ตามหาพ่อค้าแม่ค้า online ที่อยากสัมมนาภาษี-บัญชี

เข้าร่วมไขความลับเรื่อง ภาษี-บัญชี รู้ทันสรรพากรภายใน 1 วัน
  ในงานสัมมนา “รู้ ครบ จบหมด บัญชีภาษี ธุรกิจขายของ online”

ค่าสัมมนา
4,900 บาท

ธุรกิจขนส่ง… ค่าขนส่งยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ?

ค่าขนส่งยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

ต้องยอมรับว่าธุรกิจขนส่งในส่วนของ ค่าขนส่งยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) แต่ก็ต้องเข้าเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดด้วย ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ

1.ธุรกิจขนส่งปกติ ทำเป็นประจำ ลักษณะนี้จะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

2.ธุรกิจขนส่งที่มีบริการพ่วงด้วย ลักษณะนี้จะไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม  

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ธุรกิจขนส่งยังมีความซับซ้อนในรายละเอียดอีกมาก ซึ่งอาจทำให้โอกาสคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มผิดได้ การนำภาษีซื้อและภาษีขายไปใช้ไม่ถูกต้อง กลายเป็นภาษีต้องห้าม และส่งผลให้ยื่นเสียภาษีผิดพลาดได้

ทำความเข้าใจภาษีมูลค่าเพิ่มธุรกิจขนส่ง

กฎหมายกำหนดให้รายได้จากบางธุรกิจ ได้รับการยกเว้นไม่ต้องนำมานับรวมเป็นรายได้ที่ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น การให้บริการรักษาพยาบาลของสถานพยาบาลทั้งราชการและเอกชน การให้บริการสถานศึกษา ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์ ธุรกิจจำหน่ายสัตว์ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตภายในประเทศ ธุรกิจจำหน่ายพืชผลทางการเกษตรภายในประเทศ และธุรกิจเกี่ยวกับการขนส่ง

ดังนั้น เมื่อธุรกิจเกี่ยวกับขนส่ง ค่าขนส่งยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่จะต้องเป็นขนส่งปกติธุระ หรือทำเป็นประจำ คือขนส่งจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งเท่านั้น แต่ในกรณีที่ธุรกิจขนส่งมีบริการพ่วงด้วย ตามกฎหมายบังคับให้ผู้มีรายได้จากการประกอบธุรกิจในส่วนของบริการและการขายเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

โดยให้ยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่เกิน 30 วัน นับจากวันที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท และนำส่งให้กรมสรรพากรทุกๆ เดือน นับตั้งแต่วันที่ยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นต้นไป

ค่าขนส่งยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม จริงหรือไม่     

ธุรกิจขนส่งเป็นธุรกิจที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม และไม่สามารถจดภาษีมูลค่าเพิ่มได้ แม้ว่ามีความประสงค์จะจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก็ตาม โดยจะต้องขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ให้บริการขนส่งกักรมการขนส่งทางบกพื่อขออนุญาตทำธุรกิจขนส่งด้วย จึงจะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

แต่ค่าขนส่งยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มนี้ในบางกรณีถ้าหากมีบริการหรือขายสินค้าร่วมด้วย จะไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งอธิบายเพิ่มเติมได้ดังนี้

1.ธุรกิจขนส่งเป็นปกติ หรือทำเป็นประจำ คือขนส่งจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง โดยไม่มีบริการอื่นๆ ร่วมด้วย จะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยไม่เอาค่าขนส่งมาเป็นส่วนหนึ่งของราคาสินค้าหรือบริการ ไม่ว่าค่าขนส่งจะแสดงรายการไว้ในใบกำกับภาษี หรือแยกแสดงไว้ในเอกสารอื่นต่างหากก็ตาม

รวมถึงไม่ว่าจะขนส่งโดยยานพาหนะของตนเอง หรือว่าจ้างบุคคลอื่นขนส่งให้ ก็ไม่ต้องนำค่าขนส่งมาคิดภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่กิจการจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา 1% ของค่าบริการขนส่ง  

2.ธุรกิจขนส่งที่มีบริการพ่วงด้วย เช่น มีการแพ็กของ การเช่าพื้นที่ จะถือเป็นขนส่งที่พ่วงบริการ เข้าลักษณะเป็นการขายสินค้าหรือบริการ จะไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือถ้ามีการขายสินค้าด้วย ในส่วนของค่าขนส่งจะได้ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ค่าบริการหรือขายสินค้าพ่วงด้วย จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%

หลังจดภาษีมูลค่าเพิ่มธุรกิจขนส่งต้องทำอะไรบ้าง

ในกรณีที่เจ้าของธุรกิจขนส่งมีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการ หรือรายได้ส่วนอื่นๆ จะไม่เข้าข่ายได้รับยกเว้น VAT รายได้เหล่านี้หากรวมแล้วเกิน 1.8 ล้านบาทช่วงใดช่วงหนึ่ง จำเป็นต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งหลังจากจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว สิ่งที่เจ้าของธุรกิจขนส่งต้องทำคือ

