วางแผนธุรกิจ
จากบุคคลสู่จดบริษัท
โดยเชื่อมั่นว่าการมีธุรกิจเป็นของตนเอง สามารถสร้างความมั่นคงให้กับชีวิต และลูกหลานต่อไปในอนาคตได้ ซึ่งประตูชัยของแต่ละคนอาจมีเส้นทางเดินที่แตกต่างกันบ้าง แต่อย่างน้อยต้องอยู่บนพื้นฐานที่ถูกต้อง และตามกฎเกณฑ์ที่สังคมกำหนดขึ้นเพื่อใช้ร่วมกัน
และแน่นอนว่าท้ายที่สุดแล้ว การเดินทางสู่ความสำเร็จที่ทุกคนใฝ่หา ย่อมมาพร้อมกับหน้าที่ทางภาษีอันสำคัญยิ่งนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์เงินเดือน เจ้าของธุรกิจที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และที่ จดบริษัท นิติบุคคลเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
ดังนั้น แรกเริ่มของการเดินทางในสายธุรกิจ ส่วนใหญ่นิยมซื้อมาขายไป ไม่ว่าจะเป็นการขายสินค้าตามพื้นที่ต่างๆ มีหน้าร้านเป็นของตนเอง หรือขายสินค้าออนไลน์ เมื่อการค้าขายเริ่มไปได้ดี มีรายได้เข้ามาอย่างต่อเนื่องและสูงขึ้นเรื่อยๆ
โดยเชื่อมั่นว่าการมีธุรกิจเป็นของตนเอง สามารถสร้างความมั่นคงให้กับชีวิต และลูกหลานต่อไปในอนาคตได้ ซึ่งประตูชัยของแต่ละคนอาจมีเส้นทางเดินที่แตกต่างกันบ้าง แต่อย่างน้อยต้องอยู่บนพื้นฐานที่ถูกต้อง และตามกฎเกณฑ์ที่สังคมกำหนดขึ้นเพื่อใช้ร่วมกัน
และแน่นอนว่าท้ายที่สุดแล้ว การเดินทางสู่ความสำเร็จที่ทุกคนใฝ่หา ย่อมมาพร้อมกับหน้าที่ทางภาษีอันสำคัญยิ่งนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์เงินเดือน เจ้าของธุรกิจที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และที่ จดบริษัท นิติบุคคลเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
ดังนั้น แรกเริ่มของการเดินทางในสายธุรกิจ ส่วนใหญ่นิยมซื้อมาขายไป ไม่ว่าจะเป็นการขายสินค้าตามพื้นที่ต่างๆ มีหน้าร้านเป็นของตนเอง หรือขายสินค้าออนไลน์ เมื่อการค้าขายเริ่มไปได้ดี มีรายได้เข้ามาอย่างต่อเนื่องและสูงขึ้นเรื่อยๆ
สารบัญ
การจดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
กฎเกณฑ์แรกที่เจ้าของธุรกิจต้องพึงปฏิบัติ คือเรื่องการจดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เพราะขึ้นชื่อว่าเป็นผู้มีรายได้ ทั้งที่อยู่ในรูปแบบ “บุคคลธรรมดา” หรือจดบริษัทเป็น “นิติบุคคล” ตั้งแต่ยังมีรายได้ไม่ถึง 1.8 ล้านบาท เมื่อมีรายได้จากการประกอบธุรกิจเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปีเมื่อไหร่ ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ส่วนบริษัทนิติบุคคลที่จดภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ตั้งแต่มีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาทอยู่แล้ว ก็หมดกังวลเรื่องนี้ได้
ส่วนกิจการที่ยังไม่ได้จดภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องยื่นจดไม่เกิน 30 วัน นับจากวันที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท และนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มทุกๆ เดือน นับตั้งแต่วันที่ยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นต้นไป แต่ถ้าหากมีรายได้ตลอดทั้งปีเท่ากับ 1.8 ล้านบาทพอดี ก็ยังไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากยังไม่เข้าเกณฑ์ที่กำหนด
ยกเว้นธุรกิจประเภทก่อสร้างโรงงาน สำนักงาน, การติดตั้งเครื่องจักร กฎหมายบังคับให้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มตั้งแต่เริ่มกิจการ โดยยื่นจดภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 6 เดือน ก่อนเปิดกิจการ นอกจากนี้ยังมีรายได้บางประเภทที่ได้รับการยกเว้นไม่นำมานับรวมเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่
– การให้บริการรักษาพยาบาลของสถานพยาบาลทั้งราชการและเอกชน
– การให้บริการสถานศึกษา ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์
– ธุรกิจจำหน่ายสัตว์ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตภายในประเทศ
– ธุรกิจจำหน่ายพืชผลทางการเกษตรภายในประเทศ
– ธุรกิจเกี่ยวกับการขนส่ง
ในบางรายที่ทำทั้งงานประจำและมีรายได้จากการทำธุรกิจของตนเองด้วย จะนำแค่รายได้จากการประกอบธุรกิจนอกเหนือจากเงินเดือนมาคิดเท่านั้น ซึ่งสามารถตรวจสอบวิธีการคำนวณว่าตนเองมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทหรือยัง ได้จากบทความ จดภาษีมูลค่าเพิ่มตอนไหนดี และใครที่ควรจดบ้าง
