ตามหาพ่อค้าแม่ค้า online ที่อยากสัมมนาภาษี-บัญชี

เข้าร่วมไขความลับเรื่อง ภาษี-บัญชี รู้ทันสรรพากรภายใน 1 วัน
  ในงานสัมมนา “รู้ ครบ จบหมด บัญชีภาษี ธุรกิจขายของ online”

ค่าสัมมนา
4,900 บาท

ภาษีร้านขายยา สำหรับธุรกิจขายยา

ภาษีร้านขายยา

ภาษีร้านขายยา …ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน มนุษย์เราก็ยังต้องเผชิญกับโรคภัยไข้เจ็บอยู่เสมอ ตั้งแต่โรคเล็กน้อยเรื่อยไปถึงโรคร้ายแรงที่ไม่มีใครอยากเจอ ซึ่งหากป่วยหนักก็ต้องพึ่งโรงพยาบาล แต่ถ้าเป็นอาการป่วยเล็กน้อย สามารถหาหยูกยาตามร้านขายยาทั่วไป ซื้อรับประทานเองได้ก็มีอยู่มากมาย 

จึงทำให้เป็นอีกช่องทางหนึ่งให้นักธุรกิจเลือกเปิดเป็นร้านขายยา สร้างรายได้ได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ และเมื่อมีรายได้ก็ย่อมมีหน้าที่ต้องเสีย ภาษีร้านขายยา ด้วย โดยการเสีย ภาษีร้านขายยา จะมีภาษีที่เกี่ยวข้องหลักๆ อยู่ 4 ประเภท คือ

– ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

– ภาษีเงินได้นิติบุคคล

– เงินมูลค่าเพิ่ม (VAT)

– ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นต้น

นอกจากนี้ยังอาจมีภาษีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย ซึ่ง ภาษีร้านขายยา แต่ละประเภท บางร้านอาจเสียภาษีแค่บางประเภท หรือในบางร้านต้องเสียทุกประเภท ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง หากเข้าเงื่อนไขใด กิจการร้านขายยานั้น จำเป็นต้องเสียภาษีประเภทนั้น ซึ่งอธิบายเพิ่มเติมได้จากบรรทัดต่อจากนี้

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็น ภาษีร้านขายยา สำหรับเจ้าของร้านขายยาที่เสียภาษีในนามบุคคลธรรมดา โดยรายได้จากการขายยาจัดอยู่เงินได้พึงประเมิน 2 ประเภท คือ

1.เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8 หรือมาตรา 40(8) สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 2 วิธี คือหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60%  หรือเลือกหักค่าใช้จ่ายตามจริง ตามความจำเป็นและสมควร โดยต้องมีเอกสารหลักฐานเก็บไว้ครบทุกใบ เพื่อไว้เป็นหลักฐานในการยื่นภาษี

2.เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 5 หรือมาตรา 40(5) รายได้ค่าเช่า ในกรณีที่เจ้าของร้านขายยาให้เช่าหน้าร้านขายยาของตนเอง รายได้จากค่าเช่าที่ได้รับ สามารถหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ 10-30% หรือหักตามจริง

โดยคำนวณภาษีตามอัตราก้าวหน้าสูงสุด 35% และยื่นภาษีตามระยะเวลาที่กำหนด 2 รอบ คือ 

– ภาษีครึ่งปี (ภ.ง.ด.94) สำหรับเงินได้ตามมาตรา 40(5) – (8) ให้นำรายได้ตั้งแต่เดือนมกราคม – มิถุนายน ของปีภาษีนั้น มายื่นภาษีช่วงเดือนกรกฎาคม – กันยายน ของปีที่มีเงินได้ หรือยื่นผ่านอินเตอร์เน็ตได้ภายในวันที่ 8 ตุลาคมของทุกปี

– ภาษีสิ้นปี (ภ.ง.ด.90) สำหรับเงินได้ตามมาตรา 40(1) – (8) ให้นำรายได้ช่วงเดือนมกราคม – ธันวาคม ของปีภาษี ยื่นภาษีตั้งแต่เดือนมกราคม – มีนาคม ของปีภาษีถัดไป หรือยื่นผ่านอินเตอร์เน็ตภายในวันที่ 8 เมษายนของปีถัดไป  

 

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

ภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็น ภาษีร้านขายยา สำหรับกิจการร้านขายยาที่จดบริษัทเป็นนิติบุคคล เป็นร้านขายยาที่อยู่ในรูปแบบของบริษัทจำกัด หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิ ดังนี้

1.กำไรสุทธิทางภาษี รายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการได้รับในรอบระยะเวลาบัญชี หักรายจ่ายที่ได้สิทธิ 2 เท่า

2.ภาษีเงินได้นิติบุคคล = กำไรสุทธิทางภาษี x อัตราภาษี

ทั้งนี้ กิจการจะต้องทำบัญชีด้วย เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้กิจการที่จดทะเบียนนิติบุคคลต้องทำบัญชีงบดุล บัญชีทำการ บัญชีงบกำไรขาดทุน พร้อมกับใช้บริการผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) หรือผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA) ตรวจสอบและรับรองบัญชี รวมถึงยื่นงบการเงินและภาษีให้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และกรมสรรพากร 2 ช่วง คือ

