ตามหาพ่อค้าแม่ค้า online ที่อยากสัมมนาภาษี-บัญชี

เข้าร่วมไขความลับเรื่อง ภาษี-บัญชี รู้ทันสรรพากรภายใน 1 วัน
  ในงานสัมมนา “รู้ ครบ จบหมด บัญชีภาษี ธุรกิจขายของ online”

ค่าสัมมนา
4,900 บาท

แนวทางการเสีย ภาษีกับธุรกิจออกแบบตกแต่งภายใน

ภาษีกับธุรกิจออกแบบตกแต่งภายใน

ภาษีกับธุรกิจออกแบบตกแต่งภายใน …ปัจจุบันต้องยอมรับว่านักออกแบบตกแต่งภายในเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางกว่าสมัยก่อน ซึ่งมีกลุ่มคนจำนวนไม่น้อยให้ความสนใจในการใช้บริการ โดยนักออกแบบตกแต่งภายในมีหน้าที่สำคัญในการวางแผนออกแบบตกแต่งภายในบ้าน อาคาร สถานที่ต่างๆ และเป็นผู้ประสานงานการทำงานร่วมกันระหว่างผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาของงานที่เกี่ยวข้องกันอีกด้วย

นักออกแบบตกแต่งภายใน หรือเรียกอีกอย่างว่า “Interior designer” หรือ “มัณฑนากร” ถือเป็นหนึ่งในธุรกิจรับเหมาออกแบบตกแต่งภายใน โดยการจ่ายค่าจ้างจะมีลักษณะเหมาจ่าย หรือคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ที่คิดรวมไปกับค่าก่อสร้าง ซึ่งนักออกแบบตกแต่งภายในเมื่อมีรายได้เข้ามาก็จำเป็นต้องเสียภาษี และการเสีย ภาษีกับธุรกิจออกแบบตกแต่งภายใน มีอะไรบ้าง ลองมาศึกษาไปพร้อมๆ กันดังนี้

Interior designer กับการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ภาษีกับธุรกิจออกแบบตกแต่งภายใน เป็นของคู่กัน เมื่อนักออกแบบตกแต่งภายในถูกว่าจ้าง โดยมีหน้าที่ให้ออกแบบตกแต่งภายในตามความต้องการของผู้ว่าจ้าง ไม่ว่าจะเป็นการเลือกเฟอร์นิเจอร์ เลือกสี built-in ชุดครัว โคมไฟ สุขภัณฑ์ รวมถึงการให้คำแนะนำเรื่องของตกแต่งต่างๆ ควบคุมงาน ซึ่งการจ้างลักษณะนี้ ผู้ว่าจ้างจะจ่ายเงินเป็น Job หรือแล้วแต่ตามตกลง 

ดังนั้นเมื่อมีรายได้เข้ามาอาชีพนักออกแบบตกแต่งภายใน (Interior designer) จำเป็นต้องเสียภาษีกับธุรกิจออกแบบตกแต่งภายในให้ถูกต้องตามกฎหมายเมื่อเข้าเงื่อนไขดังนี้ เนื่องจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีหลากหลายอาชีพ รายได้ที่เข้ามาก็มีความแตกต่างกัน ดังนั้นต้องมาแยกก่อนว่าแต่ละอาชีพจัดอยู่ในประเภทใด ซึ่งอาชีพนักออกแบบตกแต่งภายใน (Interior designer)  จะอยู่ในมาตรา 40(6) กล่าวคือ เป็นการหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา หมวดวิชาชีพอิสระอื่น จะหักร้อยละ 30 ของเงินได้ หรือหักตามจริง 

เมื่อทราบแล้วว่าจะต้องนำค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอะไรบ้าง มาช่วยลดหย่อนภาษีที่ต้องเสียจากนั้นนำมาคำนวณ ซึ่งวิธีการคำนวณ คือ รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน x อัตราภาษี พอทราบหลักการเบื้องต้นแล้วว่าควรยื่นแบบในอัตราภาษีที่เท่าไหร่ นักออกแบบตกแต่งภายใน (Interior designer) ลองคำนวณดูกันได้ ไม่ว่าจะเสียหรือไม่เสียภาษีกับธุรกิจออกแบบตกแต่งภายในก็ตาม นักออกแบบตกแต่งภายใน (Interior designer) ควรยื่นแบบให้ถูกต้องเพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบจากกรมสรรพากร

ข้อควรจำ : นอกจากนี้ยังต้องยื่นภาษีครึ่งปี ภ.ง.ด.94 สำหรับผู้มีเงินได้ประเภทที่ 6 หรือมาตรา 40(6) เพื่อคำนวณภาษีจากรายได้เฉพาะในส่วนที่ต้องจ่ายภาษีครึ่งปี (6 เดือนแรก) คือช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายน โดยยื่นแบบฯ ได้ในช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายนของปีนั้นๆ  

 

Interior designer เปิดบริษัทต้องรู้จักภาษีเงินได้นิติบุคคล

หากนักออกแบบตกแต่งภายใน (Interior designer) ได้สร้างผลงานมาสักระยะหนึ่ง แล้วอยากให้ธุรกิจมีความน่าเชื่อถือ เพื่อต่อยอด และสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ การเลือกจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่เพิ่มความน่าเชื่อถือให้แก่ธุรกิจได้ 

ภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นภาษีบริษัทที่คำนวณจากกำไรสุทธิที่นิติบุคคลมีหน้าที่ต้องจ่ายหากถึงเกณฑ์กำหนด ซึ่งวิธีการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลคือ (รายได้ – ค่าใช้จ่าย) = กำไรสุทธิ จากนั้นนำกำไรสุทธิที่ได้มาเปรียบเทียบอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุด 20%

ทั้งนี้ นักออกแบบตกแต่งภายใน (Interior designer) มีหน้าที่ต้องยื่นภาษีนิติบุคคล 2 รอบ ซึ่งประกอบด้วย ภ.ง.ด.50 และ ภ.ง.ด.51 ลักษณะการเสียภาษีต่างกัน คือ ภ.ง.ด.51 สำหรับครึ่งปีแรก โดยต้องยื่นและชำระภาษีภายใน 2 เดือนนับจากวันสุดท้ายของ 6 เดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี 

และ ภ.ง.ด.50 สำหรับรอบสิ้นปี โดยต้องยื่นแบบและชำระภาษีภายใน 150 วันนับจากวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี สามารถศึกษาหารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่บทความ แนวทางวางแผนภาษี “นิติบุคคล”

เมื่อมีรายได้เกิน 1.8 ล้าน Interior designer ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม

เมื่อนักออกแบบตกแต่งภายใน (Interior designer) มีรายได้จากการถูกว่าจ้างให้ออกแบบตกแต่งภายในตามสถานที่ต่างๆ และมีรายได้ที่สูง ทั้งเจ้าของธุรกิจในนามบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล จะต้องเสียภาษีกับธุรกิจออกแบบตกแต่งภายในหากรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีเงินได้เกิน 1.8 ล้านบาท ที่กรมสรรพากร

 

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย อีกหนึ่งภาษีที่ Interior designer คุ้นเคย 

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือ การเสียภาษีรูปแบบหนึ่ง ซึ่งผู้จ่ายที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเท่านั้น มีหน้าที่ต้องหักเงินไว้ก่อนจ่ายเงินให้กับผู้รับทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล จากนั้นนำเงินที่หักไว้ส่งให้กรมสรรพากร

ในกรณีที่นักออกแบบตกแต่งภายใน (Interior designer) รับงานจากบริษัทนิติบุคคล จะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ไว้ 3% หรือถ้าหากนักออกแบบตกแต่งภายใน (Interior designer) ในนามนิติบุคคลมีการว่าจ้างพนักงานประจำเมื่อเงินเดือนถึงเกณฑ์ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ มีการเช่าสถานที่เพื่อเปิดกิจการ หรือใช้บริการตามประเภทธุรกิจที่กฎหมายกำหนด ก็ต้องมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ ซึ่งถือเป็นภาษีกับธุรกิจออกแบบตกแต่งภายใน เช่นกัน

 

กล่าวโดยสรุป จะเห็นได้ว่าหน้าที่ของนักออกแบบตกแต่งภายใน (Interior designer) สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ดี จึงทำให้ได้รับค่าตอบแทนในอัตราที่สูงเพราะเหมาะสมกับความรู้ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ 

ดังนั้นเมื่อมีรายได้ที่สูงการเสียภาษีให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากรก็เป็นสิ่งจำเป็น ถ้านักออกแบบตกแต่งภายใน (Interior designer) ปล่อยปละละเลยอาจจะโดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลังก็เป็นได้ หรือหากในอนาคตนักออกแบบตกแต่งภายใน (Interior designer) อยากเปิดบริษัทรับออกแบบเป็นธุรกิจใหญ่ งานทางด้านบัญชีและภาษีแนะนำให้จ้างบริษัทบัญชีเข้ามาช่วยดูแลในส่วนนี้จะยิ่งทำให้ธุรกิจมีความมั่นคงยิ่งขึ้น