กระทั่งคำนวณแล้วพบว่ามีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี จะต้องรีบไปจดภาษีมูลค่าเพิ่ม หากปล่อยให้เนิ่นนานเลยกำหนด 30 วัน นับจากวันที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท แบบนี้ถ้ากรมสรรพากรตรวจสอบพบ จะต้องเสียค่าปรับนับตั้งแต่วันแรกที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้าน จนถึงวันที่ยื่นขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือสรรพากรตรวจพบ โดยต้องเสียเบี้ยปรับตั้งแต่ 2-20% และเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือน
รายได้เกิน 1.8 ล้านบาท
แต่จด VAT ไม่ทัน ต้องทำอย่างไร
เมื่อมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท แล้วยื่นขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ทัน แนะนำว่าเมื่อรู้ตัวแล้ว ควรดำเนินการขอจดทะเบียนให้ถูกต้อง โดยควรดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
– ต้องหยุดรับเงินผ่านทางบัญชีเดิมก่อน (ในกรณีที่ผู้มีรายได้ยื่นภาษีแบบบุคคลธรรมดาอยู่ และกำลังจะจดบริษัทให้อยู่ในรูปแบบนิติบุคคล)
– เช็ก statement ว่ารายได้เริ่มเกินตั้งแต่วันไหน
– คำนวณรายได้แยกเป็นแต่ละเดือน เพื่อหายอดภาษี และค่าปรับที่ต้องยื่น
– เข้าไปเจรจากับเจ้าหน้าที่สรรพากร ตามพื้นที่ที่สำเนาทะเบียนบ้านตัวเองอยู่
พร้อมกับเตรียมเอกสารต่างๆ ที่ต้องใช้เพื่อจดภาษีมูลค่าเพิ่มให้พร้อม เข้าพบเจ้าหน้าที่สรรพากรโดยไม่ต้องกังวลว่าจะสร้างภาระในอนาคตช่วงใดช่วงหนึ่งหากมีรายได้ไม่ถึง 1.8 ล้านบาทต่อปี เพราะสามารถออกจากระบบภาษีมูลค่าเพิ่มได้ หากเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด ดังรายละเอียดจากบทความ รู้ตัวอีกที… รายได้เกิน 1.8 ล้านบาท ทำไงดี
แต่หากเลือกที่จะไม่จดภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท แล้วสรรพากรตรวจสอบพบ ให้เตรียมเก็บเงินจ่ายภาษีย้อนหลังได้เลย แถมมีผลเสียในทางกฎหมายและภาษีดังนี้
1.ต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับ 2 เท่า ของเงินภาษีที่ต้องเสียในเดือนภาษีตลอดระยะเวลาที่ไม่ได้จดภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือเท่ากับเป็นเงิน 1,000 บาทต่อเดือนภาษี และเสียภาษีเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน
2.ต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยตนเอง หากทำธุรกิจเกี่ยวกับการขายสินค้าหรือบริการ ไม่สามารถเก็บได้จากลูกค้า และไม่สามารถออกใบกำกับภาษีได้ เนื่องจากไม่ได้จดภาษีมูลค่าเพิ่ม
3.ไม่สามารถนำภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ถูกร้านค้าหรือผู้ปะกอบการที่จดภาษีมูลค่าเพิ่มเรียกเก็บ มาเป็นภาษีซื้อเพื่อหักออกจากภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องเสียได้ เนื่องจากภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไม่เข้าลักษณะเป็นภาษีซื้อ (สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่บทความ ระวัง! ภาษีย้อนหลัง…รายได้เกิน 1.8 ล้าน แต่ไม่ได้จด VAT)
เปิดร้านออนไลน์
ขายของต้องเสียภาษี
โดยเฉพาะพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์มักไม่ได้ให้ความสนใจเรื่องของภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมถึงยังมีอีกหลายคนที่ยังไม่ทราบว่า เปิดร้านออนไลน์ขายของต้องเสียภาษีด้วย จึงทำให้อาจละเลยไปบ้าง ซึ่งตามหลักการนอกจากผู้ที่ทำการค้าขายออนไลน์จะต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทแล้ว ยังมีภาษีอื่นๆ รวมถึงข้อควรพิจารณาเพิ่มเติม ที่พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ต้องทำความเข้าใจ เพื่อให้สามารถวางแผนภาษีได้อย่างถูกต้องดังนี้
1. ภาษีเงินได้ โดยแบ่งได้ตามรูปแบบของธุรกิจคือ
1.1 บุคคลธรรมดา หรือภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ต้องเสียทุกปี มีวิธีการคำนวณ 2 แบบ คือ
1) (รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องจ่าย
2) รายได้ x 0.5% วิธีนี้จะใช้สำหรับรายได้ที่เกิน 1 ล้านบาทต่อปี
แล้วนำมาเปรียบเทียบทั้ง 2 แบบ หากแบบไหนได้ตัวเลขมากกว่าให้ใช้แบบนั้นนำไปยื่นภาษี
1.2 นิติบุคคล หรือภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ที่จดบริษัทอยู่ในรูปแบบนิติบุคคล มีวิธีการคำนวณภาษีคือ (รายได้ – ค่าใช้จ่าย) = กำไรสุทธิ แล้วนำกำไรสุทธิที่ได้มาคิดภาษีตามอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
แต่เนื่องจากการค้าขายสินค้าออนไลน์ จะเป็นกลุ่มผู้มีรายได้ทั้งแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และแบบจดบริษัทเป็นนิติบุคคล ซึ่งมีวิธีการคำนวณภาษีเงินได้แตกต่างกัน จะต้องนำค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อนต่างๆ มาร่วมคำนวณภาษีด้วย ดังได้อธิบายไว้ในบทความ รู้ก่อนวางแผน… ภาษีแม่ค้าออนไลน์ ยังไงให้เป๊ะ!