– ภาษีครึ่งปี (ภ.ง.ด.51) สำหรับรอบครึ่งปี โดยต้องยื่นและชำระภาษีภายใน 2 เดือนนับจากวันสุดท้ายของ 6 เดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี

– ภาษีสิ้นปี (ภ.ง.ด.50) สำหรับรอบสิ้นปี โดยต้องยื่นแบบและชำระภาษีภายใน 150 วันนับจากวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี

ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)

ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นภาษีร้านขายยา สำหรับกิจการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือบริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีรายรับเกิน และหลังจากนั้นเมื่อมีการขายยาต้องทำใบกับกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการทุกครั้ง 

ทั้งนี้ ร้านขายยาที่ค้าปลีกสามารถออกใบกำกับภาษีอย่างย่อได้ นอกจากนี้ให้จัดทำรายงานภาษีขาย ภาษีซื้อ รายงานสินค้าและวัตถุดิบ พร้อมนำส่งภาษี 7% (ภ.พ.30) ให้แก่กรมสรรพากรทุกวันที่ 15 ของเดือน (ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มได้ที่นี่)

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นภาษีร้านขายยา สำหรับนิติบุคคลที่จ่ายเงินได้ให้แก่ ผู้รับเงินได้ประเภทเงินเดือน ค่าจ้างแรงงาน เบี้ยเลี้ยง โบนัส เป็นต้น กิจการร้านขายยาผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ทุกครั้งที่มีการจ่ายเงิน และนำส่งด้วยแบบ ภ.ง.ด.3 และ/หรือ ภ.ง.ด.53 ภายใน 7 วันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมิน ตามตารางเงินได้พึงประเมิน การหักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งภาษี

ประเภทเงินได้

อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ร้อยละ) ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน ผู้รับเงินได้พึงประเมิน แบบแสดงรายการ
ม.40(1) เงินเดือน เบี้ยเลี้ยง โบนัส ฯลฯ อัตราก้าวหน้า นิติบุคคล บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.1
ม.40(5) ค่าเช่า 5% บุคคลธรรมดา บุคคลธรรมดา/

นิติบุคคล

ไม่หัก/ไม่ยื่นแบบฯ
นิติบุคคล บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.3
นิติบุคคล ภ.ง.ด.53
ม.40(7) ค่าจ้างทำของ (ผู้รับจ้างเป็นผู้จัดหาสัมภาระ) 3% บุคคลธรรมดา บุคคลธรรมดา/นิติบุคคล ไม่หัก/ไม่ยื่นแบบฯ
นิติบุคคล บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.3
นิติบุคคล ภ.ง.ด.53
ม.40(8) ค่าขนส่ง 1% บุคคลธรรมดา บุคคลธรรมดา/นิติบุคคล ไม่หัก/ไม่ยื่นแบบฯ
นิติบุคคล บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.3
นิติบุคคล ภ.ง.ด.53

 

ภาษีศุลกากร 

ภาษีศุลกากร เป็นภาษีร้านขายยา สำหรับเจ้าของร้านขายยาที่มีการนำวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการประกอบธุรกิจเข้ามาจากต่างประเทศ เจ้าของร้านขายยามีหน้าที่ต้องยื่นใบขนสินค้าขาเข้า โดยการลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์ แบบไร้เอกสาร (Paperless) โดยลงทะเบียนเฉพาะครั้งแรกเท่านั้น   

 

ภาษีป้าย

ภาษีป้าย เป็นภาษีร้านขายยา สำหรับเจ้าของร้านขายยาที่มีการแสดงชื่อ ยี่ห้อ ตราสัญลักษณ์ เครื่องหมายการค้าในเชิงพาณิชย์ หน้าร้านที่มีผู้คนเห็นโดยทั่วไป ต้องชำระภาษีป้ายให้กับสำนักงานเขต หรือเทศบาลทุกปี หรือผ่านธนาคารกรุงไทย ดังนี้ 

– ป้ายที่ติดตั้งใหม่ ยื่นแบบ ภ.ป.1 ภายใน 15 วัน

– ป้ายที่ชำระภาษีต่อเนื่องทุกปี ให้ยื่นแบบ ภ.ป.1 ได้ตั้งแต่เดือนมกราคม – มีนาคม ของทุกปี

– ป้ายที่ชำระภาษีประจำปี และต้องการเปลี่ยนแปลงป้ายให้แจ้งภายใน 15 วัน

– หากมีการยกเลิกใช้ป้าย เนื่องจากเลิกกิจการให้แจ้งภายในเดือนธันวาคมของทุกปี

ดังนั้น หากใครที่เปิดร้านขายยาอยู่ หรือกำลังจะเปิดร้านขายยาเป็นของตนเอง ควรศึกษาภาษีร้านขายยาดังที่กล่าวมาแล้ว ว่าร้านของตนเองเข้าเงื่อนไขที่จะต้องเสียภาษีประเภทไหนบ้าง และไม่ลืมเสียภาษีตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อป้องกันการถูกตรวจสอบย้อนหลัง หากพบว่ามีภาษีที่ค้างชำระ อาจต้องเสียภาษีและค่าปรับมหาศาลก็เป็นได้