ตามหาพ่อค้าแม่ค้า online ที่อยากสัมมนาภาษี-บัญชี

เข้าร่วมไขความลับเรื่อง ภาษี-บัญชี รู้ทันสรรพากรภายใน 1 วัน
  ในงานสัมมนา “รู้ ครบ จบหมด บัญชีภาษี ธุรกิจขายของ online”

ค่าสัมมนา
4,900 บาท

วางแผน การเสียภาษีคลินิกเสริมความงาม

การเสียภาษีคลินิกเสริมความงาม

การเสียภาษีคลินิกเสริมความงาม …การประกอบธุรกิจคลินิกเสริมความงาม สามารถทำได้ทั้งในนามบุคคลธรรมดา และแบบจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่แนวทางการบริหารจัดการจะมีความแตกต่างกันบ้าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องรายได้และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงภาษี เช่น ภาษีเงินได้ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม 

โดยแนวทางวางแผน การเสียภาษีคลินิกเสริมความงาม สำหรับบุคคลธรรมดา จะมีความซับซ้อนยุ่งยากกว่านิติบุคคล เนื่องจากรายได้ของคลินิกทันตกรรมมีหลายช่องทาง ทำให้ผู้ประกอบการต้องทราบรายได้ต่างๆ ที่เข้ามาก่อนว่าจัดอยู่เงินได้พึงประเมินมาตราไหนบ้าง เพื่อนำไปยื่นภาษีได้ถูกต้อง และต้องจัดการด้วยตนเองเป็นหลัก ซึ่ง รายได้และค่าใช้จ่ายของกิจการคลินิกเสริมความงามหลักๆ ประกอบด้วย

– รายได้โดยตรงและรายได้เสริมต่างๆ เช่น รายได้เกี่ยวกับศัลยกรรมใบหน้าหรือการรักษา ดูแลผิวพรรณ ผิวหน้า ฉีดโบท็อกซ์ ร้อยไหม เมโสหน้าใส รักษาสิว ฉีดสิว แผลเป็นจากสิว รักษาสิว รอยต่างดำ ฝ้า กระ ขาดครีม อาหารเสริม อุปกรณ์ต่างๆ ค่าบริการที่ปรึกษา

– ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับกิจการโดยตรงและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอื่นๆ เช่น ค่าจ้าแพทย์ประตจำ แพทย์ Part-time เงินเดือนพนักงาน ค่าเช่า ค่าซ่อมแซม ค่าส่งเสริมการขาย ค่าประกันภัย ค่าที่ปรึกษา ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ค่าโทรศัพท์ ค่าอินเตอร์เน็ต

 ส่วนคลินิกเสริมความงามที่จดทะเบียนนิติบุคคล รายได้ ค่าใช้จ่าย และ การเสียภาษีคลินิกเสริมความงาม  ไม่ได้คำนวณจากรายได้ แต่คำนวณจากกำไรสุทธิหลังหักค่าใช้จ่ายทั้งหมดแล้ว จึงไม่ต้องนำมาเข้าเงื่อนไขเงินได้พึงประเมิน และมีการทำบัญชีจากนักบัญชีตามกฎหมายกำหนด ซึ่งส่งผลให้การยื่นงบการเงินและภาษีที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ลดความเสี่ยงในการถูกตรวจสอบได้ สามารถอธิบายได้ดังนี้   

 

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 

สำหรับการเสียภาษีคลินิกเสริมความงามในนามบุคคลธรรมดา จะต้องนำรายได้ทั้งหมดตลอดปีมารวมคำนวณภาษี อัตราภาษีสูงสุด 35% โดยมีสูตรคำนวณ 2 แบบ คือ

1.(รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องจ่าย (สำหรับรายได้ไม่ถึง 1 ล้านบาทต่อปี) 

ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายที่นำมาหักลบสามารถแยกตามประเภทรายได้ที่เข้ามา ดังนี้

– หากผู้ประกอบการได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล ตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 หรือเป็นเงินจากการเปิดคลินิกในสถานพยาบาลของตนเอง ถือเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 6 หรือมาตรา 40(6) สามารถหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ 60%

– หากผู้ประกอบการคลินิกเสริมความงามไม่ได้มีการขอใบอนุญาตให้ประกอบกิจการถานพยาบาล รายได้ที่ได้รับทั้งหมดถือเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8 หรือมาตรา 40(8) สามารถหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ 60% หรือหักค่าใช้จ่ายตามจริงและตามสมควร

– หากเป็นลูกจ้างได้รับเงินเดือนค่าจ้าง ถือเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 หรือมาตรา 40(1)

– หากได้รับเงินได้ขั้นต่ำ โดยไม่คำนึงว่าจะทำการรักษาพยาบาลหรือไม่ ถือเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่  2หรือมาตรา 40(2)

2.รายได้ (ยกเว้นเงินเดือน) x 0.5% (สำหรับรายได้เกิน 1 ล้านบาทต่อปี) 

แล้วนำตัวเลขที่ได้จากการคำนวณทั้ง 2 แบบ มาเปรียบเทียบกัน โดยให้เลือกแบบที่ได้ตัวเลขมากกว่าไปยื่นภาษี โดยผู้ประกอบการมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อชำระภาษีเงินได้ปีละ 2 ครั้ง คือ