2.ภาษีออนไลน์ E-PAYMENT เป็นการส่งข้อมูลยอดเงินของเจ้าของบัญชีเงินฝากธนาคารทั้งที่เปิดแบบบุคคลธรรมดา และจดบริษัทเป็นนิติบุคคลให้แก่สรรพากร
3.จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ให้ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งเป็นการจดทะเบียนธุรกิจสำหรับบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ที่ทำธุรกิจออนไลน์ มีการชำระเงินในรูปแบบออนไลน์ตามแพลตฟอร์มนั้นๆ และมีร้าน เพจ เว็บไซต์เป็นของตัวเอง ซึ่งสามารถเช็กเงื่อนไขได้จากบทความ ทะเบียนพาณิชย์ กับ ทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ต่างกันอย่างไร
4.หากเป็นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่ซื้อมาขายไป เวลาซื้อของต้องขอใบกำกับภาษีทุกครั้ง เพื่อเป็นหลักฐานสำหรับใช้ยื่นภาษีสรรพากร
5.ควรทำบัญชีรายรับรายจ่ายไว้โดยตลอด เพื่อให้ทราบรายละเอียดในแต่ละธุรกรรมของธุรกิจที่ทำ
6.รายรับรายจ่ายส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวกับธุรกิจ ควรแยกบัญชีออกมาต่างหาก และเปิดบัญชีธนาคารในชื่อบริษัท ซึ่งสามารถวางแผนภาษีขายของออนไลน์ได้จากบทความ ล้วงเทคนิควางแผน… ภาษีขายของออนไลน์
หลักการเสียภาษี
เงินได้บุคคลธรรมดา
ทั้งนี้ พ่อค้าแม่ค้าที่ขายสินค้าออนไลน์ พนักงานประจำ หรือทำธุรกิจอื่นๆ แบบไม่ได้จดบริษัทเป็นนิติบุคคล ถือว่าเป็นผู้มีรายได้ที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยตามกฎหมายกำหนดว่าผู้ที่มีรายได้ตั้งแต่ 120,000 บาท ทุกคน มีหน้าที่ต้องยื่นแบบฯ ภาษี และมียอดภาษีต้องชำระหากคำนวณแล้วเงินได้สุทธิมีจำนวนตั้งแต่ 150,000 บาทขึ้นไป
โดยสามารถยื่นแบบฯ ภาษีได้ 2 ช่วงคือช่วงต้นปี (ภ.ง.ด.90, ภ.ง.ด.91) ระหว่างเดือนมกราคม – มีนาคม ของทุกปี และกลางปี (ภ.ง.ด.94) ช่วงเดือนกรกฎาคม – กันยายนของปีนั้นๆ ขึ้นอยู่กับประเภทธุรกิจที่มีอยู่ทั้งหมด 8 ประเภท เช่น
1. ภ.ง.ด.91 สำหรับผู้มีเงินได้ประเภทที่ 1 จากเงินเดือนเพียงอย่างเดียว เช่น พนักงานบริษัท
2. ภ.ง.ด.90 ผู้มีรายได้อื่นๆ ที่นอกเหนือจากเงินเดือน เช่น รายได้จากเงินปันผล ผู้ที่เป็นฟรีแลนซ์ หรือพ่อค้าแม่ค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เป็นต้น
3. ภ.ง.ด.94 สำหรับผู้มีเงินได้ประเภทที่ 5, 6, 7 และ 8 เพื่อคำนวณภาษีจากรายได้เฉพาะในส่วนที่ต้องจ่ายภาษีครึ่งปี (6 เดือนแรก)
ผู้ที่มีรายได้ที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สามารถนำค่าใช้จ่ายตามประเภทธุรกิจของตนเองมาใช้ลดหย่อนภาษีได้ รวมถึงค่าลดหย่อนอื่นๆ อีก 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเกี่ยวกับครอบครัว กลุ่มเกี่ยวกับการประกันและการลงทุน กลุ่มเกี่ยวกับการบริจาค และกลุ่มพิเศษ ซึ่งสามารถอ่านเพิ่มเติมแบบเจาะลึกได้จากบทความ เจาะลึก! วางแผน ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา https://inflowaccount.co.th/pit-planning/ เพื่อวางแผนภาษีบุคคลธรรมดาให้ได้ใช้ประโยชน์ทางภาษีอย่างคุ้มค่าก่อนยื่นภาษี
โดยสามารถยื่นแบบฯ ภาษีได้ 2 ช่องทาง คือ 1) ที่สำนักงานกรมสรรพากร และ 2) ยื่นออนไลน์ผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากร ระบบ E-Filing ที่ได้มีการพัฒนาปรับปรุงอยู่ตลอด เพื่อให้ใช้งานได้สะดวก รวดเร็ว เข้าใจง่าย และปลอดภัยยิ่งขึ้น
วิธีการยื่นแบบฯ
ภาษีออนไลน์บุคคลธรรมดา
วิธีการยื่นแบบฯ ภาษีออนไลน์บุคคลธรรมดา สามารถทำได้ด้วยตนเอง โดยเริ่มจากเข้าหน้าเว็บไซต์กรมสรรพากร จะเจอข้อความที่เขียนว่า “ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ให้กดเข้าไป จะเจอหน้า “ยื่นภาษีและชำระภาษีออนไลน์” สำหรับคนที่ยังไม่เคยยื่นภาษีให้กด “สมัครสมาชิก” และกรอกข้อมูลส่วนตัวก่อน
ส่วนคนที่มี Username Password อยู่แล้วให้กด “เข้าสู่ระบบ” ได้เลย จากนั้นทำตามขั้นตอนต่างๆ ที่ระบบแจ้งจนเสร็จสิ้น หรือดูตัวอย่างการยื่นแบบฯ ภาษีแต่ละขั้นตอนได้จากบทความ 10 Step ยื่นภาษีออนไลน์ บุคคลธรรมดา ระบบ E-Filing โฉมใหม่
สรรพากรเรียกพบ
รู้ได้ยังไงว่ามีรายได้
ทว่าหลายคนอาจกำลังคิดว่าเป็นผู้มีรายได้ที่ไม่ได้จดบริษัทนิติบุคคล ไม่ยื่นแบบฯ ภาษีคงไม่เป็นอะไร เพราะตั้งแต่เริ่มมีรายได้ก็ไม่เคยยื่นแบบฯ ภาษีอยู่แล้ว แต่รู้หรือไม่ว่า สรรพากรสามารถรู้รายได้ของเราได้แม้ว่าจะไม่เคยยื่นแบบฯ ภาษีเลยก็ตาม
เนื่องจากสรรพากรสามารถตรวจสอบรายได้ได้หลายวิธีด้วยกัน เช่น
1.หากเป็นพนักงานประจำ ทางบริษัทจะต้องส่งเอกสารชี้แจงเงินได้ของพนักงานให้แก่สรรพากร
2.ใช้ระบบ Big Data & Data Analytics
