการจัดทำบัญชี และจัดทำรายงานต่างๆ ด้วยอยู่แล้ว

2.ภาษีศุลกากร เป็นอีกหนึ่งภาษีเครื่องประดับ ที่เกี่ยวข้องกับกรณีที่กิจการผลิตและขายเครื่องประดับ อาจมีวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือบางรายการ ที่ต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศเพื่อประกอบธุรกิจ ดังนั้น กิจการมีหน้าที่ต้องยื่นใบขนสินค้าขาเข้า ซึ่งจะมีขั้นตอนดังนี้ 

2.1 ลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) โดยลงทะเบียนเฉพาะครั้งแรกเท่านั้น

2.2 ผ่านพิธีการนำเข้าสินค้าโดยต้องศึกษาเรื่องพิกัดอัตราภาษีศุลกากรตามประเภทของสินค้าที่นำเข้า เช่น

– 30% สำหรับสินค้าประเภท เครื่องสำอาง หมวก น้ำหอม รองเท้า ผ้าห่ม ร่ม

– 20% สำหรับสินค้าประเภท กระเป๋า

– 10% สำหรับสินค้าประเภท CD DVD อัลบั้ม Power Bank หูฟัง Headphone Earphones ตุ๊กตา

– 5% สำหรับสินค้าประเภท นาฬิกา แว่นตา แว่นกันแดด

ทั้งนี้ ในส่วนของเครื่องประดับ อัญมณี บางพิกัดอัตราภาษีศุลกากร ไม่ต้องเสียอากรขาเข้า (ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่บทความ ธุรกิจขายสินค้าและบริการ ที่มีการนำเข้าส่งออก อย่าลืมเสีย ภาษีนำเข้าส่งออก”)

3.ภาษีหัก ณ ที่จ่าย การจ้างลูกจ้าง หากกิจการผลิตเครื่องประดับ และร้านขายเครื่องประดับในนามนิติบุคคล มีการจ้างพนักงานประจำ ลูกจ้าง ต้องทำการหักภาษีหัก ณ ที่จ่าย สำหรับพนักงานที่มีรายได้ถึงเกณฑ์กำหนด เพื่อนำส่งกรมสรรพากร ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปที่จ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง หรือโบนัส เป็นต้น    

 

“รายรับ” ที่มีผลกับภาษีเครื่องประดับ

กิจการร้านขายเครื่องประดับ สามารถขายได้ทั้งในประเทศไทยและขายเพื่อการส่งออก ซึ่งมีภาษีเครื่องประดับที่เกี่ยวข้องดังนี้

1.ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นภาษีเงินได้สำหรับกิจการที่ขายเครื่องประดับในนามบุคคลธรรมดา ซึ่งรายได้จัดเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8 หรือมาตรา 40(8) จะต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีละ 2 ครั้ง ได้แก่

– ภาษีครึ่งปี (ภ.ง.ด.94) ให้นำรายได้ตั้งแต่เดือนมกราคม – มิถุนายน ของปีภาษีนั้น มายื่นภาษีช่วงเดือนกรกฎาคม – กันยายน ของปีที่มีเงินได้ หรือยื่นผ่านอินเตอร์เน็ตได้ภายในวันที่ 8 ตุลาคมของทุกปี

– ภาษีสิ้นปี (ภ.ง.ด.90) ให้นำรายได้ช่วงเดือนมกราคม – ธันวาคม ของปีภาษี ยื่นภาษีตั้งแต่เดือนมกราคม – มีนาคม ของปีภาษีถัดไป หรือยื่นผ่านอินเตอร์เน็ตภายในวันที่ 8 เมษายนของปีถัดไป โดยนำภาษีที่จ่ายครั้งแรกมาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้ในครั้งที่ 2

2.ภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นภาษีเงินได้สำหรับร้านขายเครื่องประดับที่ทำในนามนิติบุคคล ต้องยื่นภาษีปีละ 2 ครั้ง ได้แก่

–  ภาษีครึ่งปี (ภ.ง.ด.51) สำหรับรอบครึ่งปี โดยต้องยื่นและชำระภาษีภายใน 2 เดือนนับจากวันสุดท้ายของ 6 เดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี

– ภาษีสิ้นปี (ภ.ง.ด.50) สำหรับรอบสิ้นปี โดยต้องยื่นแบบและชำระภาษีภายใน 150 วันนับจากวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดยนำภาษีที่จ่ายในครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีมาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้เมื่อสิ้นรอบเวลาบัญชี

3.ภาษีมูลค่าเพิ่ม ในกรณีที่เจ้าของกิจการเครื่องประดับมีผลประกอบการเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน และเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อ พร้อมออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อเมื่อส่งมอบสินค้าทุกครั้ง รวมถึงมีหน้าที่จัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบ รายงานภาษีขาย และยื่นแบบ ภ.พ.30 ในแต่ละเดือนให้กับกรมสรรพากร ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

นอกจากนี้หากกิจการมีการขายเครื่องประดับเพื่อส่งออกด้วย จะต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเสียภาษีในอัตรา 0% และยื่นใบขนของขาออกเพื่อผ่านพิธีการศุลกากรแบบไร้เอกสาร เพื่อเสียอากรขาออกตามที่กฎหมายกำหนด

 

สรุป…  อย่าลืมเสีย ภาษีเครื่องประดับ ให้ตรงตามรูปแบบธุรกิจของตนเอง 

เมื่อมาถึงบรรทัดนี้แล้ว ธุรกิจผลิตและขายเครื่องประดับ อย่าลืมยื่นและเสียภาษีเครื่องประดับ ให้ถูกต้องเมื่อถึงเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ที่สำคัญเลือกยื่นภาษีให้ตรงกับรูปแบบธุรกิจของตนเอง เช่น หากเลือกขายเครื่องประดับในนามบุคคลธรรมดา ก็จะไม่สามารถหักภาษี ณ ที่จ่ายได้ หรือเมื่อได้รับใบกำกับภาษีจากการซื้อวัสดุอุปกรณ์ของกิจการ ก็ไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางภาษีได้ ถูกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มไปแบบฟรีๆ 

แต่ถ้าหากเป็นธุรกิจเครื่องประดับที่จดทะเบียนนิติบุคคล จะสามารถนำภาษีซื้อมาหักลบภาษีขาย ขอคืนภาษีซื้อ หรือเครดิตภาษีขายได้ สามารถหักภาษี ณ ที่จ่ายได้ ซึ่งจะช่วยทำให้กิจการประหยัดภาษีเครื่องประดับได้มากขึ้นด้วย