– ภาษีครึ่งปี (ภ.ง.ด.94) ให้นำรายได้ตั้งแต่เดือนมกราคม – มิถุนายน ของปีภาษีนั้น มายื่นภาษีช่วงเดือนกรกฎาคม – กันยายน ของปีที่มีเงินได้ หรือยื่นผ่านอินเตอร์เน็ตได้ภายในวันที่ 8 ตุลาคมของทุกปี

– ภาษีสิ้นปี (ภ.ง.ด.90) ให้นำรายได้ช่วงเดือนมกราคม – ธันวาคม ของปีภาษี ยื่นภาษีตั้งแต่เดือนมกราคม – มีนาคม ของปีภาษีถัดไป หรือยื่นผ่านอินเตอร์เน็ตภายในวันที่ 8 เมษายนของปีถัดไป   

สามารถอ่านหลักการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้จากบทความ เจาะลึก! วางแผน ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

การเสียภาษีคลินิกเสริมความงามที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ผู้ประกอบการมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยคำนวณภาษีจากกำไรสุทธิ อัตราสูงสุด 20% และต้องมีการทำบัญชี งบการเงิน ภาษีโดยนักบัญชีที่มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด พร้อมส่งงบการเงินให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และส่งภาษีให้กับกรมสรรพากร ซึ่งต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อชำระภาษีเงินได้ปีละ 2 ครั้ง คือ

– ภาษีครึ่งปี (ภ.ง.ด.51) สำหรับรอบครึ่งปี โดยต้องยื่นและชำระภาษีภายใน 2 เดือนนับจากวันสุดท้ายของ 6 เดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี

– ภาษีสิ้นปี (ภ.ง.ด.50) สำหรับรอบสิ้นปี โดยต้องยื่นแบบและชำระภาษีภายใน 150 วันนับจากวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี

สามารถอ่านหลักการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลได้จากบทความ แนวทางวางแผน ภาษีนิติบุคคล”

 

สรุป… ภาษีอื่นๆ ที่สำคัญ

นอกจากนี้การเสียภาษีคลินิกเสริมความงาม ยังมีภาษีที่เกี่ยวข้องและสำคัญไม่แพ้กัน คือ

– ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ผู้ที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย จะต้องเป็นผู้ประกอบกิจการคลินิกเสริมความงามที่จดทะเบียนบริษัทเป็นนิติบุคคลเท่านั้น โดยแบ่งการหักภาษีได้เป็นหลายกรณีเช่น กรณีแพทย์ที่เป็นพนักงานประจำได้รับเงินเดือนทุกเดือน คลินิกเสริมความงามต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคำนวณตามอัตราภาษีก้าวหน้า ต่ำสุด 0% หรือกรณีที่จ้างบริการวิชาชีพ คลินิกเสริมความงามต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 3% (อ่านเพิ่มเติมได้จากบทความภาษี หัก ณ ที่จ่าย แต่ละประเภทต่างกันอย่างไร”)

– ภาษีป้าย คือภาษีที่จัดเก็บจากป้ายโฆษณาสินค้าต่างๆ เช่น ป้ายชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ประกอบการค้า หรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้ หรือโลโก้บนวัตถุต่างๆ ที่ประกอบด้วยอักษร ภาพ ไม่ว่าจะเป็นป้ายทั่วไป ป้ายบนทางด่วน ป้ายผ้าใบ รวมถึงป้ายไฟที่ใช้เพื่อหารายได้หรือการโฆษณา ซึ่งคลินิกเสริมความงามต้องติดป้ายหน้าคลินิก จึงจำเป็นต้องเสียภาษีป้ายด้วย โดยกฎกระทรวงกำหนดอัตราภาษีป้ายไว้ดังนี้ 

– ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นภาษีที่เก็บจากมูลค่าการซื้อขายและการให้บริการภายในประเทศ รวมถึงสินค้านำเข้า โดยเมื่อใดที่คลินิกเสริมความงามมีรายได้จากการประกอบธุรกิจเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ภายใน 30 วัน และออกใบกำกับภาษีทุกครั้งเมื่อมีการขายสินค้า แต่ในบางกรณีจะได้ยกเว้นภาษี ซึ่งสามารถตรวจสอบรายได้แบบไหนได้ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มได้จากบทความ “เงื่อนไขลักษณะใด คลินิกเสริมความงามยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม”

ดังนั้น ผู้ประกอบกิจการอย่าลืมให้ความสำคัญกับการเสียภาษีคลินิกเสริมความงาม ทั้งภาษีหลักอย่างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ผู้ประกอบการคลินิกจะต้องเลือก รวมถึงภาษีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาษีหลักที่ผู้ประกอบการคลินิกเลือกจดทะเบียน เพื่อให้ธุรกิจคลินิกเสริมความงามของผู้ประกอบการเป็นไปตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด ไม่เกิดความผิดพลาดให้ต้องเสียภาษีย้อนหลังโดยไม่ตั้งใจ