3.ใช้ www.rd.go.th แจ้งเบาะแสธุรกิจที่เสียภาษีไม่ถูกต้อง ผ่านเมนู “การแจ้งเบาะแส/ข้อมูลแหล่งภาษี” 4.สุ่มตรวจ โดยการสุ่มตรวจจากหน้าเว็บต่างๆ เช่น facebook
5.ดึงข้อมูลจากเว็บต่างๆ หรือ Web Scraping
6.สถาบันการเงิน หรือธนาคาร กฎหมายกำหนดให้สถาบันการเงินต้องรายงานธุรกรรมการเงินของผู้มีรายได้ให้กับสรรพากรทราบ หากมีธุรกรรมการเงินต่อเลขบัตรประชาชนต่อสถาบันการเงิน (รวมทุกบัญชีในธนาคารเดียวกัน) โดยนับตั้งแต่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคมของทุกปี เป็นไปตามเงื่อนไขดังรายละเอียดในบทความ สรรพากรเรียกพบ รู้ได้ยังไงว่ามีรายได้
เมื่อถูกสรรพากร
เรียกเก็บภาษีย้อนหลัง
ในกรณีที่ผู้มีรายได้ตั้งใจหลีกเลี่ยงไม่ยื่นภาษี หรือการยื่นภาษีเกิดผิดพลาดด้วยความไม่ชำนาญ หากสรรพากรตรวจสอบรายได้จากช่องทางต่างๆ แล้วพบว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น ก็จะส่งจดหมายถึงผู้มีรายได้ที่พบความผิดปกตินั้นๆ เพื่อเรียกชี้แจ้งรายได้หรือข้อสงสัยที่เกิดขึ้น
โดยผู้ถูกเรียกพบต้องเช็กให้ดีก่อนว่าเป็นจดหมายจากกรมสรรพากรจริงหรือไม่ โดยจะต้องเป็นจดหมายที่ถูกต้องเป็นลายลักษณ์อักษร และในจดหมายจะระบุข้อความเพื่อให้เตรียมตัว คือ
– สรรพากรต้องการอะไร อาจจะขอเชิญพบ ขอตรวจสอบ ขอข้อมูล หรือขอเชิญเป็นพยาน
– มีวัตถุประสงค์อะไร ต้องการเอกสารหลักฐานอะไรบ้าง
– ต้องไปพบใครและวันไหน แต่ถ้าไม่สะดวกสามารถโทรติดต่อขอเลื่อน หรือปรึกษาทางสรรพากรก่อนได้
ในขั้นตอนการเข้าพบเจ้าหน้าที่สรรพากร ผู้ถูกเรียกพบควรเตรียมเอกสารให้ครบตามที่ทางสรรพากรขอมาในจดหมาย เช่น หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายของปีภาษีนั้นทั้งหมด และบัญชีรายรับรายจ่ายทั้งปี
จากนั้นอาจถูกสรรพากรเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง หากพบว่ามีความผิดจริง เมื่อคำนวณแล้วต้องเสียภาษีเพิ่มเติม พร้อมเบี้ยปรับต่อไป โดยจะเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดดังที่อธิบายไว้ในบทความ เตรียมตัวให้พร้อมเมื่อถูก กรมสรรพากรเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง แต่ถ้าไม่พร้อมในการชำระภาษีดังกล่าว สามารถยื่นอุทธรณ์หากคิดว่าไม่เป็นไปตามหลักการจริงๆ หรือยื่นคำร้องขอลดเบี้ยปรับหากไม่ได้มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี ตลอดจนขอผ่อนชำระหากเบี้ยปรับมีจำนวนสูงเกินไปได้
แต่ทุกอย่างถือเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ดังนั้น ควรทำตามกฎเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดตั้งแต่แรกเป็นสิ่งที่ดีที่สุด เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกตรวจสอบและเสียภาษีย้อนหลัง เพราะต้องยอมรับว่าการเริ่มต้นธุรกิจไม่ใช่เรื่องง่าย ซึ่งไม่ได้มีแค่เรื่องภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือภาษีเงินได้เท่านั้น
ยังมีเงื่อนไขและกฎเกณฑ์อีกมากมายที่เจ้าของธุรกิจต้องเรียนรู้ อย่างเช่น กฎหมายได้กำหนดให้ผู้ทำธุรกิจค้าขายประเภทต่างๆ ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล จะต้องจดทะเบียนพาณิชย์
หลักการจดทะเบียนพาณิชย์
และใครที่ต้องจดบ้าง
ตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 ธุรกิจที่กฎหมายกำหนดต้องจดทะเบียนพาณิชย์ แบ่งได้ดังนี้
1.บุคคลธรรมดาที่เป็นเจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วนสามัญ และนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศมาตั้งสำนักงานสาขาในประเทศไทย ที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ เช่น ธุรกิจเกี่ยวกับโรงสีข้าวและโรงเลื่อยที่ใช้เครื่องจักร
2.บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด ที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ เช่น ธุรกิจขาย ให้เช่า ผลิต หรือรับจ้างผลิต ผ่านซีดี แถบบันทึก วีดิทัศน์ แผ่นวีดิทัศน์ ดีวีดี หรือแผนวีดิทัศน์ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง
ยกเว้นผู้ประกอบธุรกิจประเภทดังต่อไปนี้ไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ซึ่งประกอบด้วย ธุรกิจค้าเร่ แผงลอยธุรกิจเพื่อการบำรุงศาสนาหรือเพื่อการกุศล ธุรกิจของนิติบุคคลที่มีพระราชบัญญัติ หรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้นธุรกิจของกระทรวง ทบวง กรม ธุรกิจของมูลนิธิ สมาคม สหกรณ์ ธุรกิจของกลุ่มเกษตรกรที่ได้จดทะเบียนตาม ปว.141 ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2515
