เพราะเรื่องของ “ภาษี” ไม่มีใครที่หนี้พ้น ตลอดจนผู้คนที่เริ่มประกอบธุรกิจของตนเอง มีรายรับรายจ่ายเข้ามาจำนวนมากและต้องเสียภาษี ก็จะต้องมีเรื่องของการทำบัญชีเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยอย่างแน่นอน ดังนั้น หากใครกำลังพบเจอกับปัญเรื่องภาษีและบัญชี หรือแม้แต่ผู้ที่ยังไม่เคยประสบปัญหาดังกล่าว ก็ต้องเตรียมตัวให้พร้อมด้วยการอบรม สัมมนา เพิ่มเติมความรู้ไว้สำหรับรองรับเรื่องภาษีและบัญชีที่จะตามมาในอนาคต
ทั้งนี้ การอบรมสัมมนา ถือเป็นกระบวนการหนึ่ง หรือวิธีการในการพัฒนาความรู้ความเข้าใจ และความสามารถให้กับผู้เข้าร่วมอบรมสัมมนา ทำให้ทักษะเพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน โดยใช้กลวิธีที่เหมาะสมในการสร้างประสบการณ์ในการฝึกปฏิบัติจริงของผู้เข้ารับการฝึกอบรมเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาองค์การ
โดยหลักการเลือกเข้าอบรม สัมมนา ภาษี-บัญชี สามารถสรุปได้ดังนี้
การเรียนรู้
เมื่อภาษีเป็นเรื่องใกล้ตัว ความต้องการเรียนรู้เรื่องเหล่านี้จึงมีผลกับการตัดสินใจเข้าอบรมสัมมนา เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลที่เกิดจากการรับรู้และประสบการณ์ของแต่ละบุคคล ส่งผลให้ผู้เสียภาษีได้เรียนรู้เรื่องภาษีและบัญชีเพิ่มขึ้น เป็นการเตรียมความพร้อมเมื่อต้องเสียภาษีหรือรู้เท่าทันกระบวนกบารทางภาษีและบัญชี
ความจำเป็นและความต้องการ
เนื่องจากคนไทยทุกคนเมื่อรายได้ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี คือมีรายได้เกิน 150,000 บาท/ปี ก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอยู่แล้ว โดยเฉพาะผู้ที่ประกอบธุรกิจส่วนตัวย่อมไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเสียภาษีได้อย่างแน่นอน อีกทั้งสรรพากรก็มีการตรวจสอบอย่างเข้มงวดขึ้นด้วย โอกาสที่จะหลบเลี่ยงการเสียภาษีย่อมเป็นไปได้ยากยิ่ง
ดังนั้น เรื่องภาษีจึงไม่ใช่เรื่องล้อเล่นอีกต่อไป การเลือกเข้าอบรมสัมมนา เรื่องภาษี-บัญชี จึงกลายเป็นเรื่องจำเป็นพื้นฐานที่เป็นจุดเริ่มต้นของความต้องการความรู้เรื่องภาษีและบัญชี ดังนั้น ควรเลือกจากความจำเป็นและเรื่องที่ต้องการนั่นเอง
แรงจูงใจ
แรงจูงใจเป็นหนึ่งในปัจจัยในการเลือกเข้าอบรมเรื่องภาษีและบัญชี ซึ่งปกติทั่วไปจะไม่ค่อยมีใครสนใจเรื่องของภาษีและบัญชีอยู่แล้ว เนื่องจากอาจมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว แต่เมื่อใดที่เริ่มเกิดปัญหาจนทำลายสภาพจิตใจ โดยเฉพาะบุคคลธรรมดาที่หลายคนถูกกรมสรรพากรตรวจสอบพบ และมีจดหมายเรียกพบส่งมาให้ถึงบ้าน ทำให้ต้องเสียภาษีย้อนหลังกันแบบไม่รู้ตัว ก็จะเกิดแรงจูงใจในการอยากแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น (ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากบทความ “เตรียมตัวให้พร้อมเมื่อถูก กรมสรรพากรเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง”)
โดยเมื่อเกิดแรงจูงใจในการอยากเข้าอบรมสัมมนาแล้ว ควรเลือกเข้าอบรมสัมมนาที่เกี่ยวกับภาษีที่ผู้มีรายได้ทั่วไปควรทราบ การยื่นภาษีที่ถูกต้อง เพื่อไม่ใช้เกิดข้อผิดพลาดในการยื่นภาษีแต่ละปีจนถูกสรรพากรเรียกพบ
บุคลิกภาพเพื่อการติดต่อธุรกิจและการได้รับการยอมรับ
บุคลิกภาพเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเข้าอบรมสัมมนาภาษี-บัญชี โดยเฉพาะผู้ประกอบการ รวมถึงพนักงานของกิจการด้วย เพราะต้องยอมรับว่าการติดต่อสื่อสารกับคู่ค้า ทักษะเรื่องบัญชีและภาษีจะช่วยเสริมสร้างบุคลิกภาพได้