1.ออกใบกำกับภาษีทุกครั้งเมื่อมีการขายสินค้า

2.รวบรวมเอกสารใบกำกับภาษีฝั่งซื้อ เพื่อนำมาใช้เครดิตภาษีขาย หรือขอคืนภาษีซื้อ

3.ทำรายงานสรุปรายการภาษีซื้อ ภาษีขาย สินค้าคงเหลือ และวัตถุดิบ ซึ่งในกรณีที่มีขนส่งทั้งธรรมดาและพ่วงบริการหรือสินค้า จะต้องทำการเฉลี่ยภาษีซื้อ ตัวอย่างเช่น

3.1 หากมีรายได้ยอดขนส่งที่ไม่พ่วงบริการ 90% ยอดขนส่งที่พ่วงบริการ 10% ไม่ต้องนำยอดขนส่งที่พ่วงบริการมาคิดภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%

3.2 หากมีรายได้จากขนส่งทั้งแบบธรรมดาและแบบพ่วงบริการทั้ง 2 แบบ อย่างละเท่ากัน จะได้ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม 50%  

4.ส่งยื่นแบบ ภ.พ.30 แก่สรรพากรภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป แม้ว่าเดือนนั้นๆ จะมีหรือไม่มีการซื้อขายก็ตาม หากยื่นแบบผ่านช่องทางออนไลน์จะขยายเพิ่มระยะเวลาในการยื่นอีก 8 วัน เป็นวันที่ 23 ของเดือนถัดไป

 

หลักการพิจารณาออกใบกำกับภาษีธุรกิจขนส่งพ่วงขายสินค้า  

หลักการพิจารณาออกใบกำกับภาษีสำหรับธุรกิจขนส่งพวงขายสินค้า สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเด็น คือ

1.กิจการไม่ได้เป็นผู้ประกอบกิจการขนส่งเป็นปกติธุระ ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งสินค้าด้วยยานพาหนะของตนเองหรือของผู้อื่น หรือแยกค่าขนส่งออกจากราคาสินค้า สามารถทำตามได้ดังนี้

1.1 ให้ถือว่าเป็นการขายสินค้าพร้อมบริการขนส่ง ถือเป็นการขายสินค้า  

1.2 มูลค่าของฐานภาษี ให้คิดราคาของสินค้ารวมค่าขนส่ง

1.3 กิจการต้องออกใบกำกับภาษี โดยให้เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งจากค่าสินค้าและค่าขนส่ง (ค่าขนส่งไม่ได้ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม)  

1.4 กรณีแสดงรายการค่าขนส่งคนละฉบับกับใบกำกับภาษี สำหรับค่าสินค้าหรือค่าบริการ กิจการต้องออกใบเพิ่มหนี้สำหรับค่าขนส่ง เนื่องจากเป็นราคาสินค้าหรือค่าบริการส่วนเพิ่ม

2.กิจการเป็นผู้ประกอบกิจการขนส่งเป็นปกติธุระ สามารถทำตามได้ดังนี้

2.1 ไม่ต้องนำค่าขนส่งมารวมในราคาค่าสินค้า

2.2 มูลค่าขอฐานภาษี ให้คิดเฉพาะราคาของสินค้า ไม่รวมค่าขนส่ง 

2.3 กิจการสามารถแยกค่าขนส่งและค่าสินค้าออกจากกัน

2.4 กิจการต้องออกใบกำกับภาษี โดยไม่ต้องนำค่าขนส่งมาคิดภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากการให้บริการขนส่งนี้ ค่าขนส่งยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

หรือสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดทำใบกำกับภาษีได้จากบทความ “ใบกำกับภาษี แบบเต็มรูป VS อย่างย่อ ใช้หักภาษีต่างกันอย่างไร”

 

สรุป

ดังนั้น สามารถสรุปได้ว่า หากกิจการที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มและประกอบกิจการเป็นปกติธุระ ค่าขนส่งจะได้ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่หากกิจการที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มที่ไม่ได้ประกอบกิจการเป็นปกติ จะไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม และจะต้องนำค่าขนส่งไปรวมเป็นราคาของสินค้า กระทั่งรายได้ดังกล่าวเกิน 1.8 ล้านบาท ไม่ว่าจะดำเนินธุรกิจในนามบุคคลธรรมดา หรือที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล จะต้องไปจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

โดยเฉพาะเจ้าของธุรกิจขนส่งในนามบุคคลธรรมดา หลังจากจดภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทแล้ว ซึ่งถือว่าเป็นรายได้ที่ค่อนข้างสูง ย่อมมาพร้อมกับภาษีที่สูงสุดถึง 35% เลยทีเดียว ก็ควรหันมามองในเรื่องของฐานภาษีเงินได้ที่ต้องเสียด้วย หากเกิน 20% อาจต้องพิจารณาจดทะเบียนบริษัทเป็นนิติบุคคล จะช่วยให้ประหยัดภาษีได้มากโข