โดยธุรกิจที่จดบริษัทเป็นนิติบุคคลแต่ไม่เข้าเงื่อนไขที่กำหนด ก็ไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ยกเว้นนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ด้วย เพื่อยืนยันว่าธุรกิจของคุณถูกต้องตามกฎหมาย มีความน่าเชื่อถือในการซื้อขายกับลูกค้า
ส่วนธุรกิจที่ไม่ได้จดบริษัทเป็นนิติบุคคล หรือเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หากเข้าเงื่อนไขตามที่กฎหมายกำหนดก็ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ด้วย (อ่านเงื่อนไขเพิ่มเติมได้ที่บทความ ทำไมต้องจด ทะเบียนพาณิชย์ และใครบ้างที่ต้องจด) แต่ตามหลักการแล้วการจดทะเบียนพาณิชย์ เป็นเพียงการจดทะเบียนเพื่อยืนยันว่ากำลังดำเนินธุรกิจอยู่ มีการค้าขายอย่างถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น
ทำไมต้องจดบริษัท
เป็นนิติบุคคล
เมื่อไหร่ที่ธุรกิจเริ่มมีรายได้เข้ามาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การจดทะเบียนพาณิชย์อาจไม่เพียงพอ เพราะมีสิทธิ์ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสูงถึง 35% ต่างจากนิติบุคคลที่เสียภาษีจากกำไรสุทธิสูงสุดที่ 20% เท่านั้น
นอกจากนี้หากมีการขยับขยายใหญ่ขึ้น ต้องมีพนักงานเข้ามาช่วย การบริหารงานอย่างเป็นระบบและความมั่นคงทางธุรกิจคงไม่สามารถทำได้เพียงคนเดียว เจ้าของธุรกิจอาจต้องตัดสินใจเลือกจดบริษัทเป็นนิติบุคคล เพื่อให้การดำเนินกิจการเป็นระบบและมั่นคงมากขึ้น
โดยการนำปัจจัยต่างๆ ตั้งแต่รายได้ ค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อน มาคำนวณภาษีเปรียบเทียบตามอัตราภาษีที่กฎหมายกำหนด ดังนี้
อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คิดตามภาษีก้าวหน้า คือ
รายได้สุทธิ 1 – 150,000 บาท ได้รับการยกเว้น
รายได้สุทธิ 150,001 – 300,000 อัตราค่าภาษี 5% (เสียภาษีสูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท)
รายได้สุทธิ 300,001 – 500,000 อัตราค่าภาษี 10% (เสียภาษีสูงสุดไม่เกิน 27,000 บาท)
รายได้สุทธิ 500,001 – 750,000 อัตราค่าภาษี 15% (เสียภาษีสูงสุดไม่เกิน 65,000 บาท)
รายได้สุทธิ 750,001 – 1,000,000 อัตราค่าภาษี 20% (เสียภาษีสูงสุดไม่เกิน 115,000 บาท)
รายได้สุทธิ 1,000,001 – 2,000,000 อัตราค่าภาษี 25% (เสียภาษีสูงสุดไม่เกิน 365,000 บาท)
รายได้สุทธิ 2,000,001 – 5,000,000 อัตราค่าภาษี 30% (เสียภาษีสูงสุดไม่เกิน 1,265,000 บาท)
รายได้สุทธิ 5,000,001 บาทขึ้นไป อัตราภาษี 35% (เสียภาษีมากกว่า 1,265,000 บาท)
อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล คิดจากกำไรสุทธินำมาเปรียบเทียบกับอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่ทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท + รายได้ทั้งปีไม่เกิน 30 ล้านบาท ดังนี้
กำไร 300,000 บาทแรก = ยกเว้นภาษี
กำไร 300,001 – 3 ล้าน = ภาษี 15%
กำไรมากกว่า 3 ล้านบาทขึ้นไป = ภาษี 20%
แต่ถ้าไม่เข้าเกณฑ์ดังกล่าว ให้จัดอยู่ในอัตราภาษีเท่ากับ 20% ตั้งแต่กำไรบาทแรก
นำมาเปรียบเทียบให้เห็นว่าแบบบุคคลธรรมดาและแบบนิติบุคคล แบบไหนที่เจ้าของธุรกิจแต่ละรายจะได้ประโยชน์มากกว่ากัน และควรจดบริษัทหรือไม่ ซึ่งสามารถดูตัวอย่างการคำนวณภาษี และเปรียบเทียบแบบบุคคลธรรมดาและแบบนิติบุคคลได้จากบทความ ควรจดทะเบียนบริษัทหรือไม่ ตัดสินใจยังไง ที่นี่มีคำตอบ
และหากตัดสินใจแล้วว่าจะจดบริษัทเป็นนิติบุคคล เจ้าของธุรกิจจะต้องพิจารณาต่อว่า ธุรกิจของตนเองนั้นจะจดบริษัทนิติบุคคลประเภทไหน ซึ่งส่วนใหญ่ที่นิยมคือ
1.บริษัทจำกัด (บจก.) คือธุรกิจที่ต้องมีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป แบ่งทุนละเท่าๆ กัน หุ้นราคาไม่น้อยกว่าหุ้นละ 5 บาท ต่อ 1 หุ้น ทุนขั้นต่ำ 15 บาท ผู้ถือหุ้นทุกคนจะรับผิดชอบในหนี้สินกิจการ เฉพาะในส่วนที่ต้องชำระเงินทุนตามค่าหุ้นที่ได้จดทะเบียนไว้เท่านั้น
2.ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด (หจก.) คือธุรกิจที่ต้องมีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ร่วมกันลงทุนและดำเนินกิจการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งผลกไรที่ได้จากการดำเนินงาน
3.ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล (หสน.) คือห้างหุ้นส่วนสามัญแบบจดทะเบียน จะต้องรับผิดในหนี้สินทั้งหมดของกิจการ โดยไม่จำกัดจำนวน และผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนมีสิทธิดำเนินกิจการในนามห้างหุ้นส่วนได้ (อ่านเพิ่มเติมแบบเจาะลึกสำหรับผู้ที่สนใจจดบริษัทนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนได้จากบทความ ห้างหุ้นส่วน แบบไหนเหมาะกับธุรกิจของคุณ)