หากผู้ประกอบการต้องติดต่อธุรกิจกับคู่ค้าต่างๆ และได้ผ่านการอบรมสัมมนาเรื่องภาษีและบัญชีมาบ้าง จะทำให้มีความรู้เพิ่มขึ้น ซึ่งช่วยทำให้บทสนทนานั้นลื่นไหลและสร้างความไว้วางใจให้กับคู่ค้าในการทำธุรกิจร่วมกัน การซื้อขาย ละใช้บริการได้อย่างมั่นใจ
โดยอาจเลือกอบรมสัมมนาเกี่ยวกับหลักการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นต้น การจัดทำเอกสารบัญชี เนื่องจากคู่ค้ามักจะมีคำถามเรื่องเกี่ยวกับคำนวณและเอกสารต่างๆ เกี่ยวกับบัญชีและภาษีเป็นส่วนใหญ่
อมรมสัมมนาหักเป็นร่ายจ่ายกิจการได้ 2 เท่า
ในกรณีที่ผู้ประกอบการได้ให้พนักงานของตนเองไปอบรมสัมมนา สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการได้ 2 เท่า ซึ่งผู้ประกอบการอาจเลือกให้พนักงานที่ดูแลเรื่องบัญชี เข้ารับการอบรมและสัมมนาเรื่องเกี่ยวกับบัญชีและภาษี เพื่อนำมาใช้พัฒนาองค์กรของตนเองได้
ทั้งนี้ กรมสรรพากรได้มีมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการฝึกอบรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หักรายจ่ายในการฝึกอบรมพัฒนาฝีมือแรงงานได้ 2 เท่า โดยมีเงื่อนไขดังนี้
– ค่าใช้จ่ายการศึกษา เช่น ค่าเล่าเรียน หรือค่าใช้จ่ายการฝึกอบรม สัมมนา เช่น ค่าลงทะเบียน รวมถึงค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่าเดินทาง ที่สถานศึกษาหรือสถานฝึกอบรมฯ เรียกเก็บจากบริษัท
– มีใบเสร็จรับเงินของสถานศึกษาหรือสถานฝึกอบรมฯ
– กำหนดเงื่อนไขให้กลับเข้าทางานหลังศึกษา/ฝึกอบรมเสร็จ
– จัดทำรายงานค่าใช้จ่ายดังกล่าว
เก็บชั่วโมง CPD สำหรับนักบัญชีและผู้สอบบัญชี
ในการเลือกอบรมสัมมนาภาษี-บัญชี เป็นปัจจัยหนึ่งสำหรับนักบัญชีและผู้สอบบัญชี ที่มีความจำเป็นต้องเก็บชั่วโมง CPD และรักษาสถานภาพของผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชีไว้ โดยกิจกรรมพัฒนาความรู้ต่อเนื่องที่สภาวิชาชีพบัญชีได้กำหนดไว้มีหลายรูปแบบด้วยกัน เช่น
– การอบรมสัมมนา ในหลักสูตรที่สภาวิชาชีพบัญชีอนุมัติ ทั้งแบบ on site, online, และ e-learning
– การเป็นวิทยากร ผู้บรรยาย ในการอบรมตามที่สภาวิชาชีพบัญชีอนุมัติ
– การเป็นอาจารย์ในสถาบันการศึกษา
– การสำเร็จการศึกษาคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชี
– การผ่านการศึกษารายวิชาที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชี
– การจัดทำผลงานทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชี
– การพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีแบบเป็นทางการ ประเภทการศึกษาด้วยตัวเอง
– กิจกรรมอื่น ตามที่สภาวิชาชีพกำหนด
แต่ส่วนใหญ่จะเลือกการอบรมสัมมนาตามหลักสูตรที่สภาวิชาชีพบัญชีอนุมัติมากที่สุด เนื่องจากง่ายและสะดวกกว่าการเลือกกิจกรรมพัฒนาความรู้ต่อเนื่องอื่นๆ นั่นเอง
สรุป
เมื่อทราบถึงหลักการและปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมอบรมสัมมนาเรื่องบัญชีและภาษีแล้ว หากใครที่คิดว่าตนเองเข้าข่ายปัจจัยดังที่กล่าวไปแล้ว ก็อาจถึงเวลาที่ต้องตัดสินใจหาสถานที่อบรม หรือสัมมนาเพื่อเพิ่มพูนความรู้และทำความเข้าใจเรื่องภาษีและบัญชีแล้วก็เป็นได้
หรือสามารถติดตามข่าวคราวการเปิดอบรมสัมมนาหัวข้อต่างๆ ที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นแบบ on site, online และ e-learning ได้ทางเว็บไซต์ Inflow Account ได้เช่นกัน