โดยแต่ละแบบมีความแตกต่างในรายละเอียดพอสมควร เจ้าของธุรกิจต้องพิจารณาแบบที่เหมาะกับธุรกิจของตนเองก่อนดังนี้
– บริษัทจำกัด ผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป แบ่งทุนละเท่าๆ กัน หุ้นราคาไม่น้อยกว่าหุ้นละ 5 บาท ต่อ 1 หุ้น ทุนขั้นต่ำ 15 บาท ผู้ถือหุ้นทุกคนรับผิดชอบในหนี้สินกิจการ เฉพาะในส่วนที่ต้องชำระเงินทุนตามค่าหุ้นที่ได้จดทะเบียนไว้เท่านั้น
– ห้างหุ้นส่วนจำกัด ผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ไม่มีกำหนดทุนขั้นต่ำ ผู้ถือหุ้นมี 2 แบบคือ
1) จำกัดความรับผิด คือรับผิดชอบตามเงินลงทุน
2) ไม่จำกัดความรับผิด คือรับผิดชอบหนี้สินทั้งหมด
– ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ไม่มีกำหนดทุนขั้นต่ำ ร่วมรับผิดชอบหนี้สินของกิจการอย่างไม่จำกัด
ส่วนการดำเนินกิจการตามกฎหมายหลังจากจดบริษัทนิติบุคคลแล้ว สำหรับ “บริษัทจำกัด – ห้างหุ้นส่วนจำกัด – ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล” จะเหมือนกัน ตามรายละเอียดในบทความ “บริษัทจำกัด – ห้างหุ้นส่วนจำกัด – ห้างหุ้นส่วนสามัญ” ต่างกัน! จดทะเบียนนิติบุคคล แบบไหนดี
หุ้นส่วนแบบไหนที่ควรมี
ก่อนตัดสินใจจดบริษัท
และอย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่า การบริหารงานในรูปแบบนิติบุคคลไม่ว่าจะเป็นบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ตามกฎหมายกำหนดว่าจะต้องมีหุ้นส่วน ดังนั้น ก่อนจดบริษัทเป็นนิติบุคคล เจ้าของธุรกิจจำเป็นจะต้องหาหุ้นส่วนให้ครบตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้สามารถจดบริษัทนิติบุคคลได้
แต่สิ่งที่สำคัญสำหรับการหาหุ้นส่วน บางรายอาจเลือกหุ้นส่วนจากความเป็นเพื่อนพ้อง คนรู้จัก โดยเจ้าของธุรกิจต้องไม่ลืมพิจารณาเลือกหุ้นส่วนที่ดีเพื่อมาช่วยพัฒนาธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วย
1.ทำงานดี ควรเป็นบุคคลที่ทำงานเก่ง ทำงานเก่งมากว่าพูดเก่ง จะช่วยให้การบริหารงานเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.ทำงานเข้ากับเจ้าของธุรกิจได้ หรือการตัดสินใจบริหารงานให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน
3.เข้ากับทุกคนได้ หุ้นส่วนควรเป็นบุคคลที่เข้ากับทีมงานทุกคนได้ เพื่อให้การทำงานราบรื่น
4.เลือกหุ้นส่วนที่ทุ่มเทกับงาน การมีหุ้นส่วนที่ทำธุรกิจหลายอย่าง อาจทำให้งานที่ทำกับคุณไม่เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ได้
5.ไม่เอาตัวเองเป็นใหญ่ หุ้นส่วนไม่ควรยึดตัวเองเป็นใหญ่เพียงคนเดียว เพราะอาจทำให้เกิดความผิดพลาดได้สูงกว่าการรับฟังความคิดเห็นของทีมงาน
6.หุ้นส่วนที่สามารถเติมเต็มสิ่งที่เราขาดได้ สามารถทำงานในส่วนที่เจ้าของธุรกิจไม่รู้ ก็จะทำให้ช่วยปิดรอยรั่วของธุรกิจได้
นอกจากนี้ควรตกลงผลประโยชน์ หน้าที่ความรับผิดชอบให้ชัดเจนเป็นลายลักษณ์ ซึ่งโดยทั่วไปหุ้นส่วนที่ลงทุนมากก็จะได้รับผลประโยชน์มาก ลงทุนน้อยก็ได้รับผลประโยชน์น้อยตามลำดับ หรือทำงานมากก็จะได้มากเป็นเรื่องปกติ
รวมถึงการตกลงเรื่องเงินเดือนสำหรับหน้าที่ความรับผิดชอบที่ได้รับ ก็ควรจะให้เหมาะสมกับหน้าที่นั้นๆ วางระบบงานให้โปร่งใส ตรวจสอบได้ เพื่อให้การทำงานราบรื่นไปได้ยาวนานและมั่นคง ไม่เกิดปัญหาการผิดใจกันในระหว่างร่วมธุรกิจ ดังรายละเอียดจากบทความ หุ้นส่วน แบบไหนที่ควรมี ก่อนตัดสินใจจดทะเบียนบริษัท
นอกจากหุ้นส่วนที่จำเป็นต้องมีเมื่อต้องการจดบริษัทแล้ว หากเจ้าของธุรกิจ (ผู้ถือหุ้น) สามารถดำเนินธุรกิจไปได้อย่างต่อเนื่อง ก็สามารถดำเนินกิจการกันเองได้ โดยไม่จำเป็นต้องจ้างพนักงานเลยได้ แต่อย่าลืมว่าทุกอย่างต้องมาควบคู่กับการจัดการที่เป็นระบบ โดยเฉพาะบริษัทที่หลังจากจดเป็นนิติบุคคลแล้ว จะมีข้อกำหนดทางภาษีและการจัดเก็บเอกสารต่างๆ ที่เพิ่มเข้ามา
ดังนั้น หากขาดการจัดการที่ดี ปัญหาเรื่องของภาษีจะตามมาอย่างแน่นอน เพราะเรื่องของบัญชีเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน หากผู้ประกอบการไม่ได้ชำนาญทางด้านนี้ การทำบัญชีเองถือเป็นเรื่องยาก และต้องมีการตรวจสอบจากนักบัญชีหรือคนที่มีความเชี่ยวชาญก่อนการยื่นภาษีสรรพากรด้วย
เพราะเรื่องของภาษี หากยื่นไม่ถูกต้องอาจทำให้กิจการต้องแบกรับภาระในเรื่องของค่าปรับจากสรรพากร เพราะฉะนั้น หากเป็นกิจการที่มีรายรับรายจ่ายจำนวนมาก เป็นบริษัทใหญ่ ก็ควรพิจารณาเรื่องการจ้างพนักงานมาเพื่อดูแลในเรื่องของบัญชีและภาษีโดยเฉพาะ (อ่านเพิ่มเติมได้จากบทความ เปิดบริษัท จำเป็นต้องมีพนักงานมั้ย?)
เงินทุนในการขอจด
บริษัทนิติบุคคล
สิ่งที่สำคัญลำดับต่อมาคือเรื่องของเงินทุนในการขอจดบริษัทนิติบุคคล ซึ่งตอนยื่นขอจดบริษัทนั้น ทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้าไม่ได้บังคับว่าจะต้องมีทุนจริงเท่ากับทุนจดทะเบียนที่ตั้งไว้ตั้งแต่วันแรก แต่จะมีกำหนดไว้ว่า ณ วันจัดตั้งบริษัทต้องชำระเงินทุนเข้ามาในบริษัท เบื้องต้นอย่างน้อย 25% ของทุนทั้งหมด สมมุติแจ้งทุนจดทะเบียนไว้ 1,000,000 บาท ก็ต้องชำระค่าหุ้นขั้นต่ำ 25% เป็นจำนวนเงิน 250,000 บาท
ทั้งนี้ ถ้าหากไม่มีเงินเลยสักบาทก็ยังสามารถจดบริษัทได้เช่นกัน เนื่องจากเวลาที่เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสาร จะไม่ได้มีการเช็กเงินสด หรือเงินฝากธนาคารที่ชำระทุนเข้าบริษัทจริง แต่จะขอดูเอกสารใบรับชำระค่าหุ้น ณ ตอนส่งเอกสารเท่านั้น
ยกเว้นทุนจดทะเบียนเกิน 5,000,000 บาท หรือมีชาวต่างชาติร่วมถือหุ้นในบริษัทด้วย จะต้องมีเงินทุนจริง ตั้งแต่ ณ วันจดบริษัท เนื่องจากถ้าเข้าตามเกณฑ์ข้างต้น จะมีการตรวจสอบเงินทุนที่ชำระ โดยผู้ขอจดทะเบียนจะต้องยื่นหลักฐานว่ามีเงินจริงตามที่จดทะเบียน เพื่อป้องกันการแอบอ้างจดบริษัทด้วยทุนหลายร้อยล้านบาทให้ดูมีความน่าเชื่อถือ แล้วไปหลอกลวงประชาชน จึงจำเป็นต้องมีการตรวจสอบ
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะไม่มีการตรวจสอบทุนจริง ณ ตอนขอจดบริษัท แต่ก็ควรมีทุนจริงตามที่แจ้งขอไป เพราะนอกจากต้องใช้เงินทุนในการดำเนินกิจการของกิจการแล้ว ก็อาจมีการตรวจสอบทุนดังกล่าวจากผู้ตรวจสอบบัญชีภายหลังจากปิดงบสิ้นปีด้วย (อ่านเพิ่มเติมได้จากบทความ จดบริษัทใช้เงินเท่าไหร่ ไม่มีเงินสักบาทจดบริษัทได้หรือไม่)
วิธีการจดบริษัทด้วยตนเอง
โดยปกติเมื่อกิจการตัดสินใจจดบริษัท ส่วนใหญ่จะนิยมใช้บริการสำนักงานบัญชีให้ช่วยดำเนินการประสานงานให้ เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว ทำให้ทุกขั้นตอนรวมถึงเรื่องเงินทุนง่ายขึ้น ทว่ากรณีที่ต้องการจดบริษัทด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็น “บริษัทจำกัด” หรือ “ห้างหุ้นส่วน” เจ้าของธุรกิจจำเป็นต้องดำเนินการในส่วนของการตั้งชื่อบริษัท โดยชื่อจะต้องไม่ซ้ำหรือคล้ายกับบริษัทอื่นๆ ที่จดทะเบียนไปแล้ว
จากนั้นทำการจองชื่อบริษัทผ่านเว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หลังจากจองชื่อผ่านแล้ว หากเป็น “บริษัทจำกัด” ให้ทำการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ และต้องยื่นจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ ภายใน 30 วัน จึงเข้าสู่ขั้นตอนการจดบริษัทด้วยตนเอง (อ่านขั้นตอนการจดบริษัทด้วยตนเองได้จากบทความ จดบริษัทด้วยตนเอง ทำได้ง่ายนิดเดียว… จริงหรือ?)
โดยยื่นขอจดทะเบียนบริษัทได้ 2 ช่องทาง คือ
1.ยื่นขอจดทะเบียนบริษัทพร้อมเอกสารต่อนายทะเบียนที่สำนักงานกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
2.ยื่นขอจดทะเบียนบริษัททางอินเตอร์เน็ตที่ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน
ส่วนการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน หลังจากจองชื่อบริษัทผ่านแล้ว ให้กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อของห้างหุ้นส่วน วัตถุประสงค์ที่กิจการจะทำ สถานที่ตั้งห้าง ชื่อ ที่อยู่ อายุ สัญชาติ สิ่งที่นำมาลงทุน ลายมือชื่อของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน ชื่อหุ้นส่วนผู้จัดการ ข้อจำกัดอำนาจหุ้น ส่วนผู้จัดการ (ถ้ามี) และประทับตราสำคัญของห้างในแบบพิมพ์คำขอจดทะเบียนจัดตั้ง
พร้อมกับเตรียมเอกสารต่างๆ ให้ครบถ้วน (เช็กข้อมูลเพิ่มเติมได้จากบทความ เช็กเลย! จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน ทำเองได้หรือไม่) และนำไปยื่นขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนได้เหมือนกับการจด “บริษัทจำกัด”
การจดบริษัทผู้ถือหุ้นต่างชาติ
แต่ถ้าหากขอจดบริษัทโดยมีผู้ถือหุ้นต่างชาติ ตามหลักการของบริษัทจำกัด หากมีผู้ถือหุ้นเป็นคนสัญชาติอื่นที่ไม่ใช่สัญชาติไทย การจดบริษัทผู้ถือหุ้นต่างชาติ จะคล้ายกับกรณีที่มีผู้ถือหุ้นเป็นคนสัญชาติไทย แต่สัดส่วนของผู้ถือหุ้นนั้นจะแบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ
1.ถือหุ้นต่างชาติไม่เกิน 49% คือมีผู้ถือหุ้นเป็นคนสัญชาติอื่นที่ไม่ใช่สัญชาติไทย ไม่เกิน 49% บริษัทที่จัดตั้งจะถือเป็นบริษัทสัญญาติไทย สามารถประกอบกิจการได้ทุกอย่างตามกฎหมายกำหนด
2.ถือหุ้นต่างชาติตั้งแต่ 50% ขึ้นไป คือมีผู้ถือหุ้นเป็นคนสัญชาติอื่นที่ไม่ใช่สัญชาติไทย ถือหุ้นตั้งแต่ 50% ขึ้นไป จะถือเป็นบริษัทต่างด้าว ต้องขอใบประกอบธุรกิจต่างด้าว และมีข้อจำกัดคือ
– ห้ามถือครองที่ดิน
– ห้ามประกอบธุรกิจบางประเภท หรือต้องได้รับอนุญาตก่อน เช่น กิจการวิทยุหรือหนังสือพิมพ์ การทำนา ทำสวน จะสงวนไว้สำหรับคนไทย เป็นต้น
และเนื่องจากสัดส่วนเปอร์เซ็นต์ผู้ถือหุ้นสำหรับคนไทยและต่างชาติที่แตกต่างกัน การเตรียมเอกสารและจดบริษัทผู้ถือหุ้นต่างชาติ จึงต้องนำมาเข้าเงื่อนไขดังนี้
1.ผู้ถือหุ้นต่างชาติตั้งแต่ 1 หุ้นขึ้นไป ทางฝั่งผู้ถือหุ้นคนไทยทุกคนจะต้องแสดงบัญชีเงินฝาก
2.กรณีต่างชาติเป็น “กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม” ให้ผู้ถือหุ้นคนไทย ต้องแสดงบัญชีเงินฝากให้ตรงกับจำนวนที่นำมาลงทุนหุ้นคือตามสัดส่วนที่ตนเองถือหุ้นอยู่
3.สำหรับผู้ถือหุ้นต่างชาติที่เข้ามาเป็นกรรมการ ทั้งแบบเป็นกรรมการทั่วไปและแบบกรรมการผู้มีอำนาจ หรือเข้ามาเป็นพนักงานภายในบริษัท จะต้องมี WORK PERMIT รวมถึงต้องมีทุนจดทะเบียน 2 ล้านบาทขึ้นไปต่อชาวต่างชาติหนึ่งคน
จากนั้นเข้าสู่กระบวนการขอจดบริษัทผู้ถือหุ้นต่างชาติ ซึ่งสามารถขอจดบริษัทผ่านทางออนไลน์ได้ โดยเข้าไปกรอกข้อมูลจดบริษัทแบบออนไลน์ได้ที่ ระบบจดทะเบียนนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Registration) กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งใช้เอกสารและมีขั้นตอนการจดทะเบียนตามบทความ จดทะเบียนบริษัทผู้ถือหุ้นต่างชาติ ต้องทำอย่างไร
การจดทะเบียนเพิ่มสาขา
และหลังจากที่เจ้าของธุรกิจได้จดบริษัทเรียบร้อยแล้ว เมื่อมีการดำเนินกิจการวางแผนและพัฒนาธุรกิจ จนกระทั่งถึงจุดที่ต้องขยายองค์กร มีการเพิ่มสถานที่ประกอบการ กิจการจำเป็นต้องทำการจดทะเบียนเพิ่มสาขาด้วย
ทั้งนี้ สถานประกอบการที่เข้าข่ายลักษณะที่ต้องจดทะเบียนเพิ่มสาขา จะต้องเป็นสถานที่ที่ผู้ประกอบการใช้ประกอบกิจการเป็นประจำ ซึ่งหมายรวมถึงสถานที่ซึ่งเป็นที่ผลิตหรือเก็บสินค้าเป็นประจำด้วย โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1.ใช้ประกอบกิจาร เช่น หน้าร้านขายสินค้า
2.ใช้ในการผลิตสินค้าหรือวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เช่น โรงงานผลิตสินค้า
3.ใช้เป็นคลังเก็บสินค้า เช่น โกดังเก็บสินค้า
แต่ถ้าหากสถานที่ตั้งใช้ประกอบกิจการเพียงแค่ชั่วคราว จะไม่ถือเป็นสถานประกอบการ ก็ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนเพิ่มสาขา รวมถึงยังมีลักษณะสถานประกอบการอีกหลายรูปแบบที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนเพิ่มสาขา ดังนี้
– จ้างบริษัทอื่นผลิตสินค้าหรือวัสดุอุปกรณ์ให้ โดยไม่มีพนักงานของกิจการไปปฏิบัติงาน
– เช่าโกดังเก็บสินค้า และผู้รับฝากรับผิดชอบในการดูแลรักษาสินค้าของกิจการ
– กิจการรับเหมาก่อสร้าง หน่วยงานก่อสร้าง หรือที่อยู่อาศัยเพื่อก่อสร้างบ้าน คอนโดให้กับลูกค้า
– จัดบู๊ธขายสินค้าหรือแนะนำสินค้าตามงานแสดงสินค้าต่างๆ
ดังนั้น หากกิจการที่กำลังจะมีสถานประกอบการเพิ่มตรงตามเงื่อนไข จะต้องไปขอจดทะเบียนเพิ่มสาขา โดยจะต้องไปยื่นขอจด 2 แห่งด้วยกัน คือที่กรมสรรพากรก่อนวันเปิดสถานประกอบการเพิ่มไม่น้อยกว่า 15 วัน และที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า พร้อมกับเตรียมเอกสารประกอบการขอจดทะเบียนเพิ่มสาขา ดังรายละเอียดเพิ่มเติมจากบทความ เมื่อไหร่ที่กิจการควร จดทะเบียนเพิ่มสาขา และต้องทำอย่างไร
การเดินทางในฐานะผู้ก่อตั้งธุรกิจมาด้วยตนเอง เมื่อจดบริษัทเป็นนิติบุคคลแล้ว อาจไม่ใช่เป้าหมายสุดท้าย แต่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการทำธุรกิจเท่านั้น เพราะยังมีกฎเกณฑ์และเงื่อนไขต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการตลาด การผลิต การบริหารจัดการเรื่องการเงิน ภาษี ที่รอให้ผู้ประกอบการทั้งหลายได้เดินหน้าต่อในทิศทางที่วางแผนไว้ อย่างถูกต้องและถูกกฎหมายด้วย